- สร้างโดย บ้านพระแอเ
- สังกัด อปท. จังหวัด กระบี่
- ผู้จัดทำ นางสาวฝาสีต๊ะ พยายาม วันที่สร้าง 26 มีนาคม 2562, 15:12 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษามีทรัพยากรและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นโครงงานการปลูกผักสวนครัวรอบรั้วศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติการปลูกผักขั้นตอนการปลูกผักบุ้ง ผักที่มีประโยชน์ สามารถนำมาใช้ในชีวิตจริงได้เป็นอย่างดีให้เด็กรู้จักการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ปัญหาสำคัญของเด็กปฐมวัย คือ การเลือกบริโภคอาหารไม่เหมาะสม และรับประทานในปริมานที่ไม่สมดุล ได้แก่ การบริโภคแป้ง เป็นจำนวนมากในรูปแบบของอาหารที่ผ่านการแปรรูปและขนมกรุบกรอบ ติดรสชาติหวาน มัน เค็ม การบริโภคผักและผลไม้ในปริมานน้อยกว่าที่กำหนดเป็นผลให้เกิดการขาดสารอาหาร พฤติกรรมการบริโภคดังกล่าวส่งผล ต่อศักยภาพในการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย ความสำคัญของอาหารและโภชนาการที่มีต่อเด็กปฐมวัย เนื่องจากไม่มีอาหารใดที่สามารถให้อาหารแกร่างกายได้อย่างครบถ้วน ดังนั้นนักโภชนาการจึงได้แนะนำให้รับประทานอาหารที่หลากหลายในแต่ละมื้อเพื่อที่ร่างกายจะได้รับสารอาหารครบทุกชนิด จึงสามารถแบ่งอาหารตามสารอาหารที่ได้ไว้ให้ 5 หมู่ เรียกว่า อาหารหลัก 5 หมู่ ดังนี้ อาหารหมู่ที่ 1 ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ ปลา นม ซึ่งจัดเป็นแหล่งสำคัญของสารอาหาร อาหารหมู่ที่ 2 ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ขนมจีน ขนมปัง ก่วยเตี่ยว เผือก มัน ฟักทอง ข้าวโพด และแป้งชนิดอื่นๆ อาหารหมู่ที่ 3 ได้แก่ ผัก ใบเขียวและพืชผักชนิดต่างๆ อาหารหมู่ที่ 4 ได้แก่ ผลไม้ชนิดต่างๆซึ่งนอกจากผลไม้จะอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ อาหารหมู่ที่ 5 ได้แก่ ไข่มันจากปลา เช่นปลาทู ปลาช่อน ไข่มันจากสัตว์ เช่นนำ้มันหมู นำ้มันตับปลา หรือไขมันจากพืช เช่นนำ้มันถั่วเหลือง นำ้มันปาล์ม มะกอก ดังนั้น ในประเทศไทยจึงมีการแนะนำให้ประชาชนกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ การจัดและบริการอาหารกลางวันสำหรับเด็กในสถานศึกษา
แชร์ข่าวนี้