- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพุบอน
- สังกัด อปท. จังหวัด กาญจนบุรี
- ผู้จัดทำ นางสาวลั่นทม. พรหมณ์ดี วันที่สร้าง 3 กุมภาพันธ์ 2562, 12:27 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษามีการจัดทำหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
นิทานสำหรับเด็กนั้นมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อสั่งสอนเด็กโดยผ่านการดำเนินเรื่องที่สนุกสนานซึ่งในการเล่านิทานให้เด็กฟังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเล่าด้วยน้ำเสียงที่มีความหลากหลาย เพราะในขณะที่เล่านิทานความรู้สึกในน้ำเสียงของพ่อแม่จะถูกถ่ายทอดไปสู่ตัวของเด็กด้วย หากเล่านิทานด้วยความรู้สึกตื่นเต้น เด็กก็จะรู้สึกตื่นเต้นตาม เราเรียกความรู้สึกนี้ว่า “ความรู้สึกร่วมกันระหว่างครอบครัว” จึงเปรียบเสมือนเป็นสายใยผูกพันระหว่างพ่อแม่และลูก แม้การเล่านิทานเพียง 15-20 นาทีต่อเล่ม จะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ แต่กลับได้ผลลัพธ์ที่ดีต่อลูกน้อยอย่างมากมาย (กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2550) กล่าวคือ ในขณะที่เด็กฟังนิทานก็จะได้รับการ การพูพัฒนาทักษะด้านการฟัง การพูด พร้อมทั้งสร้างจินตนาการ และฝึกสมาธิให้เด็กรู้จักจดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ถือเป็นพื้นฐานในการเตรียมความพร้อมด้านการอ่านหนังสือ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กได้เป็นอย่างดี เด็กวัยนี้จะอยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับธรรมชาติ เริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างความจริงกับเรื่องสมมติ เข้าใจในรูปแบบการอ่าน โดยอ่านจากซ้ายไปขวาและจากบนลงล่าง สามารถตอบคำถามจากนิทานได้ ดังนั้นนิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ควรเป็นนิทานที่เป็นเรื่องที่ยาวขึ้น แต่เข้าใจง่าย ภาพประกอบมีสีสดใส มีตัวอักษรบรรยายเนื้อเรื่องไม่มากเกินไป มีขนาดใหญ่พอสมควร เพราะเด็กในวัยนี้สามารถเชื่อมโยงสัญลักษณ์ตัวพยัญชนะ กับเสียงสระได้แล้ว และหนังสือที่เป็นคำคล้องจองก็จะช่วยพัฒนาทักษะด้านภาษาของเด็กในวัยนี้เพิ่มยิ่งขึ้น (รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์ 2556, 111-112) ดังนั้น หลักสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็ก สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการมีปฏิสัมพันธ์สื่อสารร่วมกันกับเด็กตามพัฒนาการของแต่ละช่วงวัย (รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์ 2556, 112)หรือผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษา เช่น การอ่านนิทาน การพูด การฟัง ก็จะเป็นการช่วยเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา การเรียน อารมณ์ และสังคมของเด็ก ช่วยให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีประสิทธิภาพต่อไป
แชร์ข่าวนี้