หลักสูตร
ประเมินพัฒนาการทั่วไปตามแนวคิด DSPM สำหรับเด็กปฐมวัย
รหัสหลักสูตร 611162021 (สำหรับ สพฐ.)
ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรประเมินพัฒนาการทั่วไปตามแนวคิด DSPM สำหรับเด็กปฐมวัย (DSPM : Developmental Surveillance and Promotion Manual, : Assessment Tool for Early Childhood Development)
ระดับความลุ่มลึกของหลักสูตร
ระดับกลาง จำนวนอบรม 18 ชั่วโมง จำนวนวิทยากร ๑ : ๒๕ คน จัดอบรมเฉพาะที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล
2. ดร.รุ่งนภา ป้องเกียรติชัย
พื้นฐานและเงื่อนไขของครูที่จะรับการพัฒนาตามหลักสูตร
1. เป็นบุคลากรทางการศึกษาระดับปฐมวัย ในโรงเรียนระดับอนุบาล
2. มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย มีทักษะการคิดเชื่อมโยง วิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดขั้นสูง และมีทัศนคติในการต่อยอด สามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อนำไปพัฒนาในชั้นเรียน
3. ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก ร้อยละ 60% โดยให้ครูประเมินตนเองก่อนสมัครเข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรผ่านระบบ www.dusitcenter.org ของมหาวิทยาลัย
กำหนดคำสำคัญ (Keyword)
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เด็กปฐมวัย ครูปฐมวัย พัฒนาการเด็กปฐมวัย ประเมินพัฒนาการ คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance and Promotion Manual) DSPM
หลักการและที่มาของหลักสูตร
เด็กปฐมวัย หมายถึง บุคคลที่มีอายุในช่วงแรกเกิด – 6 ปี เป็นช่วงชีวิตที่ต้องการการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการสมวัย เนื่องจากมีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกด้าน เด็กกลุ่มนี้จึงควรได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ กรองทอง จุลิรัชนีกร (2556) กล่าวว่า ผู้ปกครอง พ่อแม่หรือผู้ให้การอบรมเลี้ยงดูเด็กรวมถึงครู เป็นผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลเด็กให้ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง เหมาะสมกับวัย รวมทั้งจัดประสบการณ์ที่เอื้อให้เด็กได้มีการพัฒนาตามศักยภาพแห่งตนและมีพัฒนาการที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดสุขภาพที่ดี มีความฉลาดทางสติปัญญา เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพ ซึ่งสถานการณ์ปัญหาของเด็กไทยในปัจจุบัน พบว่า มีเด็กพัฒนาการล่าช้าเฉลี่ย 240,000 คนต่อปี และอีกร้อยละ 30 ของเด็กมีปัญหาพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งล่าช้า โดยมีปัจจัยที่สำคัญจากขาดการดูแล และการเข้าถึงระบบบริการของเด็กที่มีปัญหาทางด้านพัฒนาการ พฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กไทยยังมีน้อย (พรรณพิมล วิปุลากร, 2556)
กระทรวงสาธารณสุขได้เห็นความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว จึงวางแผนจัดการแก้ไขปัญหา ภายใต้ โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 จัดขึ้นในพ.ศ. 2558 โดยมุ่งเน้นที่ผู้ดูแลเป็นสำคัญ อันได้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู หรือผู้ให้การอบรมเลี้ยงดูเด็ก ในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการสมวัย หากพบความผิดปกติสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที โดยมีบุคลากรด้านสาธารณสุขเป็นผู้คัดกรองและให้คำแนะนำเกี่ยวกับพัฒนาการ ถึงแม้ว่าจะมีแนวทางในการจัดการที่เป็นรูปธรรม แต่ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ยังคงพบว่า เด็กปฐมวัยที่สงสัยว่าอยู่ในช่วงพัฒนาการล่าช้ามากถึงร้อยละ 23.07 และเมื่อได้รับการกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการภายใน 30 วัน กลับพบว่ามีพัฒนาการที่สมวัยมากขึ้นถึงร้อยละ 95.63 การสนับสนุนส่งเสริมให้เด็กกลุ่มวัยดังกล่าวอยู่ในศูนย์เด็กเล็ก เพื่อให้ได้รับการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเรื่องที่ดี แต่ยังมีเด็กอีกเป็นจำนวนมากที่ขาดโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ถูกทอดทิ้งจากพ่อแม่ ให้ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นผู้เลี้ยงดู ซึ่งบุคคลเหล่านั้นยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการ สอดคล้องกับงานศึกษาของวัลลภ ไทยเหนือ (2558) ที่พบว่า พัฒนาการล่าช้าส่วนใหญ่ เป็นผลกระทบจากความเครียดรุนแรง (Toxic Stress) ที่เกิดจากการที่เด็กถูกทอดทิ้งหรือทำร้ายร่างกาย วิธีการค้นหา ประเมินและให้การช่วยเหลือเด็กที่มีความเสี่ยงและการดูแลส่งเสริมให้มีพัฒนาการตามวัยที่ถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่ระยะแรกอย่างเป็นระบบ จึงมีความสำคัญยิ่งที่จะส่งผลให้เด็กเติบโต มีพัฒนาการที่ดี เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ ส่งผลดีต่อสังคมในการพัฒนาประเทศ
คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance and Promotion Manual, DPMS) ถูกจัดขึ้นเพื่อให้ครูปฐมวัยใช้เป็นแนวปฏิบัติ สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีทดสอบและปรับปรุง จนเป็นที่น่าเชื่อถือว่ามีความเหมาะสมกับการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กไทย (วัลลภ ไทยเหนือ,2558) สามารถใช้เป็นแนวทางในการดูแลเด็กปกติทั่วไปและเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการ ครอบคลุมทั้งด้านการดูแลสุขภาพร่างกาย จิตใจ รวมถึงการเฝ้าติดตาม ประเมินพัฒนาการ สามารถใช้คู่มือในการส่งเสริมพัฒนาการให้สอดคล้องกับวัย ผ่านวิธีการเล่น การจัดกิจกรรม การพูดคุย การแสดงบทบาทสมมติ ทำให้เด็กได้รับการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสม ได้แก่ พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ด้านการเข้าใจภาษาและการใช้ภาษา ด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม เพราะเด็กวัยนี้มีพฤติกรรมเลียนแบบ สามารถจดจำเรียนรู้สิ่งต่างๆผ่านการสังเกต ประสบการณ์จากการเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อม การปลูกฝังพื้นฐานของพัฒนาการที่ดี ที่สามารถทำให้เด็กได้มีโอกาสรับการส่งเสริมพัฒนาการครบทุกด้าน ย่อมส่งผลให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างดี (สมัย ศิริทองถาวร,2557) ครูปฐมวัยถือว่าเป็นบุคคลใกล้ชิดเด็ก มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการ ครูจึงต้องเข้าใจในแนวทางปฏิบัติ สามารถประเมินพัฒนาการได้อย่างถูกต้อง และสามารถจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะที่ที่มีความโดดเด่น ด้านพยาบาลศาสตร์ และมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญได้รับความไว้วางใจเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จึงได้จัดทำหลักสูตรประเมินพัฒนาการทั่วไปตามแนวคิด DSPM ขึ้น โดยมุ่งเน้นผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจถึงวิธีการประเมิน เฝ้าระวังและสามารถปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งสามารถให้คำแนะนำในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยแก่ผู้ปกครองในเบื้องต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
วัตถุประสงค์
ด้านความรู้(Knowledge)
(1) สามารถบอกพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้ถูกต้อง
(2) สามารถอธิบายวิธีการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยตามแนวทางในคู่มือประเมิน DSPM ได้ถูกต้อง
(3) สามารถบอกวิธีการกระตุ้นพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้เหมาะสมตามแนวทางในคู่มือประเมิน DSPM ที่ได้ถูกต้อง
ด้านทักษะปฏิบัติ(Skill)
(4) มีทักษะในการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยตามแนวทางในคู่มือประเมิน DSPM ได้ถูกต้อง
(5) มีทักษะในการกระตุ้นพัฒนาการของเด็กปฐมวัยตามแนวทางในคู่มือประเมิน DSPM ได้ถูกต้อง
(6) มีทักษะในการแนะนำผู้ปกครอง ในส่งเสริมพัฒนาการตามวัยตามช่วงวิธีฝึกทักษะในช่วงอายุต่อไป
(7) มีทักษะในการแนะนำให้ผู้ปกครองได้ฝึกทักษะเฉพาะด้านกรณีเด็กมีพัฒนาการไม่สมวัย
(8) มีทักษะในการติดตามพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้เหมาะสม
ด้านคุณลักษณะความเป็นครู(Attitude)
(9) มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องให้มีความรู้ความชำนาญในการประเมินและกระตุ้นพัฒนาการนักเรียน
(10) สามารถทำงานแบบบูรณาการร่วมกับการกระตุ้นพัฒนาการแก่นักเรียน
สาระการพัฒนา
การพัฒนาหลักสูตรนี้สำหรับครูปฐมวัย เป็นการบูรณาการการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ (Pedagogical Content Knowledge : PCK) ให้กับครูปฐมวัยซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลเด็กให้ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง เหมาะสมกับวัยทั้ง 4 ด้าน 1) พัฒนาการด้านร่างกาย 2) พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ 3) พัฒนาการด้านสังคม และ 4) พัฒนาการด้านสติปัญญา ด้วยกระบวนการจัดประสบการณ์ที่เอื้อให้เด็กได้มีการพัฒนาตามศักยภาพแห่งตนและมีพัฒนาการที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดพัฒนา เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพ
สาระของหลักสูตรมีกิจกรรมบรรยายพร้อมฝึกปฏิบัติ และบูรณาการการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ (Pedagogical content knowledge : PCK) เพื่อครูปฐมวัยเข้าใจในแนวทางปฏิบัติ สามารถประเมินพัฒนาการได้อย่างถูกต้อง และสามารถจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ ตามแนวคิดคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance and Promotion Manual, DPMS) ถูกจัดขึ้นเพื่อให้ครูปฐมวัยใช้เป็นแนวปฏิบัติ สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีทดสอบและปรับปรุง จนเป็นที่น่าเชื่อถือว่ามีความเหมาะสมกับการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กไทย (วัลลภ ไทยเหนือ,2558) สามารถใช้เป็นแนวทางในการดูแลเด็กปกติทั่วไปและเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการ ครอบคลุมทั้งด้านการดูแลสุขภาพร่างกาย จิตใจ รวมถึงการเฝ้าติดตาม ประเมินพัฒนาการ สามารถใช้คู่มือในการส่งเสริมพัฒนาการให้สอดคล้องกับวัย ผ่านวิธีการเล่น การจัดกิจกรรม การพูดคุย การแสดงบทบาทสมมติ ทำให้เด็กได้รับการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสม ที่สอดคล้องกับสาระเนื้อหา (Content) สำหรับเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน เพื่อมุ่งเป้าเป็นการปลูกฝังพัฒนาการต่างๆ ผ่านเทคนิคและกระบวนการ เน้นจัดกิจกรรมการอบรมแบบ Workshop Training จึงเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูที่เข้ารับการพัฒนาและคณะวิทยากร ซึ่งจะร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดขั้นสูง พร้อมทั้งนำความรู้เดิม เพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์จากการปฏิบัติในการ Workshop เพื่อสร้างขอเสนอทางวิชาการในด้านการเฝ้าระวัง ให้สอดคล้องกับวิชาชีพของการเป็นครูปฐมวัย พร้อมทั้งสอดแทรกเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ (Pedagogy) ในด้านการแก้ปัญหาผู้เรียน การจัดการชั้นเรียน การใช้เครื่องมือ DSPM ในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การฝึกอบรมนี้ใช้เวลาทั้งสิ้น 3 วัน (18 ชั่วโมง) จัดอบรมเฉพาะที่มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพมหานครเท่านั้น โดยจัดแบ่งหัวข้อของการฝึกอบรมออกเป็น 4 หัวข้อ ดังต่อไปนี้
หัวข้อที่ 1 : พัฒนาการของเด็กปฐมวัย (เวลา 3 ชั่วโมง)
1.1 ความหมายและแนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก
1.2 พัฒนาการเด็กปฐมวัย
หัวข้อที่ 2 : พัฒนาด้านร่างกายและการประเมินการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย (เวลา 3 ชั่วโมง)
หัวข้อที่ 3 : พัฒนาด้าน สติปัญญา อารมณ์ และสังคม และการประเมินพัฒนาการ (เวลา 6 ชั่วโมง)
หัวข้อที่ 4 : การกระตุ้นพัฒนาการและการให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง (เวลา 6 ชั่วโมง)
หลังจากผ่านการอบรมแล้วทางหลักสูตรได้จัดทำระบบ “ส่งยิ้มทั่วไทย ให้ครูเล่าเรื่อง”ผ่านทาง www.dusitcenter.org ให้ผู้เข้าอบรมนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาและส่งภาพกิจกรรมในการนำแนวคิดจากหลักสูตรไปปรับใช้ เสนอผ่านช่องทางดังกล่าว เป็นการติดตามหรือทำงานร่วมกับครูหลังการพัฒนาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจะมีเลขที่ข่าวปรากฏ เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการติดตาม เป็นลักษณะของการสื่อสารสองทาง โดยหน่วยพัฒนาครูและผู้เข้าอบรม สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ พร้อมทั้งสามารถสั่งพิมพ์เพื่อใช้เป็น Portfolio ของผู้เข้าอบรม ได้ทั้งผลงานวิชาการและการประกันคุณภาพของสถานศึกษา โดยระบบดังกล่าวจะมี e-mail alert แจ้งเตือนมายังหน่วยพัฒนาครู ว่ามีเลขที่ข่าวของครูผู้เข้าอบรมเสนอผ่านระบบ และหน่วยพัฒนาจะเข้าไปให้ข้อคิดเห็น เป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา
กระบวนการพัฒนาและตารางการจัดกิจกรรมและแผนการจัดกิจกรรม
1. กระบวนการพัฒนา เป็นรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย
มีกิจกรรมบรรยายพร้อมฝึกปฏิบัติ และบูรณาการการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ (Pedagogical content knowledge : PCK) เพื่อครูปฐมวัยเข้าใจในแนวทางปฏิบัติ สามารถประเมินพัฒนาการได้อย่างถูกต้อง และสามารถจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ ตามแนวคิดคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance and Promotion Manual, DPMS) ถูกจัดขึ้นเพื่อให้ครูปฐมวัยใช้เป็นแนวปฏิบัติ สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีทดสอบและปรับปรุง จนเป็นที่น่าเชื่อถือว่ามีความเหมาะสมกับการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กไทย (วัลลภ ไทยเหนือ,2558) สามารถใช้เป็นแนวทางในการดูแลเด็กปกติทั่วไปและเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการ ครอบคลุมทั้งด้านการดูแลสุขภาพร่างกาย จิตใจ รวมถึงการเฝ้าติดตาม ประเมินพัฒนาการ สามารถใช้คู่มือในการส่งเสริมพัฒนาการให้สอดคล้องกับวัย ผ่านวิธีการเล่น การจัดกิจกรรม การพูดคุย การแสดงบทบาทสมมติ ทำให้เด็กได้รับการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสม ที่สอดคล้องกับสาระเนื้อหา (Content) สำหรับเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน 1)พัฒนาการด้านร่างกาย 2) พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ 3) พัฒนาการด้านสังคม 4) พัฒนาการด้านสติปัญญา การปลูกฝังพัฒนาการต่างๆ ผ่านเทคนิคและกระบวนการ เน้นจัดกิจกรรมการอบรมแบบ Workshop Training ดังนั้นจึงเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูที่เข้ารับการพัฒนาและคณะวิทยากร ซึ่งจะร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดขั้นสูง พร้อมทั้งนำความรู้เดิม เพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์จากการปฏิบัติในการ Workshop เพื่อสร้างขอเสนอทางวิชาการในด้านการเฝ้าระวัง ให้สอดคล้องกับวิชาชีพของการเป็นครูปฐมวัย พร้อมทั้งสอดแทรกเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ (Pedagogy) ในด้านการแก้ปัญหาผู้เรียน การจัดการชั้นเรียน การใช้เครื่องมือ DSPM ในการจัดการเรียนรู้
ตารางการจัดอบรม
ลำดับ |
วันที่จัดอบรม |
สถานที่จัดอบรม |
จังหวัด |
1 |
14 - 15 ก.ค.61 |
โรงแรมบางกอกพาเลส แผนที่ GPS โทร.02-890 9000 |
กรุงเทพมหานคร |
2 |
11 - 12 ส.ค.61 |
กรุงเทพมหานคร |
3 |
25 - 26 ส.ค.61 |
กรุงเทพมหานคร |
2. ตารางการจัดกิจกรรม
เวลา |
กิจกรรม วันที่ 1 |
07.30 - 08.00 |
ลงทะเบียนและทดสอบก่อนการอบรม (Pretest) |
08.00 - 12.00 |
บรรยาย เรื่อง พัฒนาการของเด็กปฐมวัยและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง |
12.00 - 13.00 |
พักกลางวัน |
13.00 - 16.00 |
บรรยาย เรื่อง พัฒนาการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย แบ่งกลุ่มปฏิบัติการ วิธีการประเมินการเจริญเติบโตด้านร่างกาย |
13.00 - 17.30 |
แบ่งกลุ่มปฏิบัติการ วิธีการประเมินการเจริญเติบโตด้านร่างกายและ วิธีการประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา อารมณ์ และสังคม |
เวลา |
กิจกรรม วันที่ 2 |
07.30 - 08.00 |
ทบทวนความรู้จากการอบรมในวันที่ 1 |
08.00 - 12.00 |
บรรยาย เรื่อง การกระตุ้นพัฒนาการและการให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง |
12.00 - 13.00 |
พักกลางวัน |
13.00 - 17.30 |
แบ่งกลุ่มปฏิบัติการ วิธีการกระตุ้นพัฒนาการและการให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง ทดสอบหลังการอบรม (Posttest) |
* หมายเหตุ เวลา 10.30 - 10.45 น. และ 14.45 น. - 15.00 น. รับประทานอาหารว่าง |
กิจกรรมการติดตามหรือทำงานร่วมกับครูหลังการพัฒนา
หลังจากผ่านการอบรมแล้วทางหลักสูตรได้จัดทำระบบ “ส่งยิ้มทั่วไทย ให้ครูเล่าเรื่อง”ผ่านทาง www.dusitcenter.org ให้ผู้เข้าอบรมนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาและส่งภาพกิจกรรมในการนำแนวคิดจากหลักสูตรไปปรับใช้ เสนอผ่านช่องทางดังกล่าว เป็นการติดตามหรือทำงานร่วมกับครูหลังการพัฒนาผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจะมีเลขที่ข่าวปรากฏ เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการติดตาม เป็นลักษณะของการสื่อสารสองทาง โดยหน่วยพัฒนาครูและผู้เข้าอบรม สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ พร้อมทั้งสามารถสั่งพิมพ์เพื่อใช้เป็น Portfolio ของผู้เข้าอบรม ได้ทั้งผลงานวิชาการและการประกันคุณภาพของสถานศึกษา โดยระบบดังกล่าวจะมี e-mail alert แจ้งเตือนมายังหน่วยพัฒนาครู ว่ามีเลขที่ข่าวของครูผู้เข้าอบรมเสนอผ่านระบบ และหน่วยพัฒนาจะเข้าไปให้ข้อคิดเห็น เป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา
วิทยากร
อาจารย์สาขาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นและการพยาบาลชุมชนจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประกอบด้วย (การจัดวิทยากรหมุนเวียนตามความเหมาะสม)
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีสุดา วงษ์วิเศษกุล
2. ดร.อรนุช ชูศรี
3. ดร.รุ่งนภา ป้องเกียรติชัย
4. ดร.ณัฐยา ศรีทะแก้ว
5. ดร.ชรริน ขวัญเนตร
กำหนดจำนวนครูที่จะเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมต่อกลุ่ม
รุ่นละ 100 คน (จำนวนวิทยากร 1 : 25 คน)
อัตราค่าลงทะเบียนของหลักสูตรต่อครูหนึ่งคน และบริการที่จะได้รับ
- ค่าธรรมเนียมการอบรมท่านละ 5,900 บาท
- สิ่งที่ผู้เข้าอบรมจะได้รับดังนี้ (ไม่รวมค่าที่พักและค่าเดินทาง)
(1) วุฒิบัตรผ่านการอบรม (โดยจะต้องเข้ารับการอบรมตามระยะเวลาที่กำหนด)
(2) เอกสารการอบรม
(3) อาหารกลางวัน 3 มื้อ
(4) อาหารว่าง 5 มื้อ
ข้อมูลอื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์และทำให้เข้าใจภาพของการจัดกิจกรรมการอบรมของหลักสูตรได้ชัดเจนและใกล้เคียงกับการปฏิบัติมากที่สุด
วิธีการชำระค่าธรรมเนียมการอบรม
กรุณาชำระก่อนการอบรม 1 วันของแต่ละรุ่น การชำระค่าธรรมเนียมการอบรมมี 2 ขั้นตอนดังนี้
1. ตรวจสอบรายชื่อผู้สมัคร ได้ที่ www.dusitcenter.org หัวข้อ SDU-Short-term Training Course
2. ดาวน์โหลดแบบฟอร์มการชำระเงินที่เว็บไซต์ตามข้อ 1 หัวข้อ“วิธีชำระเงิน” และชำระผ่าน ธนาคารกรุงไทยทุกสาขาทั่วประเทศ ชื่อบัญชี มสด.Training ประเภท : กระแสรายวันสาขา : กระทรวงศึกษาธิการ code : 80149 เลขที่บัญชี 059-6-01352-3
สอบถามรายละเอียดได้ที่
สำนักงานประสานงานโครงการความร่วมมือทางวิชาการฯ (รมป.)
โทรศัพท์ 02-244-5982–3 Fax: 02-244-5927
www.dusitcenter.org หัวข้อ SDU-Short-term Training Course,
idline : @dusitcenter
e-mail : dusitcenter@gmail.com
เสียงตอบรับจากโครงการที่เคยจัดอบรม