- สร้างโดย ศพด.อบต.นาพิน
- สังกัด อปท. จังหวัด อุบลราชธานี
- ผู้จัดทำ นางจินตนา ศรีสม รหัส571111321134 วันที่สร้าง 14 พฤศจิกายน 2558, 23:02 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษามีทรัพยากรและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
ชื่อกิจกรรม: การล้อมรั้วด้วยไม้ไฝ่ จังหวัด: อุบราชธานี: พัฒนาเด็กเล็ก อบต. นาพิน ตัวชี้วัด: ผู้เรียนมีทักษะในการปฎิบัติงานในการร่วมกิจกรรมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติต่ออาชีพในชุมชน 1. ชื่อกิจกรรม ล้อมรั้วเพื่อความปลอดภัย 2. ขั้นตอนการทำ 1.เชิญผู้ปกครองมาให้ความรู้เกี่ยวกับการล้อมรั้วด้วยไม้ไฝ่เพื่อความปลอดภัยและประโยชน์ของไม้ไฝ่ โดยนายสิทธิชัย ศรีสม 2. ขอความร่วมมือหัวหน้าศูนย์และผู้ปกครองเด็กในการจัดกิจกรรม 3.จัดเตรียมเด็กและพาเด็กดูวิธีการล้อมรั้วบริเวณหน้าศูนย์ฯโดยมีนายสิทธิชัย ศรีสม เป็นผู้ปฎิบัติให้เด็กดูและมีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ไม้ไฝ่ ฆ้อนตีตะปู ตะปู เมื่อเตรียมวัสดุอุปกรณ์ครบเรียบร้อย ลงมือทำกิจกรรมลื้นรั้วเก่าที่ชำรุดทิ้ง ใช้ไม้ไฝ่ทำต้นเสารั้วเจาะเป็นรูเพื่อทำราวรั้วใช้ไม้ไฝ่ทั้งลำทำราวรั้ว ทำไม้ไฝ่ให้เป็นริ้วแบนนำมาตีให้รอบรั้วบริเวณด้านหน้าและด้านหลังศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.นาพิน 3. ประโยชน์ของกิจกรรม 1. ตระหนักรู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อม 2. ศูนย์มีความสวยงามตามธรรมชาติ 3. ช่วยลดภาวะการดูแลเด็กองครู 4. รู้คุณค่าของวัสดุที่มีในชุมชน 5. เพื่อป้องกันไม่ให้สุนัขเข้ามาทำร้ายเด็ก 6. เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กออกนอกอาคารเรียน 7. เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาติ 8. เพื่อป้องกันไม่ให้วัวขึ้นมาในบริเวณอาคารเรียน 9. เพื่อป้องกันไม่ให้ไก่มาทำควานสกปรกในบริเวณอาคารเรียน 4.ใช้รูปแบบการสอนเรียนรู้แบบสภาพจริง ครูเชิญผู้ปกครองที่มีความรู้ความสามารถในด้านการทำรั้วจากวัสดุในท้องถิ่น เช่น ไม้ไฝ่ที่มีในชุมชน ผู้ปกครองให้ความรู้กับเด็กที่ศูนย์ ผู้ปกครองเล่าถึงประโยชน์ของไม้ไฝ่ที่หาได่ง่ายในชุมชนเรา และวิธีการล้อมรั้วจากไม้ไฝ่ ให้เด็กฟัง ซึ่งไม้ไฝ่เป็นวัสดุที่หาได้ง่ายจากท้องถิ่น เพราะไม้ไฝ่เป็นไม้ที่มีอยู่ในชุมชนบ้านเรา ทุกครัวเรือนจะมีต้นไฝ่ทุกครอบครัวและเด็กจะรู้จักไม้ไฝ่กันเป็นส่วนมาก ไม่ไฝ่สามารถทำประโยชน์ได้มากมาย เช่น งานจักสานต่างๆ ทำตระกร้า ทำฝาผนังบ้าน ทำกระติบข้าว ฯลฯ หลังจากนั้นผู้ปกครองและครูสรุปกิจกรรมที่ทำให้เด็กฟังอีกรอบ ถึงวิธีทำรั้วจากไม้ไฝ่ให้เด็กฟัง เกี่ยวกับขั้นตอนการล้อมรั้วอีกรอบ 5. โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับเด็กได้เรียนรู้จากประสบการตรงจากการปฎิบัติจริงจากผู้ปกครองเด็กในการทำรั้วด้วยไม้ไฝ่ เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและได้รู้ถึงประโยชน์ของไม้ไฝ่ที่หาได้ง่ายจากท้องถิ่นในชุมชนเราเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยสอดคล้องกับทฤษฏีของอิริคสัน ( Erik H.Erikson) เป็นนักจิตวิทยา มีแนวความคิดว่าเด็กเป็นวัยที่สำคัญและพร้อมเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมรอบตัว หากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กดี เด็กจะมองโลกในทางที่ดี มีความเชื่อมั่นในตนเอง ในทางตรงกันข้ามหากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมไม่ดี จะส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะกลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย ไม่ไว้วางใจผู้อื่น ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง สอดคล้องกับเนื้อหาวัดความสำเร็จคือผู้เรียนมีทักษะในการปฏิบัติกิจกรรม สามารถปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพและสภาพแวดล้อมที่ดี
แชร์ข่าวนี้