• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับโครงการ
  • ติดต่อ
  • ลงทะเบียน
  • เข้าสู่ระบบ
  • หน้าแรก
  • ข่าวของฉัน
    • ข่าวของฉัน
    • ข้อมูลส่วนตัว
  • อ่านข่าว
    • ข่าวทั้งหมด
    • ข่าวแยกตามจังหวัด
    • ข่าวผลงานใต้ร่มพระบารมี
    • ข่าวผลงานที่ได้รับรางวัล
  • เขียนข่าว
  • คู่มือเขียนข่าว
สุ่มข่าว
  • *นำเด็กนักเรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่
  • *ร่วมถวายพระพรชัยมงคลกับทางราชการ
  • *การสร้างคุณค่าแห่งตน
  • *คณิต วิทย์ คิดสร้างสรรค์ (กิจกรรมการออกแบบเรือโนอาร์)
  • *สือการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยกุหลาบหลากสี่จากช้อนไอศครีม
  • *โครงการอบรมส่งเสริมทันตสุขภาพของเด็กปฐมวัยและผู้ปกครอง
  • *Play&Learnเพลินไปกับประกันคุณภาพการศึกษา
  • *โรงอาหารในฝัน สะอาด ถูกสุขลักษณะ เด็กปลอดภัย สร้างสรรค์ด้วยหัวใจครูปฐมวัย (Super Teacher)
  • *สวนสวยเพื่อหนู
  1. เรื่อง : โครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะเด็กปฐมวัย ศุนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง
  • สร้างโดย  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง
  • สังกัด  อปท.    จังหวัด  ลำพูน
  • ผู้จัดทำ  อรพินทร์ ลือดัง   วันที่สร้าง  20 พฤศจิกายน 2559, 08:54 น.
  • ประเภทตัวชี้วัด  สถานศึกษาสามารถจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ

       วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้การส่งเสริมการจักประสบการณ์แก่เด็กปฐมวัย เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้ที่บ้แบดที่โรงเรียน 2. เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความรู้และความเข้าใจในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่บ้าน 3. เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ผู้เข้าร่วมอบรม 1. คณะผู้บริหารจากเทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง 2.คณะครู ในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง 3. ผู้ปกครองนักเรียในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง การสอนลูกให้มีทักษะชีวิตมีความสำคัญอย่างไร? สำหรับเด็กวัยเรียน ควรเสริมสร้างพัฒนาทักษะชีวิตพื้นฐานที่สำคัญ 2 ด้าน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ทักษะชีวิตด้านเจตคติ 2 องค์ประกอบ คือ ความภูมิใจในตนเอง ความตระหนักรู้ในตนเองหรือการมีวินัยและความรับผิดชอบ ส่วนทักษะชีวิตด้านทักษะอีก 2 องค์ประกอบ คือ การสร้างสัมพันธภาพ และการสื่อสารหรือทักษะทางสังคมนั่นเอง ทักษะชีวิตดังกล่าวนี้จะเป็นพื้นฐานด้านบุคลิกภาพที่สำคัญที่เด็กควรได้รับการพัฒนาอย่างจริงจังความภูมิใจในตนเอง คือ ความคิดความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีความภูมิใจ เห็นคุณค่าความสามารถของตนเอง มีความมั่นใจในการคิด ตัดสินใจ มีการแสดงออก สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีความสุข ประสบความสำเร็จ สร้างประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม เด็กวัยเรียน จะเป็นวัยที่พัฒนาความรู้สึก ความรับผิดชอบในตนเอง เป็นวัยที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ อยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต สนใจสิ่งต่างๆ ชอบคิด ชอบทำ แก้ปัญหาได้ มีความขยัน ตั้งใจ ต้องการความสำเร็จ เป็นคนเด่น เป็นคนสำคัญ เป็นที่นิยมชมชอบของผู้ใหญ่ จึงเป็นวัยที่สามารถสร้างเสริมพัฒนาบุคลิกภาพ ปลูกฝังความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับคุณค่า ความภูมิใจในตนเอง เพื่อให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณค่าต่อไป การมีวินัยและความรับผิดชอบ เด็กที่มีวินัยในตนเองและมีความรับผิดชอบ จะเป็นเด็กที่สามารถบังคับตนเองให้ปฏิบัติตนให้ถูกกาลเทศะ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม เคารพสิทธิของผู้อื่น ทำตามหน้าที่ของตน และมีความซื่อสัตย์สุจริต โดยไม่ต้องมีผู้ควบคุมหรือลงโทษ หากผู้ใหญ่เสริมสร้างความมีวินัยในตนเองและความรับผิดชอบให้กับเด็กวัยเรียน จะทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะปรับตัวและยอมรับกติกา กฎระเบียบของกลุ่ม ของโรงเรียน เข้าใจสิทธิของผู้อื่น ยอมรับฟังความคิดเห็น มีความอดทน อดกลั้น ควบคุมตนเองได้ และสามารถปรับตัวอยู่ในกลุ่มสังคมได้อย่างภาคภูมิ ทักษะทางสังคม คือ การที่เด็กสามารถแสดงออกเหมาะสมกับกาลเทศะ เป็นที่ยอมรับในสังคม เด็กวัยเรียนเป็นช่วงสำคัญสำหรับ “เตรียมตัว” เข้าสู่วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ เริ่มเรียนรู้มารยาททางสังคม เรียนรู้ที่จะทำกิจกรรม อยู่ร่วมกับผู้อื่น ที่นอกเหนือไปจากคนในครอบครัว เด็กที่มีทักษะชีวิตที่ดี จะช่วยให้เด็กรู้จักที่จะอยู่กับตัวเอง รู้จักที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความบากบั่น รู้จักคิด พบปัญหา สามารถแก้ไขได้ รู้จักปรับตัวที่จะอยู่ในสังคมได้ เป็นภูมิคุ้มกัน สร้างความเข้มแข็งให้เด็กรู้จักดูแลตนเองและพึ่งตนเองได้ในที่สุด การเรียนรู้ภาษาของเด็กปฐมวัยจะแตกต่างไปจากวิธีการเรียนรู้ภาษาของผู้ใหญ่เนื่องจากระดับวุฒิภาวะทางสติปัญญาของเด็กยังพัฒนาไม่เต็มที่ เด็กยังไม่สามารถคิดสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ ไม่สามารถใช้อวัยวะทุกส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาทางภาษาได้อย่างเต็มที่ ความสามารถเหล่านี้ขึ้นอยู่กับระดับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย และเนื่องจากภาษามีคุณสมบัติที่เป็นนามธรรม จึงต้องใช้สัญลักษณ์พิเศษแทนความหมาย ซึ่งเด็กเล็กจะเรียนรู้ภาษาได้จากการได้ยินได้ฟังการพูดของพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู หรือจากการดำรงชีวิตประจำวันเมื่ออยู่ที่บ้าน จากนั้นเมื่อมาอยู่ในสถานศึกษาเด็กจะเรียนรู้จากครูและผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยการเลียนแบบเสียงที่ได้ยินจากผู้อื่นก่อนและจะสะสมคำแล้วสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นเอง ด้วยการนำคำที่สะสมไว้มาผสมผสานกันเพื่อเปล่งเสียงออกมา พัฒนาการต่อมาเมื่อเด็กโตขึ้น ก็จะเพิ่มคำเรื่อย ๆ และผูกเป็นประโยคตามขั้นตอนหรือพัฒนาการการเรียนรู้ภาษาของเด็ก อย่างไรก็ตามเพื่อให้เด็กเรียนรู้ภาษาเป็นไปตามพัฒนาการ พ่อแม่ ครูผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องจัดประสบการณ์ทางภาษาให้มีความหมายกับเด็กประกอบกับการแสวงหาแนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาที่หลากหลายให้เหมาะสมกับความแตกต่างของเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อเด็กจะได้เกิดการเรียนรู้ภาษาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ​1.​ความหมายของภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ​ภาษามีความหมายต่างกันดังนี้ ในแง่ภาษาศาสตร์ ภาษา หมายถึง ภาษาที่ใช้พูดเพื่อสื่อความหมาย ดังนั้นภาษาในประเด็นนี้จึงรวมเอาวิธีการทุกอย่าง ที่ใช้ติดต่อสื่อความหมายหรือเพื่อแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น ภาษาจึงหมายถึงการพูด การเขียน การทำท่าทางประกอบ การแสดงสีหน้า และการใช้ภาษาใบ้ เป็นต้น ด้านการศึกษา ภาษาเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ภาษาจึงหมายถึงการติดต่อระเบียบของการติดต่อ สัญลักษณ์ที่ใช้แสดงแทนความคิดและความเข้าใจในลักษณะของถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความหมายของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความหมายเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยาอาการที่สื่อความหมายได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ ภาษาเป็นสื่อกลางในการตกลง บอกกล่าวทำความเข้าใจระหว่างบุคคล เป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ช่วยให้คนเราคิดและวินิจฉัยคุณภาพของสติปัญญา ภาษาเป็นสิ่งที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสังคม มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ และความเจริญ ของคนในชาติ ภาษานับว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เพราะภาษาเป็นทั้งมวลประสบการณ์ และเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์ ถ้าขาดการสื่อสสารสาระสำคัญนี้แล้วมนุษย์คงไม่สามารถรวมเป็นสังคมได้ ทั้งนี้เพราะมนุษย์มิอาจที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยวตามลำพัง แต่จะต้องไปมาหาสู่กัน ต้องรวมเป็นเหล่า ภาษาที่ใช้นั้น จะเป็นเครื่องมือสื่อสาระสำคัญและความเข้าใจ สามารถรู้เรื่องกันได้ ​สรุปได้ว่า ภาษาคือ สื่อกลางในการทำความเข้าใจระหว่างบุคคล สามารถรู้เรื่องกันได้ ด้วยท่าทาง สัญลักษณ์ การพูด การเขียน การแสดงสีหน้า ซึ่งรวมเอาวิธีการทุกอย่าง ที่ใช้ติดต่อสื่อสารกัน ในการติดต่อกัน ภาษาจึงเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของมนุษย์ให้มีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ให้มีความเป็นอยู่เป็นสังคม เพราะมนุษย์ไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ ต้องติดต่อ พึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งจะต้องใช้ภาษาเป็นสื่อกลางในการทำความเข้าใจและรู้เรื่องกันได้

  • ดูแบบเต็ม
แชร์ข่าวนี้
แชร์

ข่าวล่าสุด

  • กิจกรรมเสริมประสบการณ์
  • การประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒน...
  • การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของศ...
  • การสอน ทำหน้ากากผ้า
  • มาตรการเฝ้าระวังในเด็กปฐมวัยโ...

Tag

  • #เมนูข่าว
  • #ข่าวล่าสุด
  • #สถานศึกษาที่ส่งข่าวมากที่สุด
  • #จังหวัดที่ส่งข่าวเยอะสุด

ติดต่อ

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (สำนักงานประสานงานกลางโครงการความร่วมมือฯ รมป.)

เลขที่ 295 ถนนนครราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร. 022445982-83
แฟกซ์ 022445927
อีเมล์ dusitcenter@gmail.com

แผนที่

Copyright © 2018-present All rights reserved , powered by www.dusitcenter.org

Developed By Polpipat S.

ขอเครดิตฟรีหน่อยครับสมัครปุ๊บรับปั๊บไม่ต้องฝาก สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938 สล็อต สล็อตออนไลน์ thaicasinobin แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41 สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55 kubet ไทยคาสิโนออนไลน์ แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์ เว็บรวมข้อมูล พนันออนไลน์เว็บไหนดี ได้เงินจริง พร้อมฟรีเครดิต