- สร้างโดย ศพด.วัดศิลาพัฒนาราม
- สังกัด อปท. จังหวัด หนองบัวลำภู
- ผู้จัดทำ นางสาวพัชรี พิมพ์ภาคำ วันที่สร้าง 28 กุมภาพันธ์ 2562, 14:57 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษาสามารถจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
นิทานกับเด็กๆ เป็นของคู่กันค่ะ พวกเขาสามารถฟังนิทานเรื่องเดิมซ้ำๆ ได้อย่างไม่รู้เบื่อ เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะขณะที่ฟังนิทาน ลูกจะรู้สึกเพลิดเพลินและมีความสุข เซลล์ในสมองตื่นตัวและมีการเชื่อมต่อกันมากขึ้น นอกจากนี้ การเล่านิทานยังช่วยพัฒนาทักษะต่างๆ ของลูกได้อีกด้วย เช่น กระตุ้นจินตนาการ เมื่อลูกได้ฟังนิทานที่คุณพ่อคุณแม่อ่านหรือเล่าให้ฟัง สมองของลูกจะจินตนาการเป็นภาพตามเรื่องราวที่ได้ฟัง มีการคิดเชื่อมโยง ลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ช่วยให้ระบบการคิดมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ หลังจากเล่านิทานให้ลูกฟังแล้ว ลองให้ลูกวาดภาพตามจินตนาการจากเรื่องราวที่ได้ฟัง แสดงบทบาทสมมติ หรืออาจช่วยกันแต่งนิทานเรื่องใหม่ พร้อมให้ฝึกให้ลูกสรุปข้อคิดที่ได้จากนิทานที่ได้ฟังหรือจากเรื่องที่แต่งขึ้น ช่วยเสริมสร้างสมาธิ การเล่านิทานด้วยน้ำเสียงสูงๆ ต่ำๆ และแสดงอารมณ์ผ่านน้ำเสียงตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในนิทาน จะทำให้ลูกมีสมาธิอยู่กับเรื่องราวที่ได้ฟัง อาจใช้หนังสือนิทานที่มีรูปภาพสวยงาม หรือรูปเล่มที่แปลกใหม่และน่าสนใจสำหรับเด็ก เช่น หนังสือ Pop Up หนังสือที่มีเสียง ก็จะยิ่งเพิ่มความสนใจและความจดจ่อให้กับลูกมากขึ้น เสริมทักษะด้านภาษา การเล่านิทานให้ลูกฟัง หรืออ่านนิทานโดยเปิดหนังสือและดูไปทีละหน้าพร้อมกับลูก จะช่วยให้ลูกรู้จัก จดจำ คำ วลี ประโยคต่างๆ รวมถึงความหมายของคำและประโยคเหล่านั้นได้ดีขึ้น หากเจอคำใหม่ๆ คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถสอนหรืออธิบายให้ลูกเข้าใจได้ง่ายขึ้น เป็นการปูพื้นฐานของการพูด การอ่าน และการเขียน เทคนิคเลือกนิทานให้ลูกวัยอนุบาล เลือกให้เหมาะกับวัย ลูกวัยอนุบาลที่มีความอยากรู้อยากทดลอง ว่าหากทำหรือไม่ทำสิ่งใดจะเกิดผลอย่างไร เริ่มมีสังคมนอกบ้าน มีเพื่อนที่โรงเรียน หนังสือนิทานสำหรับลูกวัยนี้ควรเป็นเรื่องราวใกล้ตัว หรือเรื่องราวที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง ความยาวไม่มากนัก เนื้อหาช่วยส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ให้ข้อคิดที่ดี มีตัวละครน้อย ภาพประกอบสวยงาม อย่าดูแค่ปกหรือชื่อเรื่อง หากเป็นหนังสือคุณพ่อคุณแม่ต้องอ่านเนื้อหาดูภาพประกอบให้มีความเหมาะสม หรือหากเปิดวิดีโอหรือเปิดจากสื่อออนไลน์ต้องตรวจสอบให้ดีก่อนเปิดให้ลูกดูค่ะ เพราะบางเรื่องตัวละครหน้าตาน่ารัก สีสันสดใส องค์ประกอบของภาพเป็นธรรมชาติสวยงาม ดูไม่มีพิษภัย แต่เมื่อเริ่มดำเนินเรื่องไม่นาน กลับมีภาพรุนแรง เช่น มีดตัดนิ้วขาดเลือดไหลนอง ไม้หล่นมาทับศีรษะเลือดสาด เป็นต้น ความหมายของนิทาน นิทาน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายไว้ดังนี้ นิทาน น.เรื่องเล่ากันมา เช่น นิทานชาดก นิทานอีสป รากศัพท์เดิมของนิทานมาจากภาษาบาลี และมีความหมายหลายนัย แต่ในปัจจุบันใช้ความหมายข้างต้นเพียงอย่างเดียว ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว นิทานสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามการเล่าเรื่อง เพราะเป็นเรื่องเล่าต่อ จึงสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกาลเวลา ในทางคติชนวิทยาจัดให้นิทานเป็นมรดกที่สำคัญทางวัฒนธรรม โดยนิทานจะมีทั้งนิทานที่เล่าปากเปล่า จดจำกันมาแบบมุขปาฐะ และนิทานที่มีการเขียนการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ประเภทของนิทาน นิทานเล่าสืบต่อกันมามีลักษณะที่หลากหลาย กิ่งแก้ว อัตถากร ได้ศึกษาและจำแนกนิทานออกเป็น 8 ประเภท
แชร์ข่าวนี้