• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับโครงการ
  • ติดต่อ
  • ลงทะเบียน
  • เข้าสู่ระบบ
  • หน้าแรก
  • ข่าวของฉัน
    • ข่าวของฉัน
    • ข้อมูลส่วนตัว
  • อ่านข่าว
    • ข่าวทั้งหมด
    • ข่าวแยกตามจังหวัด
    • ข่าวผลงานใต้ร่มพระบารมี
    • ข่าวผลงานที่ได้รับรางวัล
  • เขียนข่าว
  • คู่มือเขียนข่าว
สุ่มข่าว
  • *คณิตวิทย์คิดส์สร้างสรรค์
  • *กิจกรรมการเรียนรู้นอกสถานที่
  • *ถั่วเขียวมาแปรรูปเป็นถั่วงอก
  • *โครงการวันแม่
  • *โครงการวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา
  • *มสด. ส่งยิ้มทั่วไทย ให้ครูเล่าเรื่อง
  • *ประเพณีวันอาซูรอ
  • *คณิตวิทย์คิดส์สร้างสรรค์ “Super Teacher“
  • *กิจกรรมตามประณีแหเทียนเข้าพรรษา
  1. เรื่อง : การละเล่นพื้นบ้าน (Super Teacher)
  • สร้างโดย  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนานปู
  • สังกัด  อปท.    จังหวัด  ตรัง
  • ผู้จัดทำ  นางสาวอรญา ชูบาล   วันที่สร้าง  11 พฤศจิกายน 2561, 19:04 น.
  • ประเภทตัวชี้วัด  ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว

       การละเล่นพื้นบ้าน เป็นกิจกรรมนันทนาการประเภทเกม ที่สามารถส่งเสริม พัฒนา อารมณ์สุข สนุกสนาน และเป็นกิจกรรมที่เน้นความสนุกสนานไม่เน้นการแพ้ชนะ จึงมีคุณค่าและมีส่วนสำคัญในการหล่อหลอมพฤติกรรมโดยเฉพาะกับเด็กเล็ก ทั้งเป็นการเชื่อมโยงประสบการณ์ทางสังคมให้กับเด็ก ทำให้เด็กไทยประสบความสำเร็จในการเล่นจนเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง เห็นคุณค่าของตนเอง กล้าคิด กล้าแสดงออก รู้จักปรับตัวให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อีกทั้งยังช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยการรอคอย การช่วยเหลือ การแบ่งปัน และการเป็นผู้นำ ผู้ตาม สิ่งเหล่านี้เป็นผลที่จะเกิดโดยตรงจากการละเล่นของเด็กที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตและพฤติกรรมทางสังคมของเด็กวัยนี้ ที่ต้องเสริมสร้างพัฒนาการให้พร้อมในการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การละเล่นเสือกินวัว เป็นการเล่นอย่างหนึ่งของเด็ก นิยมเล่นในสนามหรือลานที่โล่งแจ้ง การละเล่นเสือกินวัวเป็นการฝึกความว่องไวไหวพริบการหอกล่อและหลบหลีก การละเล่นตีล้อ การเล่นล้อวงกลม เดิมอาจจะใช้วงล้อไม้ไผ่กลมๆ จากขอบวงของใช้พื้นบ้าน เช่นตะกร้าใส่ยาสูบ กระด้ง กระบุง เป็นต้น เมื่อสิ่งของดังกล่าวผุพัง ขอบวงหรือวงกลมจากของใช้ยังแข็งแรงทนทาน เด็กๆ จะดึงเอาขอบวงนี้มาทำเป็นล้อวงกลมตีเล่นแข่งขันกัน แต่ด้วยวิธีการทำล้อวงกลมค่อนข้างง่าย การที่จะค่อยให้ของใช้พื้นบ้านพังเสียหายอาจจะทำให้ชักช้า ไม่ทันเวลาที่เล่น เด็กเล็กๆ จะให้ผู้ใหญ่ทำล้อวงกลมให้ ส่วนเด็กที่มีอายุและตัวโตแล้ว จะสามารถทำเองได้ การเล่นเดินกะลา เด็กรุ่นก่อนๆ จะชอบเล่นเดินกะลามาก เพราะกะลาหาง่าย มีอยู่ทั่วไป การเดินบนกะลานั้น ผู้ที่เริ่มฝึกจะรู้สึกเจ็บฝ่าเท้า เพราะความโค้งมนและความแข็งของกะลา แต่ถ้าได้ฝึกบ่อยๆ อาการเจ็บก็จะหายไป ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณเท้าแข็งแรงขึ้นและยังเป็นการนวดฝ่าเท้าไปในตัวด้วย นอกจากนี้ผู้เล่นจะฝึกในเรื่องของการทรงตัว ซึ่งจะทำให้เรียนรู้เรื่องของความสมดุล หรือ Balance ไปในตัวอีกด้วย คนที่รักษาสมดุลของร่างได้ดีก็จะทรงตัวได้ดีและมักจะถึงเส้นชัยก่อน นอกจากนี้ถ้าเล่นเดินจนเบื่อแล้วก็ยังสามารถเอามาเล่นเป็นโทรศัพท์พูดแล้วได้ยินเสียงกันได้เรียนรู้เรื่องของเสียงได้อีกด้วย

  • ดูแบบเต็ม
แชร์ข่าวนี้
แชร์

ข่าวล่าสุด

  • กิจกรรมเสริมประสบการณ์
  • การประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒน...
  • การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของศ...
  • การสอน ทำหน้ากากผ้า
  • มาตรการเฝ้าระวังในเด็กปฐมวัยโ...

Tag

  • #เมนูข่าว
  • #ข่าวล่าสุด
  • #สถานศึกษาที่ส่งข่าวมากที่สุด
  • #จังหวัดที่ส่งข่าวเยอะสุด

ติดต่อ

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (สำนักงานประสานงานกลางโครงการความร่วมมือฯ รมป.)

เลขที่ 295 ถนนนครราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร. 022445982-83
แฟกซ์ 022445927
อีเมล์ dusitcenter@gmail.com

แผนที่

Copyright © 2018-present All rights reserved , powered by www.dusitcenter.org

Developed By Polpipat S.

ขอเครดิตฟรีหน่อยครับสมัครปุ๊บรับปั๊บไม่ต้องฝาก สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938 สล็อต สล็อตออนไลน์ thaicasinobin แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41 สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55 kubet ไทยคาสิโนออนไลน์ แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์ เว็บรวมข้อมูล พนันออนไลน์เว็บไหนดี ได้เงินจริง พร้อมฟรีเครดิต