- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุด
- สังกัด อปท. จังหวัด สตูล
- ผู้จัดทำ นางสาวจรรยา กุกามา วันที่สร้าง 7 กุมภาพันธ์ 2562, 16:39 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษามีการจัดทำหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การที่คนเราจะมีสุขภาพดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้การควบคุมของตัวเอง ส่วนที่นอกเหนือการควบคุมมีน้อย เช่น กรรมพันธุ์ ดังนั้นถ้าเราควบคุมปัจจัยต่างๆ ได้เช่น การเลี้ยงดูตั้งแต่เด็ก การดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง คนส่วนใหญ่ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม ในครอบครัวมีความสงบสุขดีคือมีสุขภาพจิตดี และสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การเอาใจใส่เรื่องโภชนาการ ถ้าสามารถควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้หมด สุขภาพดีถ้วนหน้าก็คงจะไม่เกินความเป็นจริง กิจกรรมของมนุษย์ในแต่ละวันจำเป็นต้องใช้พลังงาน และสารอาหารที่ร่างกายได้รับจากการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ การรู้จักเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตอย่างเต็มที่สมบูรณ์ และมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง โภชนาการเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต หากสภาพร่างกายได้รับอาหารที่มีสารอาหารครบ และเพียงพอต่อความต้องการ ร่างกายสามารถนำสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ได้อย่างเต็มที่ เรียกว่าภาวะโภชนาการที่ดี แต่ถ้าร่างกายได้รับสารอาหารที่ไม่ครบถ้วน และไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะเรียกว่าภาวะโภชนาการที่ไม่ดี หรือทุพโภชนาการ ภาวะโภชนาการต่ำ เป็นสภาวะของร่างกายที่ขาดอาหาร ได้รับสารอาหารต่ำกว่าที่ร่างกายต้องการ หรือรับประทานอาหารไม่ได้เนื่องจากสาเหตุต่างๆ ทำให้เกิดโรคขาดสารอาหารภาวะโภชนาการเกิน เป็นสภาวะของร่างกายที่ได้อาหาร และสารอาหารเกินความต้องการของร่างกาย ทำให้เกิดการสะสมจนเกิดโทษแก่ร่างกาย ระวังอาหารไขมัน กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร ไขมันให้พลังงาน และความอบอุ่น ให้กรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยการดูดซึมของวิตามินที่ละลานในไขมันคือ วิตามินเอ ดี อี และเค แต่ไม่ควรกินไขมันมากเกินไปเพราะจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม อ้วน และเกิดโรคอื่นๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เป็นต้น วิธีประกอบอาหารมีส่วนทำให้ปริมาณไขมันในอาหารเพิ่มขึ้น เช่น ทอด ชุบแป้งทอด ผัดน้ำมัน และอาหารที่มีกะทิ จึงควรกินแต่พอควร การประกอบอาหารโดยวิธีต้ม นึ่ง ปิ้ง ย่าง จะมีไขมันน้อยกว่า กินไขมันในขนาดที่พอเหมาะ ไม่กินไขมันมากเกินไป และต้องกินน้ำมันพืชที่ให้กรดไลโนเลอิกเป็นประจำด้วย หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด การกินอาหารรสจัดมากจนเป็นนิสัย จะเกิดโทษต่อร่างกาย เช่น รสหวานจัด เค็มจัด การรับประทานหวานจัดเป็นนิสัยทำให้ได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นในเด็กจะทำให้ความอยากอาหารลดลง เบื่ออาหาร ฟันผุ การกินอาหารรสเค็มจัดที่ได้จากเกลือแกงมากกว่า 1 ช้อนชาต่อวัน จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและหลีกเลี่ยงการเติมเครื่องปรุงรส ไม่กินโซเดียมมาก โซเดียมมีมากในเกลือนอกจากนี้ยังพบในอาหารธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ นม สารบางชนิดที่ใช้ในการปรุงอาหาร เช่น ผงชูรส ผงฟู ผู้ที่กินโซเดียมมากๆ มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงได้มากกว่าผู้ที่กินโซเดียมน้อย.
แชร์ข่าวนี้