• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับโครงการ
  • ติดต่อ
  • ลงทะเบียน
  • เข้าสู่ระบบ
  • หน้าแรก
  • ข่าวของฉัน
    • ข่าวของฉัน
    • ข้อมูลส่วนตัว
  • อ่านข่าว
    • ข่าวทั้งหมด
    • ข่าวแยกตามจังหวัด
    • ข่าวผลงานใต้ร่มพระบารมี
    • ข่าวผลงานที่ได้รับรางวัล
  • เขียนข่าว
  • คู่มือเขียนข่าว
สุ่มข่าว
  • *โครงการโรงอาหารสะอาด ถูกสุขอนามัย ใส่ใจโภชนาการ อาหารเด็ก (Superteacher)
  • *กิจกรรมการแห่เทียนวันเข้าพรรษา
  • *Play&Learn เพลินไปกับศิลปะสร้างสรรค์
  • *คณิต วิทย์คิดสร้างสรรค์
  • *เทคนิคการเล่านิทาน "หนูน้อยมหัศจรรย์" ply& Learn one song hit
  • *“ Play & Learn ” เพลินไปกับการประกันคุณภาพการศึกษา
  • *คณิตวิทย์คิดส์สร้างสรรค์
  • *จัดหมรับเดือนสิบ
  • *คณิตวิทย์คิดสร้างสรรค์
  1. เรื่อง : บทความ เรื่อง ทำไมต้องร่วมกันคิด ร่วมกันพัฒนาเด็ก กิจกรรม “ใบเตยสรรพคุณมากล้นจากธรรมชาติสู่ชุมชน”
  • สร้างโดย  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านแท่น
  • สังกัด  อปท.    จังหวัด  มหาสารคาม
  • ผู้จัดทำ  นางสาวธนพร เหนือคูเมือง   วันที่สร้าง  20 กรกฎาคม 2559, 14:19 น.
  • ประเภทตัวชี้วัด  ผู้เรียนมีทักษะการคิด,ภาษา,การสังเกต,การจำแนก,การเปรียบเทียบและแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย

       เรื่อง ทำไมต้องร่วมกันคิด ร่วมกันพัฒนาเด็ก กิจกรรม “ใบเตยสรรพคุณมากล้นจากธรรมชาติสู่ชุมชน” นางสาวธนพร เหนือคูเมือง ความนำ ใบเตย (ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Pandanus amaryllifolius) ใบเตยเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว แตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ มีรากค้ำช่วยพยุงลำต้นไว้ ลำต้นจะอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยวสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะเป็นใบเรียวยาว ขอบใบเรียบมีผิวมัน ตรงกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอีกหลายชื่อ เช่น ส้มม่า (ระนอง) ส้มตะเลงเครง (ตาก) ส้มปู (แม่ฮ่องสอน) ส้มพอดีหรือผักเก็งเค็ง (ภาคเหนือ) กลิ่นหอมของใบเตยเกิดจากสารเคมีที่ชื่อ 2-acetyl-1-pyrroline ใบเตยสดจะมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีรสหวาน หอม และสีเขียวของใบเตยนั้นอุดมไปด้วยคลอโรฟิลล์ ที่มีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ การปลูกใบเตยต้องปลูกใกล้น้ำและค่อนข้างแฉะพอสมควร เพราะใบเตยชอบความชื้น และอยู่ในที่เย็นๆไม่ให้โดนแสงแดดมาก อาจจะปลูกตามร่องสวนหรือตามชายน้ำ ก่อนปลูกต้องเปิดน้ำเข้าแปลงประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือประมาณ 15 เซนติเมตร จากนั้นเตรียมต้นพันธ์ใบเตยที่แข็งแรง ที่มีราก ปักลงในแปลง จากนั้นดูแลระบบถ่ายเทน้ำ ดูแลไม่ให้ต้นที่ปักดำลอยขึ้นมา ทิ้งไว้ 3 เดือน ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ สำหรับการตัดใบเตย ควรตัดใบเตยจากด้านล่างของลำต้นไล่ขึ้นไปด้านบน โดยให้เหลือส่วนที่เป็นใบและยอดแต่ละต้นประมาณ 15 ใบ และเว้นช่วงเวลาในการตัดใบแต่ละครั้งประมาณ 3 วัน สรรพคุณของใบเตย 1. ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ : โดยใช้ใบสด 1 กำมือ นำมาบดให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำแล้วนำไปต้มอาจใส่น้ำตาลเล็กน้อยเพื่อรสชาติที่ดี โดยดื่มครั้งละ 1 แก้ว จำทำให้ร่างกายสดชื่น และสามารถบำรุงหัวใจได้ดี 2. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ โดยใช้ใบสด 3- 5 ใบ หั่นเป็นท่อนแล้วนำมาต้มดื่มแทนน้ำ ประมาณ 2-3 วัน หรืออาจดื่มสัปดาห์เว้นสัปดาห์ จะช่วยขับปัสสาวะและช่วยบำรุงธาตุ 3. น้ำใบเตย : นำใบเตยสดล้างให้สะอาด 1 กำมือต้มกับน้ำ 4-5 ลิตร จนน้ำออกสีเป็นสีเขียว ใส่น้ำตาลตามใจชอบ สามารถดื่มได้ทั้งร้อนละเย็น 4. สูตรควบคุมน้ำตาลในเลือด : นำใบเตย 32 ใบ และใบต้นสัก 9 ใบ ตากแดดแล้วนำมาชงเป็นชาดื่มอย่างน้อย 1 เดือนต่อเนื่อง หรือใช้รากเตยประมาณ 1 กำมือ มาต้มกับน้ำ ดื่มเช้าเย็น อย่างน้อย 1เดือนต่อเนื่อง 5. ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจและบำรุงกำลัง : ใช้ใบสดผสมในอาหารรับประทาน จะทำให้อาหารมีรสเย็น ทำให้หัวใจชุ่มชื่น หรือนำใบสดมาคั้นเอาแต่น้ำรับประทานครั้งละ 2-4 ช้อนแกง 6. ขับปัสสาวะ : ใช้ต้นเตย 1 ต้น หรือใช้รากครึ่งกำมือ นำมาต้มน้ำดื่ม 7. รักษาโรคผิวหนัง และโรคหัด : นำใบเตยสดมาตำให้พอกบริเวรที่เป็น 8. ทรีทเม้นท์บำรุงหน้า : นำใบเตยสะล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆนำมาปั่นกับน้ำสะอาดจนละเอียด จะได้ครีมข้นเหนียม แล้วนำมาพอกหน้า ทิ้งไว้ 20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด 9. ใช้เป็นสีผสมอาหารหรือขนม หรือต้มกับข้าว จะได้กลิ่นอาหารที่น่ารับประทาน เนื่องจากคนในชุมชนบ้านแท่นนิยมปลูกใบเตยเพื่อใช้ประโยชน์ เพราะใบเตยมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ มีการนำใบเตยมาประกอบช่อดอกไม้เพื่อใช้ถวายพระ ใช้ดับกลิ่น ใช้แต่งกลิ่น ปรุงแต่งสี และการนำมาเป็นส่วนประกอบของขนมไทยหลากหลายชนิด เช่น การนำใบเตยมาปั่น กรองเอาน้ำสีเขียวของใบเตยมาเป็นสีผสมอาหารทำวุ้นกะทิใบเตย ที่ชาวชุมชนบ้านแท่นชอบรับประทานมากและสามรถทำไว้รับประทานเองได้ในครัวเรือน จากสรรพคุณของใบเตย ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านแท่นจึงได้เห็นประโยชน์ของวัตถุดิบธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนที่มีอยู่ทุกบ้าน เพราะใบเตยสามารถนำมาปรุงแต่งสี ให้กลิ่นหอมตามแบบธรรมชาติและมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ จึงได้จัดกิจกรรมทำวุ้นกะทิใบเตย เป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้ ที่ครู ผู้ปกครอง และชุมชนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนและส่งเสริมพัฒนาการเด็กผ่านกิจกรรมทำวุ้นกะทิใบเตย โดยมีผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล นางอุลัยวัลย์ ผ่องสนาม จากชุมชนบ้านแท่น เป็นวิทยากรให้ความรู้และร่วมกันทำวุ้นกะทิใบเตย โดยนำรูปแบบแนวคิด ทฤษฏีของนักการศึกษาที่สอดคล้องกับการทำกิจกรรมมาประยุกต์ใช้ แนวคิดของมอนเตสซอรี (Montessori Method) แพทย์หญิงชาวอิตาลี ที่มีแนวคิดว่า การศึกษาในวัยเริ่มต้นไม่ควรเป็นการนำความรู้ไปบอก แต่ควรปลูกฝังให้เด็กได้เรียนรู้ ค้นหาคำตอบ ความต้องการของตัวเองผ่านการสั่งสมประสบการณ์และการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ดังนั้นทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านแท่นจึงจัดสภาพแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านการใช้มือสัมผัสจับต้อง ด้วยการทำวุ้นกะทิใบเตยที่เด็ก ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง ด้วยกิจกรรมการทำวุ้นกะทิใบเตย โดยทำเป็นวุ้น 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นวุ้นใสๆสีเขียวที่ได้จากใบเตยและมีกลิ่นของใบเตย ส่วนชั้นบนเป็นวุ้นสีขาวขุ่นที่มีกะทิเป็นส่วนผสม ซึ่งวุ้นแต่ละชั้นจะต้องแยกทำทีละครั้ง โดยครั้งแรกจะต้องทำชั้นล่างที่มีส่วนผสมของน้ำใบเตยก่อน พอหยอดวุ้นชั้นล่างใส่พิมพ์เรียบร้อยแล้วค่อยทำวุ้นชั้นบนต่อ บทสรุปของการทำกิจกรรม ด้านทักษะชีวิต 1. เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากการออกไปสำรวจแหล่งของวัตถุดิบใบเตยที่จะนำมาทำเป็นสีผสมวุ้นจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 2. เด็กได้เรียนรู้ขั้นตอนวิธีการทำวุ้นกะทิใบเตย และส่วนประสมที่จะนำมาทำเป็นวุ้นกะทิใบเตย 3. เด็กได้เรียนรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การนำใบเตยมาปั่น กรองเอาน้ำสีเขียวของใบเตยมาเป็นสีผสมอาหารทำวุ้นกะทิใบเตย 4. เด็กได้เรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์จากการนับใบเตย 5. เด็กได้เรียนรู้ทักษะทางภาษาและการสื่อสาร รู้จักการตั้งคำถามในสิ่งที่สงสัยขณะทำกิจกรรมนอกจากนี้เด็กยังได้พัฒนาทักษะการฟังและสามารถโต้ตอบทำความเข้าใจ ปฏิบัติตามในเรื่องที่ฟังได้ 6. เด็กมีพัฒนาทางด้านอารมณ์ มีความอดทนรอคอยที่จะหยอดวุ้นกะทิใบเตยแต่ละชั้น 7. เด็กได้รับการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ มีการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือและตาเวลาหยอดน้ำวุ้นลงพิมพ์โดยไม่ทำให้เลอะหรือไหลล้นออกจากพิมพ์ 8. เด็กเกิดความภาคภูมิใจ มีความมั่นใจเห็นคุณค่าของตัวเองเมื่อสามารถทำวุ้นกะทิใบเตยได้ ด้านทักษะทางสังคม 1. เด็กรู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม 2. เด็กรู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ 3. เด็กรู้จักการวางแผนและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบโดยการแบ่งหยอดวุ้นคนละชั้น 4. เด็กรู้จักปฏิบัติตามข้อตกลงของในขณะที่รอให้วุ้นแข็งตัวโดยการไม่ไปจิ้มที่วุ้น การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษา บ้านและชุมชน การขอความร่วมมือในการเชิญผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ รวมถึงการลงพื้นที่สำรวจแหล่งเรียนรู้ในชุมชน สวนใบเตยของแม่อุลัยวัลย์ ผ่องสนาม และเป็นวิทยากรให้ความรู้กับเด็กในการทำวุ้นกะทิใบเตย การปลูก การบำรุงรักษา ประโยชน์ และการตัดใบเตย เป็นที่พึงพอใจ ชุมชนให้การสนับสนุนละยินดีให้ความร่วมมือ อ้างอิง ใบเตยหอม.(12 มีนาคม 2016).เข้าถึงได้ที่htts://www.มีประโยชน์.com สมุนไพรหอมใบเตยสรรพคุณชั้นเยี่ยมจากธรรมชาติ.(2548). เข้าถึงได้ที่ htts://www.banbealthy.com บ้านขนมไทยวุ้นกะทิใบเตย.(2 กุมภาพันธ์ 2557). เข้าถึงได้ที่ htts://www.kaemwee.wordpress.com

  • ดูแบบเต็ม
แชร์ข่าวนี้
แชร์

ข่าวล่าสุด

  • กิจกรรมเสริมประสบการณ์
  • การประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒน...
  • การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของศ...
  • การสอน ทำหน้ากากผ้า
  • มาตรการเฝ้าระวังในเด็กปฐมวัยโ...

Tag

  • #เมนูข่าว
  • #ข่าวล่าสุด
  • #สถานศึกษาที่ส่งข่าวมากที่สุด
  • #จังหวัดที่ส่งข่าวเยอะสุด

ติดต่อ

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (สำนักงานประสานงานกลางโครงการความร่วมมือฯ รมป.)

เลขที่ 295 ถนนนครราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร. 022445982-83
แฟกซ์ 022445927
อีเมล์ dusitcenter@gmail.com

แผนที่

Copyright © 2018-present All rights reserved , powered by www.dusitcenter.org

Developed By Polpipat S.

ขอเครดิตฟรีหน่อยครับสมัครปุ๊บรับปั๊บไม่ต้องฝาก สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938 สล็อต สล็อตออนไลน์ thaicasinobin แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41 สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55 kubet ไทยคาสิโนออนไลน์ แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์ เว็บรวมข้อมูล พนันออนไลน์เว็บไหนดี ได้เงินจริง พร้อมฟรีเครดิต