- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนำร่องบ้านบุ่งหวาย
- สังกัด อปท. จังหวัด อุบลราชธานี
- ผู้จัดทำ สุกัญญา อุตภู วันที่สร้าง 10 มีนาคม 2562, 15:37 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษาสามารถจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนำร่องบ้านบุ่งหวาย ได้จัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเล่นปนเรียน(Play and Learn)โดยยึดหลักจิตวิทยา และธรรมชาติของเด็กที่ชอบเล่นอยู่แล้วโดยการใช้เทคนิควิธีการ บูรณาการสาระความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ที่ต้องการให้เกิดกับเด็ก และการเล่นให้เข้าด้วยกัน ทำให้เด็กได้เล่น แสดงออก ได้ร้องเพลง ทำให้เด็กรู้สึกสนุกสนาน อยากเรียนรู้มากขึ้น การเล่นปนเรียนเป็นการเล่นที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา การที่บุคคลาครู จัดกิจกรรมเรื่องวันลอยกระทง กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เด็กและครูร่วมกันร้องเพลง”ลอยกระทง”เด็กได้เคลื่อนไหวด้วยท่ารำวงง่ายๆด่วยตนเอง กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เด็กได้ฟังเรื่องเล่าความเป็นมาของวันลอยกระทง รู้คุณค่าของแม่น้ำ การทำหน้าที่ตนเองต่อชุมชนที่ต้องช่วยกันรักษาทรัพยากร คือ แหล่งน้ำที่มีประโยชน์ในการดำรงชีวิตของเรา วิธีการรักษาด้วยการไม่ทิ้งขยะปฏิกูล ของเสียลงในแม่น้ำ ซึ่งประเพณีที่สืบสานกันมา คือ การนำกระทงไปลอยในแม่น้ำ เด็กได้รู้จักลักษณะของกระทง วัสดุที่นำมาใช้ทำมาใช้ทำกระทง การใช้วัสดุธรรมชาติ เพื่อให้ย่อยสลายง่าย ครูสอนเรื่องนี้เพื่อให้เด็กนำไปใช้ในชีวิตจริง สอนเรื่องการระวังเกิดอันตรายจากการไปริมแม่นำ้ ควรมีผู้ปกครองไปด้วยทุกครั้ง กิจกรรมสร้างสรรค์ เด็กได้หัดทำกระทงจากวัสดุธรรมชาติ คือ ใบตอง หยวกกล้วย จัดธูป เทียน ดอกไม้ ให้ครบ กิจกรรมเสรี เด็กได้แสดงบทบาทสมมติ ครูมีกระทงที่เด็กทำขึ้นเองให้เด็กทดลองถือไปลอยในอ่างนำ้ที่เตรียมไว้ เด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ทดลองการจมการลอยของกระทง กิจกรรมกลางแจ้ง เล่นเกมลอยกระทง มีกติกาง่ายๆ กิจกรรมเกมการศึกษา เด็กได้เล่นเกมจับคู่ภาพของกระทงกับภาพของวัสดุที่ใช้ประกอบกระทง จากการจัดกิจกรรมดังกล่าวมานั้นสรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ลอยกระทงผ่านกิจกรรมทั้ง 6 หลักนั้น ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ ด้วยตนเอง ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เด็กจะได้รับการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับชุดวิชา Play & Learn เพลินไปกับประกันคุณภาพการศึกษา การวางแผนการบริหารจัดการในชั้นเรียน เป็นการพัฒนาด้านผู้เรียน ด้านการบริหารการจัดการ ด้านการสอน ส่งผลต่อระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
แชร์ข่าวนี้