- สร้างโดย ศพด.อบต.หนองบัวศาลา
- สังกัด อปท. จังหวัด นครราชสีมา
- ผู้จัดทำ นางสาวเนตรนภา ช่องงาม วันที่สร้าง 7 มีนาคม 2562, 13:04 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษามีการจัดทำหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
อาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิต การที่เด็กได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน ถูกสุขลักษณะ สะอาด ปลอดภัย และมีปริมาณที่พอเพียงกับความต้องการของร่างกายส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยได้อย่างดี อาหารมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสติปัญญา การส่งเสริมความรู้ด้านอาหารและโภชนาการให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็ก ได้แก่ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง พี่เลี้ยงเด็กรวมทั้งครูปฐมวัย จะช่วยให้เด็กได้รับอาหารที่ถูกต้องตามวัย ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี และยังสามารถเฝ้าระวังการเกิดปัญหาทุพโภชนาการในเด็กทั้งปัญหาการขาดสารอาหาร และปัญหาภาวะโภชนาการเกินที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน เพื่อให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดี ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องให้ความสำคัญคุณภาพและปริมาณอาหารต่างๆที่เตรียมให้เด็ก โดยเลือกใช้วัตถุดิบอาหารที่มีคุณภาพและวิธีการปรุงอาหารที่เหมาะสม หลักเกณฑ์การจัดเตรียมอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย คือ 1.จัดทำเมนูอาหารหมุนเวียน 1 เดือน ตามมาตรฐานโภชนาการ 2.ในการจัดอาหารเป็นชุด/สำรับ หรืออาหารจานเดียว ถ้าเป็นเมนูผัดด้วยน้ำมันต้องจับคู่กับผลไม้ ของหวานที่เป็นกะทิไม่ควรจับคู่กับอาหารที่เป็นมัน ควรมีกลุ่มอาหารข้าว แป้ง เป็นหลัก 3.เนื้อสัตว์ให้ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่ายสลับหมุนเวียนกันไป 4.ควรมีผักเป็นส่วนประกอบในอาหารเป็นประจำทุกมื้อ 5.เลือกใช้ชนิดอาหารที่มีความเข้มข้นของสารอาหารมาประกอบเป็นอาหารสำหรับเด็ก เช่น ตับ เลือด เต้าหู้ 6.ควรมีน้ำมันเป็นส่วนประกอบในอาหารเป็นประจำในปริมาณที่แนะนำใน 1 วัน 7.ใช้เกลือและน้ำมันปลาผสมไอโอดีนในการปรุงอาหารเพื่อเพิ่มธาตุไอโอดีน 8.ควรจัดนมเป็นอาหารว่าง อย่างน้อยวันละ 1-2 แก้ว(200 มิลลิลิตร/แก้ว) 9.การจัดอาหารว่างประเภทขนมปังที่มีไส้ควรเลือกไส้ที่เป็นเนื้อสัตว์ 10.ขนมไทยควรเลือกที่มีส่วนประกอบของถั่วต่างๆเพิ่มขึ้น เช่น ถั่วเขียวต้มน้ำตาล หรือหากปรุงรสเองควรลดปริมาณนำ้ตาลงประมาณ 1/3 ของปริมาณเดิมเพื่อให้หวานน้อยลง
แชร์ข่าวนี้