- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเหล่าพรวน
- สังกัด อปท. จังหวัด อำนาจเจริญ
- ผู้จัดทำ นางสาวสุดชาดา สำราญสุข วันที่สร้าง 14 พฤศจิกายน 2558, 11:22 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย
กิจกรรม : การปลูกผักสวนครัว วิธีการ : ครูจัดทำสวนผักสวนครัว คณะครูได้ขอความอนุเคราะห์จากผู้ปกครองให้บริจาคทรัพย์และเมล็ดพันธ์พืชผักสวนครัว เพื่อเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงและการเรียนรู้ตามธรรมชาติสมอง(Brain-Based Learning) หรือ BbBL ซึ่งเป็นทฤษฎีการเปลี่ยนโครงสร้างการรทำงานของสมองได้ด้วยการกระตุ้นที่เหมาะสมเพื่อศักยภาพการเรียนรู้ก็กลับมาวางแผนทำที่โรงเรียน ซึ่งเห็นว่าในชุมชนมีการปลูกผักสวนครัวเกือบทุกครัวเรือน เนื่องจาก การปลูกผักสวนครัวจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านสมองของเด็กช่วยกระตุ้นสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะสำคัญของร่างกาย เช่น การทำงานด้านความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ ความฉลาด พฤติกรรม สติปัญญา รวมทั้งช่วยให้เด็กๆเห็นประโยชน์จากปลูกผัก เช่น ทำให้เราลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผัก ได้กินผักที่ปลอดสาร และสามารถสร้างรายได้ให้กับตัวเอง เมื่อผู้ปกครองหลายลายทราบว่าทางโรงเรียนต้องการดินและพันธ์ผักมาปลูกเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์กับลูกหลาน ก็ร่วมกันบริจาคทรัพย์และพันธ์ผัก ซึ่งทางโรงเรียนได้เตรียมขยายทำแปลงผักเพิ่มเติมเพื่อขยายพันธ์และเพิ่มพันธ์ผักให้หลากหลายมากกว่าเดิมต่อไป ต้องการทำให้โรงเรียนเป็นสถานที่น่าอยู่ เพื่อให้เด็กๆอยากมาเรียนและมีความภาคภูมิใจในตัวเอง หวังว่าจะให้เด็กๆจะได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ผ่อนคลายจากการทำกิจกรรมกลางแจ้ง มีความสามัคคีในกลุ่มพร้อมปลูกจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยวิธีการทำตัวอย่าง การทำแปลงผักตั้งแต่ขั้นตอนแรก ขั้นตอนการเตรียมดิน การปลูกผัก รถน้ำพรวนดิน รวมถึงการเก็บผลผลิต ประโยชน์ที่ได้รับ 1. เพื่อให้เด็กๆในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รู้ประโยชน์ของผักแต่ละชนิด 2. เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา 3. เพื่อปลูกฝังให้เด็กๆในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรู้จักการปลูกผักกินเองลดค่าใช้จ่าย 4. เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เด็กๆในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 5. เพื่อให้ผู้ปกครอง ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รูปแบบการสอน : เรียนปนเล่น เหมาะสำหรับเด็กอนุบาล มุ่งเอาข้อเด่นของเด็กที่ไม่ค่อยอยู่นิ่งและเด็กที่มีโลกส่วนตัวไม่ชอบทำเล่นกับเพื่อนมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย เหมาะกับการจัดประสบการณ์ที่ไม่เน้นด้านเนื้อหา เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเล่นอย่างสนุกสนาน สอดคล้องกับแนวคิดของมอนเตสเชอรี่การเล่นปนเรียน ( Play Way Method ) มอสเตสเชอรี่มีความเชื่อว่า การเล่นมีความสำคัญต่อชีวิตของเด็ก เพราะธรรมชาติของเด็กจะผูกพันกับการเล่น จึงควรให้เสรีภาพในการเล่นกับเด็กและจัดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสกับธรรมชาติ เพราะถ้าเด็กภาคภูมิใจในผลงานของตัวเองแสดงว่าเด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีสุด ระยะเวลาดำเนินการ 10 ตุลาคม 2558 - 2 พฤศจิกายน 2558 ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ - มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสภาพแวดล้อม พื้นที่สีเขียว สนามเด็กเล่นและแหล่งการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการศึกกษมา - ผู้ปกครองมีส่วนร่วมพัฒนากิจกรรม/โครงการอนุรักสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - ผู้เรียนมีทักษะในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก มีน้ำหนักส่วนสูง สุขภาพอนามัย และพัฒนาการร่างกายสมวัย - มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และผู้อื่น
แชร์ข่าวนี้