- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาผือ
- สังกัด อปท. จังหวัด อำนาจเจริญ
- ผู้จัดทำ นางสาวหนึ่งฤทัย สู่เสน วันที่สร้าง 11 พฤศจิกายน 2558, 23:26 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย
1. กิจกรรมการทำไม้กวาดจากดอกหญ้า 2.ขั้นตอนการทำ2.1ครูให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น2.2เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เพิ่มเติมกับเด็กในเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำไม้กวาดจากดอกหญ้าโดยให้คุณตาตี๋ ลุณลิลา สาธิตวิธีการทำไม้กวาดดอกหญ้า 2.3 ให้เด็กได้ลงมือทำไม้กวาดดอกหญ้าด้วยตนเอง2.4ครูสรุปและประเมินความพึงพอใจของเด็กในการทำกิจครั้งนี้ 3.ประโยน์ของกิจกรรม3.1เด็กได้เรียนรู้อย่างบูรณาการจากกระบวนการเรียนรู้โดยเอาวิถีและภูมิปัญญาเป็นตัวตั้ง ทำให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งรอบตัวที่สนุกมีชีวิตชีวา3.2เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข เกิดความผูกพันใกล้ชิดกับครู3.3เด็กได้เรียนรู้ภูมิปัญญาและรักท้องถิ่นของตนเอง3.4คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ลูกหลาน ได้ร่วมพัฒนาโรงเรียนจนเกิดความภาคภูมิใจและรู้สึกเป็นเจ้าของโรงเรียน 4.ใช้รูปแบบการสอนแบบแบบโครงการ Project Approach เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เด็กสนใจในโลกแห่งความเป็นจริงและพบเห็นในชีวิตประจำวัน ซึ่งเด็กๆสามารถศึกษาได้โดยง่าย ทั้งที่โรงเรียน ที่บ้าน และในชุมชน การเรียนรู้แบบ Project Approach นี้ ช่วยให้เด็กมีทักษะการเรียนรู้อย่างลุ่มลึกในสิ่งที่เด็กต้องการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง อันเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเด็ก นอกจากนั้น Project Approach ยังตั้งอยู่บนรากฐานของทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) และช่วยพัฒนาจิต 5 ประการ (Five Minds of the Future) 5.สอดคล้องกับเนื้อหาวัดความสำเร็จ-รู้จักท้องถิ่นของตน รู้สึกภาคภูมิใจและรู้จักอาชีพที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
แชร์ข่าวนี้