- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งหนองบัว
- สังกัด อปท. จังหวัด อุบลราชธานี
- ผู้จัดทำ นางสาวศรีจันทร์ ผลสวัสดิ์ วันที่สร้าง 10 พฤศจิกายน 2558, 21:34 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
กิจกรรม : จัดมุมให้น่าเล่นเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ 2. ขั้นตอนการทำ: 2.1 ประชุมครูเพื่อชี้แจงการจัดกิจกรรมวางแผนดำเนินงาน ซึ่งมุมที่จัดนี้ มี 3 มุม คือ 1 มุมหนังสือ 2 มุมเกมการศึกษา 3 มุมสร้างสรรค์ 2.2 จัดหาวัสดุ - อุปกรณ์ได้แก่ ชั้นวาง โต๊ะญี่ปุ่น เก้าอี้ที่มีอยู่แล้วในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเรา กรรไกร กระดาษสี กาว มีด แผ่นลองตัด รูปภาพน่ารักๆที่เหมาะสมกับมุมที่จะจัดแต่ละมุม แลคซีน สติ๊กเกอร์เคลือบ หนังสือนิทานต่างที่เหมาะสมตามวัยของเด็กใช้คละเค้ากันไป ตุ๊กตา เกมการศึกษาต่างๆ ชุดของเล่นสร้างสรรค์ต่างๆที่ครูผลิตเองและได้จากการจัดสรร 2.3 ดำเนินกิจกรรมปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ (จัดมุม) ดูความเหมาะสมของมุมว่าควรจัดไว้ที่ใดเช่นมุมหนังสือต้องห่างไกลจากเสียงรบกวนไม่ควรจัดไว้ใกล้มุมบทบาทสมมุติ มุมบล็อก เป็นต้น มีตุ๊กตา หมอน พรมสำหรับนั่งให้เด็กได้อ่านและดูหนังสืออย่างสงบพร้อมสร้างบรรยากาศความอบอุ่นเสมือนว่าได้อยู่ที่บ้านของตนเอง การจัดมุมต่างๆนั้นที่สำคัญต้องมีพื้นที่ให้เด็กได้เล่นเราอาจมีโต๊ะญี่ปุ่นให้วางเกมส์หรือของเล่นที่เด็กสนใจจะช่วยส่งเสริมพัฒนาให้เด็กมีทักษะในการเล่น ครูจัดทำ ข้อตกลง สัญลักษณ์การเปิด-ปิดมุมให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติ ฝึกสังเกตและจดจำ วิธีการจัดประสบการณ์ - ขั้นนำ ครูท้องคำคล้องจอง"ข้อตกลงของเรา"ให้เด็กฟัง 2 รอบ ให้เด็กท้องตาม ครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับสภาพแว้ดล้อมภายในห้องเรียนชักชวนให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงในห้องเรียน - ขั้นสอน ครูสอน ข้อตกลง สัญลักษณ์การเปิด-ปิดมุม ครูสอนวิธีการใช้มุมหนังสือ มุมเกมการศึกษา มุมสร้างสรรค์ โดยการสาธิตการเข้าไปใช้ให้เด็กดู จากนั้นแบ่งกลุ่มเด็กเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คนให้เด็กเข้าไปเรียนรู้การใช้มุมตามสภาพจริงโดยใช้เวลากลุ่มละ 10 นาที(ให้เด็กเล่น 8 นาที 2 นาทีให้เด็กเก็บของเข้าที่) พอหมดเวลาให้เด็กได้เปลี่ยนหมุนเวียนไปเล่นที่มุมอื่นให้ครบทั้ง 3 มุมตามที่จัดสภาพไว้ - ขั้นสรุป เด็กทุกคนสามารถเข้าใช้มุมหนังสือ มุมเกมการศึกษา มุมสร้างสรรค์ เรียนรู้ วิธีการใช้มุม รู้ถึงข้อตกลง และเข้าใจสัญลักษณ์การเปิด-ปิดมุมได้ดี 3.ประโยชน์ของกิจกรรม : 1.เด็กเข้าใจข้อตกลง สัญลักษณ์การเปิด-ปิดมุมดีขึ้นช่วยให้เด็กปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมจากมุมที่จัดไว้และช่วยเสริมบุคลิกลักษณะของเด็กที่ดี 2.เด็กสร้างมิตรภาพและให้เด็กรู้จักการแก้ปัญหา สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ 3.การจัดมุมที่หลากหลายเป็นการจัดสภาพการศึกษาอย่างหนึ่งเด็กได้พัฒนาลักษณะต่างๆจากการเล่นปนเรียนช่วยให้เด็กมีความรู้ที่กว้างขวาง และทำให้เด็กทราบว่าตนชอบอะไร มีความสามารถทางไหน 4.เป็นการฝึกมารยาท รู้จักการกระทำที่ถูกต้องจากการใช้มุมต่างๆ 5.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสภาพแวดล้อมภายในที่สวยงามน่าอยู่และน่าเรียนรู้ 4.รูปแบบการจัดกิจกรรม : ใช้รูปแบบบูรณาการเล่นปนเรียน (Play and Learn) การเล่นเป็นการแสดงออกถึงความสามารถในการใช้ร่างกาย ความคิด ภาษา การแสดงออกทางอารมณ์และการสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นการใช้พลังงานส่วนเกินของเด็ก ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมตามสัญชาติญาณ ทั้งยังเป็นการทบทวนการปฎิบัติตามวัฒนธรรมที่ก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินและเป็นการลองผิดลองถูก ที่ค้นคว้าด้วยการสัมผัสด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการกระทำที่เป็นผลรวมของพฤติกรรมทั้งหมดของเด็ก อันเป็นส่วนสำคัญของพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก นิรมล ชยุตสาหกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างการเล่นและการเรียนรู้ ที่เด่นชัดคือการเล่นเป็นตัวนำไปสู่การค้นพบและการเรียนรู้ การเล่นทำให้เด็กเป็นอิสระและเกิดความสนุกสนาน 5.สอดคล้องกับเนื้อหาวัดความสำเร็จ : กิจกรรมจัดมุมให้น่าเล่นเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้นี้ทำให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเรามีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสม มีสภาพแว้ดล้อมภายในห้องเรียนที่สวยงาม
แชร์ข่าวนี้