- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบรบือ
- สังกัด อปท. จังหวัด มหาสารคาม
- ผู้จัดทำ นางดารณี วงค์วรบุตร วันที่สร้าง 25 กรกฎาคม 2559, 11:29 น.
- ประเภทตัวชี้วัด ผู้เรียนมีทักษะในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นและมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
1. หลักการและเหตุผล การจัดการศึกษาปฐมวันเป็นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับแรก เพื่อวางรากฐานชีวิตของเด็กไทยให้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์และมีพัฒนาการที่สมวัย ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา บนรากฐานความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาทางสมองของเด็กอย่างเต็มที่ รวมทั้งเตรียมความพร้อมให้เด็กเพื่อที่จะเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับสูงขึ้น อันจะนำไปสู่ความเป็นบุคคล ที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป ซึ่งการพัฒนาเด็กปฐมวัย อายุ 5ปีแรกของชีวิตนั้น เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครอง โดยครูหรือผู้ดูแลเด็กมีบทบาทในการเป็นผู้ประสานงานร่วมกับผู้ปกครอง ให้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็ก และกระตุ้นให้มีการร่วมมือร่วมใจกัน ในการสนับสนุนและพัฒนาเด็กของชุมชนไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งจุดมุ่งหมายของการศึกษาในวัยนี้ ระบุไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 ว่า "เป็นการพัฒนาเด็กบนพื้นฐาน การอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก ภายใต้บริบทสังคม วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทรและความเข้าใจของทุกคน ซึ่งจะเป็นการทำงานในลักษณะของการร่วมมือกันรับผิดชอบ หรือถือเป็นหุ้นส่วนที่จะต้องช่วยพัฒนาเด็กให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการร่วมกัน" 2 ดังนั้นศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดโพธารามสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง จึงจัดทำโครงการ “ สายใยรัก ศิษย์-ลูก ชวนหนูน้อยเข้าครัว ทำขนมไปวัด ”โดยมีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านต่างๆให้แก่เด็กและสนับสนุนให้ผู้ปกครอง และชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก โดยรูปแบบการจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นการนำ การทำขนมหวาน มาบูรณาการเพื่อสร้างกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะด้านต่างๆให้แก่เด็ก ทั้งทักษะทางสังคมเช่นการทำงานร่วมกับผู้อื่น การรู้จักแบ่งปัน และสามารถทำงานเป็นกลุ่มได้การฝึกให้เด็กได้รู้จักและพัฒนาทักษะชีวิต โดยการลงมือปฏิบัติด้วยสถานการณ์จริง ซึ่งเป็นการฝึกให้เด็กๆได้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ เพราะทักษะชีวิตที่ดี จะทำให้เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีอารมณ์ที่เบิกบาน สามารถปรับตัวได้ และช่วยเหลือผู้อื่นได้ด้วย โดยกิจกรรมนี้มีการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ด้วยการเชิญผู้ปกครองมาเป็นวิทยากรในการสอนทำขนมวุ้น เมื่อทำเสร็จ ครู และเด็กจะแบ่งขนมวุ้นเป็นสองส่วน ส่วนแรกนำไปถวายพระพร้อมเครื่องสังฆทานที่วัดโพธธาราม และส่วนที่สองเด็กมอบให้ผู้ปกครองแทนความผูกพันจากลูกสู่พ่อ-แม่ ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการครั้งนี้ คือการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กเพื่อ ให้เด็กมีความพร้อมทั้งด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคมและติปัญญา และเป็นการสร้างเสริมลักษณะนิสัยให้เด็กเป็นผู้ที่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ รู้จักแบ่งปัน และสามารถทำงานเป็นกลุ่มได้ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการและความสำเร็จด้านการศึกษาของนักเรียนอย่างเด่นชัด อีกทั้งยังช่วยผลักดันให้สถานศึกษาดำเนินงานจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดีด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ปกครองเพื่อประสานการทำงานอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชน เพื่อการจัดการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัย อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กสามารถทำขนมวุ้นได้ 2. เพื่อให้เด็ก มีความสุข สนุกสนาน อารมณ์ดี ร่าเริง แจ่มใส 3. เพื่อให้เด็กสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ 4. เพื่อให้เด็กรู้จักการแบ่งปันและช่วยเหลือ 5. เด็กมีทักษะในการทำงาน การแก้ปัญหาและสามารถทำงานเป็นทีมได้ 6. เพื่อให้เด็กสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ด้วยตนเอง 7. เพื่อให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับครูและเพื่อน 3 8. เพื่อให้เด็กมีระเบียบวินัย เคารพกฎกติกาและสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ 9. เพื่อให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เพื่อประสานการทำงานร่วมกันระหว่างโรงเรียน บ้านและชุมชน 3. กลุ่มเป้าหมาย 3.1 เชิงปริมาณ นักเรียน ชั้นอนุบาล2ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดโพธารามจำนวน 20 คน สามารถทำขนมตามที่ครูกำหนดและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในโครงการได้ เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะให้มีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ดีและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างเต็มศักยภาพ 3.2เชิงคุณภาพ 1. ร้อยละ 80 เด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมโครงการได้รับการส่งเสริม พัฒนาการ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมละสติปัญญา อย่างเต็มศักยภาพและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดีโดยได้รับความร่วมมือจากโรงเรียน บ้าน วัด ชุมชน ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ 4. วิธีการและระยะเวลาดำเนินการ 4 5. ระยะเวลาดำเนินการ 1 มิถุนายน 2559 – 13 กรกฎาคม 2559 6. สถานที่ - ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดโพธาราม - วัดโพธาราม 7. งบประมาณ * หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ 8. วิธีการดำเนินการ 1. ครู ผู้ปกครอง ( วิทยากร ) และเด็ก ร่วมกันสนทนาถึงการทำขนมวุ้นและกำหนดการเดินทางไปถวายขนมวุ้นและเครื่องสังฆทานที่วัดโพธาราม 2. ครูแบ่งเด็ก 3กลุ่ม / กลุ่มละ 6 คน เพื่อแบ่งหน้าที่ โดยมีครูช่วยดูแล กลุ่มละ 2 คน วิทยาการสอนวิธีการทำวุ้นพร้อมสาธิตวิธีทำ ครูช่วยกันดูแลเด็กตามกลุ่ม ตามขั้นตอนต่อไปนี้ - ทำความสะอาดพิมสำหรับใส่วุ้น - ผสมแป้งวุ้น และน้ำเข้าด้วยกัน นำไปตั้งไฟจนผงวุ้นละลาย ผสมสีที่ต้องการ พักไว้ให้อุ่น - เทผลวุ้นที่ผสมแล้วลงแม่พิมพ์ - เมื่อวุ้นเซตตัวแล้ว แคะวุ้นออกจากพิม - บรรจุวุ้นที่สำเร็จแล้ว ลงในถุงเพื่อเตรียมไปถวายพระและมอบให้ผู้ปกครอง 3. ครูและเด็กร่วมกันถวายขนมวุ้นและเครื่องสังฆททานที่วัดโพธาราม 4. เด็กมอบขนมวุ้นให้กับผู้ปกครองแทนความรักและความผูกพัน 5 9. การวัดและประเมินผล - แบบสังเกตพฤติกรรม 10. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. เด็กสามารถทำขนมวุ้นได้ 2. เด็ก มีความสนุกสนาน อารมณ์ดี ร่าเริง แจ่มใส มีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ดี และได้รบการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา 3. เด็กสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ รู้จักการแบ่งปันและช่วยเหลือ 4. เพื่อให้เด็กรู้จักการแบ่งปันและช่วยเหลือ 5.เด็กมีทักษะในการทำงาน สามารถแก้ปัญหาได้เหมะสมกับวัยและสามารถทำงานเป็นทีมได้ 6. เด็กสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมาย ได้ด้วยตนเอง 7. เด็กมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับครูและเพื่อน ทั้งการพูดคุยหรือซักถาม 8. เด็กมีระเบียบวินัย รู้จักเคารพกฎกติกาและสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ 9. ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม และเกิดการประสานการทำงานร่วมกันระหว่างโรงเรียน บ้านและชุมชน
แชร์ข่าวนี้