- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคำหว้า
- สังกัด อปท. จังหวัด อุบลราชธานี
- ผู้จัดทำ นางสาวพันธิตรา แสวงทรัพย์ วันที่สร้าง 11 พฤศจิกายน 2558, 10:43 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษามีทรัพยากรและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอน -ตรวจสอบพื้นที่เตรียมพื้นที่เพาะปลูก -เตรียมพืชพันธุ์ -แบ่งกลุ่มการจัดเตรียมเพื่อเพาะปลูก -ครูสาธิตวิธีการปลูก -จากนั้นให้เด็กลงมือปฏิบัติ ประโยชน์ -ผู้เรียนได้เรียนรู้การปลูกผักสวนครัวตามหลักเศรฐกิจพอเพียง -ผู้เรียนได้เรียนรู้การทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่ม -ผู้เรียนได้รู้จักคุณค่าและประโยชน์ของพืชผักสวนครัว -ชุมชนและศพด.มีกิจกรรมร่วมกัน -มีแหล่งเรียนรู้ในศพด. -สร้างระเบียบวินัยให้ผู้เรียน -สร้างการมีนำ้ใจและรู้จักแบ่งปันให้กับผู้เรียน -ทำให้ภูมิทัศน์บริเวณนั้นสวยงาม จากกิจกรรมครูได้ใช้รูปแบบการสอนแบบสาธิตโดยครูทำให้เด็กดูเป็นตัวอย่างก่อนผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการสังเกตจากนั้นผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง และช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อธรรมชาติดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเด็กมีสุนทรียภาพมีวินัยรู้จักรับผิดชอบมีนำ้ใจรู้จักแบ่งปันมีความมั่นใจในตนเอง รู้จักรับผิดชอบการสังเกตและการเรียนรู้ด้วยตนเองพร้อมทั้งเด็กได้รับพัฒนาการครบทั้ง4ด้านอีกทั้งยังมีแหล่งเรียนรู้ในศพด. ทฤษฏี อิริก อิริกสัน(Erik H. Erikson) เป็นนักจิตวิทยา พัฒนาการที่มีชื่อเสียงและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมาก มีแนวคิดว่าวัยเด็กเป็นวันที่สำคัญ และพร้อมเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวหากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กดี เด็กจะมองโลกในแง่ดีมีความเชื่อมั่น ในทางตรงกันข้ามหากประสบการณ์ และสภาพแวดล้อมไม่ดีไม่เอื้อหรือส่งเสริมต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะกลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้ายไม่ไว่วางใจผู้อื่น ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และสิ่งแวดล้อมมีผลในการพัฒนาการทางจิตวิทยาของมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนโครงสร้างทางกายภาพร่างกาย สังคม ร่วมกันนั่นคือ การเจริญเติบโตทางร่างกายและสิ่งแวดล้อมจะมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางจิตใจและบุคลิกภาพให้บุคลสามารถปรับตัวอยู้ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคำหว้าจึงได้จกิจกรรมพืชผักสวนครัวภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับทฤษฏีดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการผู้เรียนให้มีพัฒนาการครบทั้ง4ด้าน
แชร์ข่าวนี้