- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังหิน
- สังกัด อปท. จังหวัด เพชรบูรณ์
- ผู้จัดทำ อรัญญา ฝ้ายคนบุรี วันที่สร้าง 14 กุมภาพันธ์ 2562, 13:37 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย
ภาวะโภชนาการ (Nutritional Status) เป็นสภาวะทางสุขภาพของบุคคลที่มีผลเนื่องมาจากการรับ ประทานอาหารและผลของการเผาผลาญสารอาหารในระดับเซลล์ โดยสามารถประเมินได้ด้วยการชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ ภาวะโภชนาการที่ดี (Good Nutritional Status) และภาวะภา วะทุพโภชนาการ (Malnutrition) สำหรับการวัดและการประเมินภาวะโภชนาการในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีตาม มาตรฐานสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2558 ใช้เกณฑ์การประเมิน 3 ประเภท ดังนี้ 1) การประเมินโดยใช้ดัชนีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ (Weight for Age) เป็นการประเมินที่สามารถสะท้อน ขนาดของปัญหาการขาดอาหารโดยรวม ทั้งการขาดโปรตีนและพลังงานชนิดเฉียบพลันที่ทำให้เด็กมีร่างกายผอม หรือการขาดโปรตีนและพลังงานแบบเรื้อรังที่ทำให้เด็กมีร่างกายตัวเตี้ย 2) การประเมินโดยใช้ดัชนีส่วนสูงตาม เกณฑ์อายุ (Height for Age) เป็นดัชนีที่สามารถสะท้อนระดับพัฒนาการเจริญเติบโตในท้องถิ่นโดยรวม อีกทั้ง ยังเป็นดัชนีบ่งชี้การเจริญเติบโตได้ดีกว่าน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 3) การประเมินโดยใช้ดัชนีน้ำหนักตามเกณฑ์ ส่วนสูง (Weight for Height) เป็นดัชนีที่เหมาะสำหรับการติดตามประเมินผลโครงการระยะสั้น ซึ่งสามารถใช้ ประเมินภาวะโภชนาการทั้งขาดและเกินได้เหมาะสำหรับการประเมินภาวะโภชนาการเกินในเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป สำหรับผลกระทบของการมีภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีพบว่า เด็กที่มีภาวะโภชนาการ ต่ำกว่าเกณฑ์มีความเสี่ยงสูงจากการเกิดโรคติดเชื้อ และอาจส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย และเสียชีวิต อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดภาวะแคระแกร็นในเด็ก (Stunting) และพัฒนาการล่าช้า นอกจากนี้ยังพบว่าการมีภาวะ โภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ในเด็กอาจส่งผลต่อการมีความเสี่ยงภาวะเชาว์ปัญญาต่ำอีกด้วย ส่วนผลกระทบของ การมีภาวะโภชนาการเกินในเด็ก พบว่า ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในอนาคต ซึ่งอาจ ทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร หรือมีความพิการ อีกทั้งการมีภาวะโภชนาการเกินในเด็กยังทำให้ประสบปัญหา ในการหายใจ และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหัก จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ใน เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีสามารถสรุปปัจจัยต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1. ปัจจัยด้านมารดา ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา การทำงาน และการได้รับการดูแลขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญโดยตรงต่อภาวะโภชนาการในเด็ก โดยอายุถือเป็นปัจจัยที่แสดงให้เห็นถึง การมีวุฒิภาวะและความพร้อมในการตั้งครรภ์ส่วนระดับการศึกษาของมารดาที่สูงขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงความ สามารถในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและความรู้ความเข้าใจในเรื่องภาวะโภชนาการที่จะสามารถนำมาใช้ในการ เลี้ยงดูบุตร และการทำงานของมารดา จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการเข้าถึงบริการสุขภาพด้าน ต่าง ๆ ของมารดา ซึ่งทำให้พฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรของแต่ละคนมีความแตกต่างกันไป โดยจากการทบทวน ปัจจัยด้านมารดาที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการที่ต่ำกว่าเกณฑ์ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีแสดงให้เห็นว่าการ ที่มารดามีความพร้อมในการตั้งครรภ์ในวัยที่เหมาะสม การมีระดับการศึกษาตามเกณฑ์ และมีการทำงานที่ดี ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูล และมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องภาวะโภชนาการ อีกทั้งยังเป็นส่วน ช่วยให้มารดามีความตระหนักในการเข้ารับบริการทางด้านสุขภาพทั้งในขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด ทำให้เด็ก ได้รับการดูแลที่ถูกวิธีส่งผลให้มีภาวะโภชนาการที่ดีตามไปด้วย
แชร์ข่าวนี้