- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดมหาคงคา
- สังกัด อปท. จังหวัด ชัยภูมิ
- ผู้จัดทำ นางสาววงศ์เดือน จ่าทัน วันที่สร้าง 3 มิถุนายน 2556, 19:57 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษามีความร่วมมือระหว่างบ้าน,ศาสนา,การศึกษา,ภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในชุมชน
ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ วันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ท้าให้แม่น้ำสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง เดิมพิธีลอยกระทง เรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียง ชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม คนไทยนับถือพระพุทธศาสนาก็ท้าพิธียกโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ต้านานเรื่องของการลอยกระทงมีความเชื่อแตกต่างกันไปแล้วแต่พื้นที่ในแต่ละท้องถิ่น ศาสนา ที่แต่ละท้องถิ่นยึดถืออยู่ วิธีการลอยกระทงก็แตกต่างกันไปด้วยการลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนสิบสอง ชาวบ้านจะจัดเตรียมท้ากระทงจากวัสดุที่หาง่ายจากธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วยและดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้เครื่องสักการบูชา ก่อนท้าการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวัง พร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา เพราะได้อาศัยน้ำท่านกินและใช้ แม้ว่าความเชื่อและวิธีการลอยกระทงจะมีความแตกต่างไปตามแต่ท้องถิ่น แต่ความเชื่อที่เหมือนกันคือ ประเพณีการลอยกระทง เป็นคติความเชื่อของชนชาติที่ประกอบอาชีพกสิกรรม ซึ่งมีน้ำเป็นปัจจัยหลัก ในการประกอบอาชีพที่ทำให้พืชเจริญงอกงามสมบูรณ์ จึงมีการลอยกระทงไปตามกระแสน้ำ เพื่อขอบคุณพระแม่คงคาหรือเทพเจ้าแห่งน้้า อีกทั้งเป็นการแสดงความคารวะขออภัยที่ได้ลงอาบ หรือปล่อยสิ่งปฏิกูลลงน้ำ ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม หลังจากการลอยกระทงแล้วก็จะมีการละเล่นรื่นเริงสนุกสนาน อันเป็นธรรมเนียมในการสร้างความกลมเกลียวของคนในชุมชนอีกด้วย ศูนย์พัฒนาเด็เล็กวัดมหาคงคาได้เล็งเห็นความสำคัญของประเพณีไทย จึงสืบสานประเพณีไว้ ได้พานักเรียนทำกระทงเพื่อปลูกฝังให้เด็กรุ่นหลังได้สืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทยเด็กมีความตื่นเต้นที่จะทำกระทงกันมาก ครูได้บอกให้เด็กเตรียมอุปกรณ์ในการทำกระทงเมื่อถึงวันทำกระทง ครูและเด็กนักเรียนร่วมกันทำกระทงอย่างสวยงาม และเด็กให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
แชร์ข่าวนี้