- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดยางหัก
- สังกัด อปท. จังหวัด ราชบุรี
- ผู้จัดทำ ธาวรรณ เตี้ยมเครือ วันที่สร้าง 9 มีนาคม 2562, 19:02 น.
- ประเภทตัวชี้วัด ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
การเติบโตของเด็กมีปัจจัยหลายด้าน ทั้งด้านพันธุกรรม ฮอร์โมน ภาวะโภชนาการ โรคทางกาย และสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดู คุณพ่อคุณแม่สามารถตรวจสอบการเจริญเติบโคของเด็กได้โดยวัดความยาวหรือส่วนสูง น้ำหนัก และวัดเส้นรอบศีรษะ ร่วมกับการดูขนาดของกระหม่อม ขนาดเส้นรอบอกและการขึ้นของฟัน อาหารที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายของเด็ก คืออาหารต้องได้ครบ 5 หมู่ในปริมาณและคุณภาพที่เพียงพอ เหมาะสมกับวัยทุกวัน โดยมีอาหารหลัก 5 หมู่ที่หลากหลายและอาหารว่างไม่เกิน 2 มื้อ นม 2-3 แก้วต่อวัน ปริมาณอาหารที่เรียกว่าเพียงพอ สำหรับเด็กวัย 3-6 ปี กลุ่มข้าว+แป้ง วันละ 5 ทัพพี กลุ่มผัก วันละ 3 ทัพพี กลุ่มผลไม้ วันละ 3 ส่วน (ผลไม้แบบผล 1 ส่วน(ส้มผลกลาง 2 ผลหรือกล้วยน้ำว้า 1 ผล,ผลไม้แบบชิ้นคำเช่นมะละกอ แตงโม สับประรด 1 ส่วน= 8 ชิ้นคำ กลุ่มนมวันละ 2-3 แก้ว กลุ่มเนื้อสัตว์ วันละ 4 ช้อนกินข้าว กลุ่มไขมัน น้ำมันวันละ 5 ช้อนชา (น้ำตาล,เกลือ กินได้แต่น้อย) ตัวเลขข้างต้นเราสามารถยืดหยุ่นได้ เด็กก็เหมือนกับเราที่บางมื้ออาหารรสถูกปาก อร่อย ก็ทำให้ร่างกายทานได้มาก บางมื้อทานได้น้อย ที่ทางได้มากก็จะไปชดเชยกันแต่อย่าให้ขาดสารอาหารต่อเนื่องหรือทางไม่หลากหลาย จะส่งผลให้ขาดอาหารดังนั้นให้เชื่อมั่นว่าร่างกายของเด็กสามารถยืดหยุ่นได้ ในอาหารของเด็กอย่าขาด โอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 สารอาหาร 2 ชนิดนี้ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องได้รับจากสิ่งที่ให้เด็กทาน การขาด โอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ที่อยู่ในปลาและเนื้อสัตว์จะทำให้ลูกไม่เติบโต ส่วนไขมันก็เป็นสิ่งสำคัญต่อระบบสมอง ดังนั้นควรได้ไขมันที่เป็นไขมันดีที่มีอยู่ในปลา โดยเฉพาะปลาทะเล สำหรับเด็ก ๆ แล้วโภชนาการดีที่ดีดูได้จากส่วนสูง น้ำหนักที่สมดุลและอยู่ในระดับปกติของกราฟวัดการเจริญเติบโต การเฝ้าสังเกตความร่าเริง สดใส ภาวะไม่เจ็บป่วยบ่อย หรือการทุเลาจากภาวะป่วยทั่วไปเช่น อาการหวัด หรือภาวะท้องเสีย การเสริมความเจริญเติบโตด้วยอาหารทำให้เด็กด้วยอาหารให้เพียงพอ การให้อาหารเกิน ความต้องการของร่างกายไม่เป็นผลดี หรือการให้ดื่มนมเกินปริมาณจะทำให้เกิดภาวะอ้วน ผลไม้รสหวานจัดก็ส่งผลให้เกิดภาวะอ้วน ดังนั้นเด็ก ๆ ควรได้รับอาหารที่จัดให้อย่างเพียงพอและมีคุณภาพ จึงเรียกได้ว่าเป็นสุขโภชนาการ สิ่งที่นำไปปรับใช้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แนวทางการดูแลและการจัดอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1. เด็กเล็กไม่ชอบทานผักการเลือกผักควรเป็นผักที่ไม่มีกลิ่นฉุน โดยให้ปริมาณ 1 ช้อน เมื่อเด็กทานได้ดีค่อยเพิ่มปริมาณ 2. ปรุงอาหาร ที่รสไม่จัดจ้าน และปรุงอาหารด้วยการประกอบที่หลากหลาย 3. อาหารระหว่างมื้อ โดยเน้นให้เด็กกินผลไม้แทนขนมกรุบกรอบและขนมทอดชนิดต่างๆ ควรจัดอาหารว่างให้เด็กได้ 2 มื้อ 4. เด็กควรได้รับอาหารที่หลากหลายโดยเฉพาะผักและผลไม้ 5. ฝึกระเบียบวินัยและมารยาทในการรับประทานอาหารแบบง่ายๆ 6. การจัดนมสดรสจืดให้เด็กบริโภคโดยจัดให้เด็กวันละ 2-3 ส่วน 7. การดื่มน้ำที่สะอาดหลีกเหลี่ยงน้ำหวาน และน้ำอัดลม
แชร์ข่าวนี้