- สร้างโดย ศพด.ตำบลท่างิ้ว
- สังกัด อปท. จังหวัด ตรัง
- ผู้จัดทำ นางสาวศุภตา ล้อมเมือง วันที่สร้าง 4 มีนาคม 2562, 09:18 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย
ปัจจุบันพบว่า เด็กไทยอ้วน เตี้ย ผอม มีอัตราการดื่มนมต่ำกว่าเด็กทั่วเอเชีย และทั่วโลก ส่วนความสูงเฉลี่ยอยู่เกณฑ์ค่อนข้างเตี้ย ลักษณะอ้วน เตี้ย และผอม ในเด็กไทย พบได้ 2 แบบคือ ผอมเตี้ย เป็นภาวะโภชนาการขาด มักพบในต่างจังหวัด ส่วนในเมืองใหญ่มักพบเด็กอ้วนเตี้ย ซึ่งเป็นภาวะโภชนาการเกิน ทั้งสองแบบมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ทั้งร่างกาย และสติปัญญาของเด็กโดยตรงนมจืดมีแคลเซียมมากกว่านมชนิดอื่น หากเป็นนมโคแท้ หรือนมผงผสมน้ำก็จะมี 99-100 เปอร์เซ็นต์เป็นนมโคแท้ แต่ถ้ามีส่วนผสมของน้ำตาล ความหวานก็จะแทนที่ปริมาณแคลเซียมในนมให้ลดลงไปด้วย สารอาหารหลักในนมมีทั้ง แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ถ้าเทียบกับอาหาร ในนม 1 แก้ว มีข้าว 1 ทัพพี และไข่ 1 ฟอง นมมีโปรตีน และ น้ำตาลธรรมชาติในนมช่วยดูดซึมแคลเซียมได้ดีส่วนแคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกาย โดยเฉพาะในกระดูกและฟัน เป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการตลอดเวลาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จนเติบโตเป็นเด็กถึงวัยชรา โดยวัยเด็กและวัยชราต้องการแคลเซียมในปริมาณเท่ากัน และต้องการมากกว่าวัยผู้ใหญ่ แต่ทุกช่วงวัยต้องได้รับแคลเซียมไม่น้อยกว่า 800-1000 มิลลิกรัมต่อวัน ทั้งนี้ควรให้เด็กดื่มนมวันละ 2 แก้ว จะเป็นนมวัว หรือนมถั่วเหลืองก็ได้ ซึ่งอ้างอิงได้จาก http://www.thaihealth.or.th/ ในสังคมไทยของเรานั้น มีการนำเอาอาหารของชาวตะวันตกเข้ามาในประเทศอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะขนม อาหารว่าง เช่น พิซซ่า แซนวิช ขนมปัง และเบอร์เกอร์ เป็นต้น ทำให้คนส่วนใหญ่หันไปบริโภคอาหาร ขนมของชาวต่างชาติมากขึ้นจนลืมไปว่าอาหารไทย ขนมไทยของเรานั้นมีหลายอย่างหลายประเภททั้งของคาว และของหวาน เช่น วุ้นกะทิ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองม้วน ทองพับ และสาคู เป็นต้น
แชร์ข่าวนี้