- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคลองบางกระบือ
- สังกัด อปท. จังหวัด สมุทรปราการ
- ผู้จัดทำ นางสาวแคธทรียา ฮาตระวัง วันที่สร้าง 9 มีนาคม 2562, 22:12 น.
- ประเภทตัวชี้วัด ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
อาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตเด็กที่ได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการถูกต้องครบถ้วนสะอาดปลอดภัยมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจะส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสติปัญญา การขาดสารอาหารจะทำให้การเจริญเติบโตของเด็กชะงักทั้งทางร่างกายและสติปัญญาทำให้เด็กเรียนรู้ช้าร่างกายแค่แคะแกร็น ในปัจจุบันเด็กไทยประสบปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและขาดการออกกำลังกายซึ่งเป็นผลมาจากการขาดความรู้และความเข้าใจในการเลี้ยงลูกในแต่ละวัย ความต้องการสารอาหารของเด็ก ปฐมวัย เด็กปฐมวัยมีร่างกายเจริญเติบโตทั้งความสูงและขนาดร่างกายการได้รับอาหารในปริมาณที่ไม่สมดุลย์จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาหากเด็กวัยนี้ขาดสารอาหารโปรตีนแหล่งพลังงานขาดธาตุเหล็กแคลเซี่ยมไอโอดีนจะทำให้การเจริญเติบโตช้าเด็กป่วยบ่อยการเรียนรู้ต่ำและปัญหาการได้รับสารอาหารบางชนิดบางมากเกินไปโดยเฉพาะอาหารกลุ่มแป้งน้ำตาลไขมันจะทำให้เด็กเกิดภาวะอ้วนและมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเมื่อเติบโตเป็นวัยผู้ใหญ่ แนวทางการดูแลและการจัดอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัย 1. ในหนึ่งวันเด็กควรได้รับอาหารหลักสามมื้อประกอบด้วยข้าวหนึ่งถึง 1.5 / พีและสัตว์ต่างๆหนึ่งช้อนกินข้าวสลับกับไข่หรืออาหารทะเล ผักใบเขียวมื้อละ3/4-1ทัพพี ผลไม้มื้อละหนึ่งส่วน (1 ส่วนให้พลังงาน 60 กิโลแคลอรี) นมรสจืด2-3แก้วต่อวัน(400-600มิลลิลิตร) 2.เริ่มการกินผักที่ไม่มีกินฉุนเช่นผักบุ้งตำลึงฟักทองผักกาดขาวเป็นต้นให้ในปริมาณหนึ่งช้อนเมื่อกินได้ค่อยเพิ่มปริมาณมากขึ้นสิ่งที่ต้องระวังในการเตรียมอาหารคือผักต้องล้างให้สะอาดเลือกผักที่ปลอดสารพิษ 3. การปรุงอาหารรสชาติไม่จัดจ้านประกอบด้วยหลักหลายวิธีได้แก่ต้มหนึ่งตุ๋นตุ๋นและอบแทนการทอด 4.งดขนมกรุบกรอบขนมหวาน ก่อนมื้ออาหารหลัก 5. อาหารระหว่างมื้อเน้นให้เด็กกินผลไม้แทนขนมกรุบกรอบ 6. การทำกิจกรรมต่างๆทำให้เด็กอยากรับประทานอาหารได้มากขึ้นจึงมักนำเรื่องสีมาสัมพันธ์กับการทำอาหาร 7.จัดให้บริโภคนมรสจืด2-3แก้วต่อวันเพื่อให้เด็กได้รับแคลเซี่ยมอย่างเพียงพอ 8.ดื่มน้ำสะอาดหลีกเลี่ยงน้ำหวานและน้ำอัดลม
แชร์ข่าวนี้