- สร้างโดย ศพด.วัดโนนรัง ก.
- สังกัด อปท. จังหวัด หนองบัวลำภู
- ผู้จัดทำ ปาริก ขามเปี้ย วันที่สร้าง 1 มีนาคม 2562, 23:14 น.
- ประเภทตัวชี้วัด ผู้เรียนมีทักษะการคิด,ภาษา,การสังเกต,การจำแนก,การเปรียบเทียบและแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
อย่างที่เราได้ทราบกันก่อนนี้แล้วว่าสะเต็มศึกษาคืออะไร? และเราจะสามารถบูรณาการสะเต็มลงสู่ชั้นเรียนอย่างไรนั้น? ในวันนี้เราจะมากล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษาในชั้นเรียน ซึ่งในกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะเสริมสร้างผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้จากปัญหาเป็นฐาน เรียนรู้วิธีการออกแบบ และแก้ปัญหา รวมไปถึงการตัดสินใจเลือกและทดสอบวิธีการแก้ปัญหานั้นๆ เพื่อนำไปสู่การหาคำตอบหรือนำมาซึ่งการพิสูจน์หาคำตอบที่แท้จริงเชิงวิทยาศาสตร์อีกด้วย การเปลี่ยนแปลง ความเป็นไปรวมถึงที่มาของสิ่งต่างๆ ปรากฏการณ์ต่างๆของโลกทั้งที่มนุษย์เป็นผู้กระทำให้เกิดหรือแม้แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติก็ตามที สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดศาสตร์ทางด้านความรู้) นำไปสู่การได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้มาใช้ในการศึกษาสิ่งต่างๆรอบตัวเรา เช่น กระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการศึกษาความเป็นไปของธรรมชาติทื่อยู่รอบตัว การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ คือ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ในห้องเรียน ซึ่งมีความสอดคล้องกับการสืบเสาะหาความรู้ของนักวิทยาศาสตร์ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ในห้องเรียน ควรจัดให้สอดคล้องกับ 5 ลักษณะ ดังนี้ 1) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในประเด็นคำถามทางวิทยาศาสตร์ 2) ผู้เรียนให้ความสำคัญกับข้อมูลหลักฐาน 3) ผู้เรียนสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ตามข้อมูล 4) ผู้เรียนเชื่อมโยงคำอธิบายของตนกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือคำอธิบายอื่นๆ และ 5) ผู้เรียนสื่อสารและให้เหตุผล ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีบทบาทในการลงมือปฏิบัติมากหรือน้อยได้ตามระดับการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อให้เหมาะสมกับศักยภาพและพัฒนาการทางการเรียนรู้ของผู้เรียน วิธีการหรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Process) ยังคงเป็นวิธีการหรือทางเลือกหนึ่งของกระบวนการในการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เพื่อนำไปสู่การหาคำตอบหรือแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริงเช่นเดียวกันเพียงแต่ครูผู้สอนหรือผู้ออกแบบกิจกรรมควรผสมผสานให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของผู้เรียน บริบทของผู้สอนหรือผู้ออกแบบกิจกรรม บริบทของสภาพแวดล้อม รวมถึงบริบทของสังคมวัฒนธรรมอีกด้วย
แชร์ข่าวนี้