- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเชียงรากน้อย
- สังกัด อปท. จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
- ผู้จัดทำ นางสาวศีตลา บุญมาก วันที่สร้าง 28 พฤษภาคม 2556, 21:12 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษามีการจัดระบบประกันคุณภาพภายในศพด.อย่างต่อเนื่องตามระบบวงจร PDCA
ศพด.เทศบาลตำบลเชียงรากน้อยมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามตัวบ่งชี้ของมาตรฐานที่ ๘ ๓ ตัวบ่งชี้ โดยดำเนินกิจกรรมดังนี้ ๑. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตามจังหวะอย่างอิสระ โดยจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบ ได้แก่ เสียง-ทำนองเพลง เสียงปรบมือ เสียงเคาะไม้ กลอง รำมะนา คำคล้องจอง เป็นต้น มาประกอบการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้ จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้ โดยทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเชียงรากน้อยมีวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 1. พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายให้ได้เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน 2. ให้เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียด 3. ให้เด็กได้รับประสบการณ์ ความสนุกสนาน รื่นเริง โดยผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย 4. สนองความต้องการตามธรรมชาติ ความสนใจและความพอใจของเด็ก 5. ให้เด็กเกิดความซาบซึ้งและมีสุนทรียภาพในการเคลื่อนไหวอย่างเสรีตามจังหวะ รวมทั้งเกิดทักษะ ในการฟังดนตรีหรือจังหวะต่างๆ 6. พัฒนาทักษะด้านสังคม การปรับตัว และความร่วมมือในกลุ่ม 7. ให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และให้เด็กได้มีโอกาสแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ 8. พัฒนาภาษา ฝึกฟังคำสั่งข้อตกลง และปฏิบัติตามได้ 9. ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี ๒. กิจกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จะช่วยเชื่อมโยงการทำงานของสมองและพัฒนาจินตนาการซึ่งสัมพันธ์กับประสบการณ์ของเด็ก เด็กจะแสดงออกมาเป็นภาพ รูปร่าง และรูปทรง จึงเป็นโอกาสที่เด็กจะได้ฝึกสมองจากกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มีหลากหลายแบบ เป็นการให้เด็กกระทำ และสังเกตซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์ตรงให้เด็ก เด็กจะเกิดความสามารถในการพัฒนาความคิดรวบยอดและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ได้ต่อไป อีกทั้งงานของตนจนสำเร็จ จะสร้างความภูมิใจต่อตนเองหรือสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองสามารถพัฒนาจิตเด็กได้อย่างมีคุณภาพ คือให้เป็นผู้มีความอดทนเพราะต้องสร้างสรรค์ผลงานของตนจนสำเร็จ จะสร้างความภูมิใจต่อตนเองหรือสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองได้ เนื่องจากการเปิดโอกาสให้เด็กพึ่งตนเองในการทำสิ่งต่างๆ ตามความสามารถ เป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงความมีคุณค่าในตนเอง เด็กจะเป็นผู้มีความมั่นใจและกล้าที่จะผจญปัญหา ในขณะเดียวกัน เด็กจะได้รับการพัฒนาทางสังคม เพราะเด็กจะได้มีโอกาสทำงานร่วมกับเพื่อน เด็กจึงเรียนรู้การแก้ปัญหาการทำงาน รู้จักปรับปรุงหรือเปลี่ยน แปลงตนเอง ซึ่งเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันด้วยดีในสังคม เมื่อเด็กสร้างผลงานสิ้นสุดแล้ว การชักชวนให้เด็กชื่นชมผลงานของตนเอง เป็นการปลูกจิตสำนึกเด็กให้เห็นคุณค่าของศิลปะที่ตนสร้างขึ้น และฝึกฝนการแสดงความชื่นชมในความสวยงาม สร้างความเพลิดเพลินและความสุขจากสิ่งใกล้ๆ ตัวเด็กเองนการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ด้วยการเอาใจใส่จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้งสภาพห้องเรียน การจัดหาสื่อ อุปกรณ์ให้พร้อม มีแผนการจัดกิจกรรมไว้ล่วงหน้า และดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผน ส่งเสริมให้เด็กได้เลือกปฏิบัติกิจกรรมสร้างสรรค์อย่างหลากหลาย อย่างน้อยวันละ 2 กิจกรรม ครูควรให้โอกาสเด็กอธิบายผลงานของตนเองและ ชื่นชมผลงานของตนเอง ครูควรมีคำถามให้เด็กได้คิด และเชื่อมโยงไปสู่การใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน กิจกรรมสร้างสรรค์ที่ครูจัดให้เด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นการจัดกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระผ่านการสร้างสรรค์งานจากกิจกรรมที่หลากหลายแบบที่ครูจัดให้วันละ ๒-๓ กิจกรรม และเด็กมีโอกาสเลือกทำอย่างน้อยวันละ ๒ กิจกรรม ตามความสนใจ คือกิจกรรมงานปั้น ได้แก่ ปั้นดินเหนียวหรือแป้งโด ดินน้ำมัน เป็นต้น กิจกรรมวาดภาพระบายสี ทั้งสีน้ำ สีเทียน สีดินสอ ได้แก่ หยดสี เทสี ระบายสี เป่าสี ละเลงสีด้วยนิ้วมือ หรือส่วนต่างๆ ของมือหรือ พิมพ์ภาพ เป็นต้น กิจกรรมงานกระดาษ ได้แก่ ฉีก พับ ตัด ปะ กระดาษ เป็นต้น กิจกรรมประดิษฐ์จากวัสดุต่างๆ และของเหลือใช้ ได้แก่ ประดิษฐ์กระทงใบตอง ประดิษฐ์หน้ากากจากจานกระดาษ เป็นต้น ๓. กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่การศึกษาปฐมวัยจัดขึ้นนอกห้องเรียน เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้เคลื่อนไหว ได้แสดงออกอย่างอิสระ ได้ออกกำลัง เป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ได้แก่ แขน ขา และลำตัว ให้สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของเด็กแต่ละคน ดังนั้ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเชียงรากน้อยจึงจัดกิจกรรมดังนี้ การเล่นเครื่องเล่นสนาม การเล่นเครื่องเล่นสนามจะส่งเสริมให้เด็กได้ออกกำลังกาย พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ เพราะเด็กจะได้ปีนป่าย หมุน โยก ฯลฯ เป็นต้น การเล่นกับอุปกรณ์กีฬา เป็นการนำอุปกรณ์กีฬามาให้เด็กเล่นอย่างอิสระ หรือใช้ประกอบการเล่นเกมการเล่นที่ให้อิสระกับเด็ก หากมีการแข่งขัน จะไม่เน้นการแข่งขันแบบมีแพ้มีชนะ อุปกรณ์ที่ครูนิยมนำมาให้เด็กเล่นคือ ลูกบอล ห่วงยาง ถุงทราย ฯลฯ เพราะเหมาะกับเด็กปฐมวัย การเล่นเกมการละเล่น เกมการละเล่นที่ครูจัดให้เด็กปฐมวัยเล่นมักเป็นเกมง่ายๆ ทั้งการละเล่นของไทยและการละเล่นสากลที่รู้จักกันทั่วไป และเกมที่ครูประยุกต์ให้เข้ากับหน่วยการสอนที่กำหนดให้เด็กเรียนซึ่งนำมาจากแผนการจัดประสบการณ์ปฐมวัยของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยครูจัดให้เล่นในพื้นที่โล่งกว้าง ส่งเสริมให้เด็กเล่นทั้งกลุ่มเล็กกลุ่มใหญ่ เป็นเกมสนุกสนานมากกว่าการแข่งขันแพ้ชนะ เพื่อมิให้เด็กเครียดและรู้สึกไม่ดีต่อตนเองที่แพ้หรือไม่ประสบความสำเร็จ การเล่นทราย การจัดทรายให้เด็กเล่นเป็นการตอบสนองธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่ชอบเล่นจับสัมผัสสิ่งต่างๆ รอบตัว และสร้างสรรค์ตามจินตนาการ ทรายจึงเป็นสิ่งที่เด็กชอบเล่น ทั้งทรายที่เปียกน้ำ ทรายแห้ง เด็กจะเล่นก่อเป็นรูปร่างต่างๆ และสมมติว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ทั้งที่เป็นจริงและเป็นสิ่งที่คิดเอาเอง บางครั้งเด็กต้องการสิ่งของนำมาประกอบเรื่องราว เช่น กิ่งไม้ ใบไม้ เปลือกหอย ช้อนตักทราย พิมพ์ขนม เป็นต้น การจัดทรายไว้กลางแจ้ง ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเชียงรากน้อยจัดทรายใส่กะละมังอันใหญ๋เพื่อจัดเก็บทรายมิให้กระจัดกระจาย มีรั้วรอบขอบชิดป้องกันสัตว์เข้าไปถ่ายมูลและทำสกปรก การเล่นสมมติมุมบ้าน จัดให้คล้ายบ้านจริง ของจริงที่ไม่ใช้แล้ว เช่น หม้อ เตา ชาม อ่าง เตารีด เครื่อง ครัว ตุ๊กตาสมมติเป็นบุคคลในครอบครัว เสื้อผ้าผู้ใหญ่ที่ไม่ใช้แล้ว สำหรับตกแต่งบริเวณคล้ายบ้านจริงๆ บางครั้งอาจจัดเป็นร้านค้าขายของ หรือสถานที่ต่างๆ เพื่อให้เด็กเล่นสมมติตามจินตนาการของเด็กเอง การเล่นในมุมบล๊อก เด็กต้องการการออกกำลังในการเคาะ ตอก กิจกรรมการเล่นในมุมช่างไม้นี้เพื่อจะช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อให้แข็งแรง ช่วยฝึกการใช้มือและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา นอกจากนี้ฝึกให้รักงานและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย การทำกิจกรรมทั้งสามกิจกรรมครูจะมีข้อตกลงและอธิบายการการทำกิจกรรมที่ถูกต้องและปลอดภัยพร้อมทั้งดูแลอย่างใกล้ชิดเสมอ เมื่อเด็กทำกิจกรรมแล้วทางครูผู้ดูแลเด็กก็จะทำการประเมินเด็กดังนี้ ๑. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ๒. สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน ๓. สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง ๔. สังเกตการแสดงออก ๕. สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
แชร์ข่าวนี้