- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งมหาเจริญ
- สังกัด อปท. จังหวัด สระแก้ว
- ผู้จัดทำ นางสาวนิลวรรณ สีงาม วันที่สร้าง 11 กุมภาพันธ์ 2562, 18:19 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษาสามารถจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
จากการเข้ารับการอบรมและสัมมนาครั้งที่ 2 เรื่อง Play and Learn เพลินไปกับประกันคุณภาพการศึกษา โดยคณะท่านวิทยากร ดร.สิริยากร กรองทอง, ดร.ขัตติยดา ไชยโย, ผช.ศาสตราจารย์พิชญ์สินี พุทธิทวีศรีและอ.ประวรดา โภชนจันทร์ ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบเล่นปนเรียน(Play and Learn) เป็นกลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้ เป็นการค้นหาเทคนิคการจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัย โดยยึดหลักจิตวิทยาและธรรมชาติ ของเด็กที่ชอบเล่นอยู่แล้วด้วยการใช้เทคนิควิธีการ บูรณาการสาระความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ที่ต้องการให้เกิดกับเด็กและการเล่นเข้าด้วยกัน ทำให้เด็กได้เล่น รู้สึกสนุกสนาน อยากเรียนรู้มากขึ้น ซึ่งเป็นการส่งเสริม การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ เน้นการปฏิบัติ Active learning ด้วยการแสดงออกโดยการเล่นภายใต้การดูแลช่วยเหลือของครู โดยครูจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ด้วยเทคนิควิธีการปั้นที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งความรู้ที่ได้เข้ารับการอบรมมาครั้งนี้ ตัวดิฉันได้นำเทคนิคและวิธีการสอนในเรื่องของ การเล่านิทานและการปั้น การเล่านิทานให้มีความสุขสนุกสนานและให้ผู้ฟังได้มีส่วนร่วมในการเล่านิทานไปด้วยคือใส่ลูกเล่นเข้าไปเช่น เมื่อวานครูเล่าถึงคำว่าเป็นหวัดให้เด็กทำท่าปิดจมูก ปิดปาก กิจกรรมเล่านิทานเด็กๆก็จะสนุกสนานมากขึ้น และกิจกรรมการปั้นดินน้ำมันที่ถูกวิธี สร้างสรรค์ประติมากรรมชั้นเอก การเล่นที่เชื่อมโยงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จินตนาการและทักษะทางมือ คือ นำเทคนิคการปั้นขั้นพื้นฐานจากรูปทรงมาดัดแปลงเป็นการปั้นแบบง่ายๆ ขั้นตอนแรกเริ่มให้กับเด็กปฐมวัยในชั้นเรียน โดยฝึกปั้นจากรูปทรงกลมและทรงรี-ทรงหยดน้ำ และทรงใส้กรอก-เส้นตรงทรงยาว เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการปั้นที่เป็นรูปร่างต่างๆ ตามจินตนาการของเด็ก คุณครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ตรงกับหน่วยการเรียนรู้ตามแผนจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัย ระดับอายุ 3 ปี ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งมหาเจริญ จังหวัดสระแก้ว และตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ช่วยฝึกทักษะและส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กได้อย่างครบองค์รวม ผลที่ได้รับคือเด็กเกิดกระบวนการคิดที่เป็นระบบ เด็กได้แสดงความคิดและแสดงออกโดยเสรีอย่างสร้างสรรค์ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข จากการจัดกิจกรรมการปั้นขั้นพื้นฐานที่ครูได้เข้ารับการอบรมและนำมาบริหารจัดการภายในชั้นเรียนของตนเองและสังเกตเห็นได้ชัดเจนถึงความแตกต่างก่อนและหลังที่ครูนำเทคนิคนี้มาปรับใช้สอนกับเด็ก คือ เมื่อเด็กเรียนรู้เทคนิคการปั้นตามรูปทรงแล้วเด็กสามารถปั้นเป็นรูปร่างต่างๆ ได้สวยงามและปั้นได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น กว่าที่เด็กยังไม่ได้เรียนรู้เทคนิคการปั้นจากคุณครูผู้สอน
แชร์ข่าวนี้