- สร้างโดย บ้านโป่งสลอด
- สังกัด อปท. จังหวัด เพชรบุรี
- ผู้จัดทำ จิดาภา นวมนิ่ม วันที่สร้าง 15 กันยายน 2556, 16:36 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษาสามารถจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
สลากภัต คือ การถวายข้าวสาร อาหารแห้งแก่พระภิกษุสงฆ์ในช่วงเข้าพรรษา เนื่องจากเป็นฤดูฝน ชาวบ้านเริ่มทำนา การเดินทางไปมาหาสู่กันของพระภิกษุสงฆ์ จะทำให้เหยียบข้าวกล้าของชาวนาได้รับความเสียหาย พระพุทธองค์จึงได้บัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาในช่วงเข้าพรรษา เป็นเวลา 3 เดือน คือ ระหว่างเดือน 8 ถึง เดือน 11 และความไม่สะดวกของพระภิกษุสงฆ์ ในการออกบิณฑบาตในวันที่ฝนตกหนักในตอนเช้า จึงเป็นที่มาของแนวทางการคิดจัดเครื่องอาหารสด อาหารแห้งที่สามารถเก็บไว้ประกอบอาหารในวัด กรณีที่พระสงฆ์ไม่สามารถออกบิณฑบาตหรือบิณฑบาตมาไม่เพียงพอ อันเป็นที่มาของประเพณี การถวายสลากภัต ตามมา ประเพณีสลากภัตของ จ.เพชรบุรี ได้การสืบทอดกันมาและยังคงสืบสานต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดเขต อ.บ้านลาด ด้านทิศตะวันตก ยังคงอนุรักษ์ประเพณีการถวายฉลากภัตไว้ได้อย่างเหนียวแน่น สลากภัต มี 3 ประเภท ได้แก่ สลากน้ำมัน และผ้าอาบน้ำฝน นิยมจัดในวันอาสาฬหบูชา หรือวันเข้าพรรษา โดยจัดหาน้ำมันก๊าดสำหรับใส่ตะเกียงสำหรับพระสงฆ์อ่านหนังสือหรือท่องบทสวดมนต์ และการจัดหาผ้าอาบน้ำฝน สำหรับเปลี่ยนสบงจีวรที่เปียกชื้น เนื่องจากสมัยก่อนพระสงฆ์จะมีไตรจีวรไม่เกิน 2 ไตร สลากที่ 3 คือสลากภัตตาหาร หรือเรียกสั้นๆว่า สลากภัต ซึ่งก็จะมีทั้งสลากภัตธรรมดา สลากภัตแบบหาบและสลากภัตแบบหาม สลากภัตธรรมดาก็จะคล้ายกับการถวายเครื่องไทยแด่พระสงฆ์แต่ในห่อสังฆทานอาจจะมีอาหารสำเร็จรูปนอกเหนืออัฐบริขารที่จำเป็นของพระภิกษุ แต่การถวายไม่ได้เจาะจงกับภิกษุรูปใดรูปหนึ่งแต่จะใช้การจับสลากแทน สลากภัตแบบหาบ จะใช้ภาชนะที่ชาวบ้านเรียกว่าเข่ง ทำจากหวายด้านล่างสานติดกันเพื่อให้สามารถใส่สิ่งของได้ พร้อมกับทำสายรับตัวเข่งที่ชาวบ้านเรียกหูเข่งขึ้นไปด้านบนจำนวน 4 เส้น หรือ 8 เส้น ขึ้นอยู่กับขนาดของเส้นหวายแล้วขดเป็นวงเพื่อใช้ไม้คานใส่หาบ จุดเด่นจะอยู่ที่การประดับตกแต่งอาหารที่นำมาวางในเข่งจนดูสวยงาม มีการนำเอาพานเงินและพานทองเหลืองมาตั้งเพื่อให้หาบดูสง่า สวยงาม แล้วหาบไปยังวัด ถวายพระภิกษุโดยการจับฉลากเช่นกัน
แชร์ข่าวนี้