- สร้างโดย ศพด ห้วยต้ม
- สังกัด อปท. จังหวัด ลำพูน
- ผู้จัดทำ นางสาวกัลยรัตน์ วงศ์ฤดีเจริญกุล วันที่สร้าง 13 ธันวาคม 2559, 10:38 น.
- ประเภทตัวชี้วัด ผู้ปกครองและชุมชนให้การยอมรับ สถานศึกษาและมีส่วนร่วมสนับสนุนในการพัฒนาการศึกษา
มีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นหน้าที่ของ บิดา มารดา ผู้ปกครอง หลักการสำคัญประการหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ก็คือ การให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2544 ช : คำนำ) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2545 ข : 6-33) ได้บัญญัติสาระที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ในการจัดและพัฒนาการศึกษาไว้หลายมาตรา ดังต่อไปนี้ การจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษา มาตรา 9(6) บัญญัติว่า ให้ยึดหลักการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น การมีส่วนร่วม” คือลักษณะของการศึกษาการมีส่วนร่วมส่วนใหญ่ไม่พิจารณาการมีส่วนร่วมในเชิงทฤษฎี แต่เป็นการศึกษารายละเอียดพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในลักษณะประยุกต์กับบริบทของการมีส่วนร่วมนั้นๆ ซึ่งกระบวนการความร่วมมือต้องมีความรู้สึกว่าได้ร่วมในการตัดสินใจ ได้ร่วมในการดำเนินงาน ได้ร่วมในการติดตามประเมินผล หรือ ได้ร่วมรับประโยชน์ การร่วมคิด การร่วมวางแผน การร่วมดำเนินงาน/ปฏิบัติ การร่วมมือกันพบปัญหาหรือเผชิญอุปสรรค พร้อมทั้งแก้ไขให้ลุล่วง การร่วมมือกันพบความสำเร็จ และ การร่วมกันชื่นชมยินดีภาคภูมิใจในความสำเร็จในงานนั้น การมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ กิจกรรม หรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามารถแบ่งได้ดังนี้ 1. การอบรมเลี้ยงดูในฐานะผู้ปกครอง คือความรับผิดชอบพื้นฐานของครอบครัว ได้แก่การจัดเตรียมที่อยู่อาศัย สุขภาพ โภชนาการเครื่องนุ่งห่ม ความปลอดภัย ทักษะของผู้ปกครอง ต่อเด็กทุกระดับอายุ สภาพบ้านที่สนับสนุนเด็กในฐานะนักเรียนทุกระดับชั้น ข้อมูลข่าวสารและ กิจกรรมเพื่อช่วยโรงเรียนให้เข้าใจเด็กและครอบครัว 2. การติดต่อสื่อสาร คือ ความรับผิดชอบพื้นฐานของโรงเรียน ได้แก่ การสื่อสารจาก โรงเรียนสู่บ้าน และการสื่อสารจากบ้านสู่โรงเรียน 3. การอาสาสมัคร คือการมีส่วนร่วมที่โรงเรียนและเพื่อโรงเรียน ได้แก่ (1) การอาสาสมัครในโรงเรียนหรือชั้นเรียน เช่น ช่วยผู้บริหารโรงเรียนครูนักเรียนหรือผู้ปกครองในด้านต่าง ๆ (2) การอาสาสมัครเพื่อโรงเรียน เช่น ช่วยโครงการของโรงเรียนและความก้าวหน้าของเด็กในทุกที่ทุกเวลา (3) การเป็นผู้ร่วมในทุกการแสดง กีฬา เหตุการณ์ การมอบรางวัล การเฉลิมฉลองและอื่น ๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้น 4. การเรียนรู้ที่บ้านคือการจัดสภาพแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมหรือส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก 5. การตัดสินใจ คือการมีส่วนร่วมหรือการเป็นผู้นำในองค์การต่าง ๆ เช่น สมาคมผู้ปกครองและครู องค์การผู้ปกครองและครู โดยการเป็นสมาชิก ผู้มีส่วนร่วม ผู้นำหรือตัวแทน เป็นต้น 6. การร่วมมือกับชุมชน คือการเชื่อมโยงชุมชนให้มาช่วยเหลือโรงเรียน นักเรียน และ ครอบครัว หรือ การเชื่อมโยงโรงเรียนให้ไปช่วยชุมชน แนวทางสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน โรงเรียน ไม่อาจดาเนินการได้โดยปราศจากพ่อแม่ผู้ปกครอง โรงเรียนก็ย่อมไม่สามารละเลยพ่อแม่ผู้ปกครอง ได้เช่นกัน เช่นกิจกรรมพ่อแม่อาสา หน่วยงาน องค์กรปกครองท้องถิ่น องค์กรเอกชนและชุมชน มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้ ๑) นำเสนอและร่วมวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับชุมชน สภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นชุมชน แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาและวิทยากรในท้องถิ่น นโยบายและทิศทางพัฒนาชุมชน การสนับสนุนงบประมาณทรัพยากรจากชุมชน การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและการศึกษาต่อ ๒) ร่วมจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี ๓) ให้การสนับสนุนการใช้งบประมาณและทรัพยากร เพื่อใช้ตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา เช่น การมอบทุนการศึกษา การทำสนามเด็กเล่นแะมอบอุปกรณ์เครื่องเล่นสนาม บริษัท AIA มอบเครื่องกรองน้ำดื่มให้กับโรงเรียน ๔) ร่วมกิจกรรม/โครงการที่เกี่ยวข้องตามแผนปฏิบัติการประจำปี เช่นมอบขนมและอุปกรณ์การเรียนให้เนื่องในวันเด็ก ๕) ร่วมนำเสนอและสะท้อนผลจากการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาสู่กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในปีต่อไป สถาบันศาสนาเป็นแหล่งที่ไกล้ชิดกับตัวเด็ก มีส่วนร่วมในการจัดการึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในการเป็นแหล่งเรียนรู้ และสถานที่จัดกิจกรรมทางวันสำคัญทางศาสนาและปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม. เช่นการจัดกิจกรรม/โครงการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เช่นโครงการพาน้องเข้าวัดในวันสำคัญทางศาสนา เช่นกิจกรรมถวายเทียนพรรษาเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา(วันเข้าพรรษา). กิจกรรมถวายสังฆทานและฟังธรรม (วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา ) เป็นกิจกรรมที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและวัดที่อยู่ในบริเวณของชุมชน สถาบันศาสนาพึงมีบทบาทได้ในด้านการศึกษาอบรมวิชาศาสนา ศีลธรรมโดยเฉพาะและอาจจะมีบทบาทในการสอนวิชาสามัญต่าง ๆ ตามความพร้อมของศาสนบุคคลการจัดการศึกษาอบรมที่ระบุข้างต้น อาจจะจัดได้ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย รัฐจะต้องช่วยเหลือใน 2 ด้าน คือ 1) ช่วยเหลือในด้านเตรียมความพร้อมของบุคลากร ซึ่งอาจจะเป็นศาสนบุคคล หรือบุคคลที่สถาบันศาสนาจ้างมาร่วมงาน 2) ช่วยเหลือในด้านการเงินหากมีความจำเป็น สถาบันศาสนาช่วยรัฐได้อย่างไร มีศาสนบุคคลจำนวนมากที่มีความเสียสละช่วยการศึกษาได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญที่สุดก็คือวางนโยบายร่วมให้ทุกสถาบันศาสนามีทัศนคติและเป้าหมายในการจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายของรัฐธรรมนูญคือ "ส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกของทุกศาสนา การมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน จึงเป็นกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาร่วมกับโรงเรียน เป็นกระบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกันของทุกฝ่าย นับตั้งแต่การแสดงความคิดเห็น การวางแผน การดำเนินการและการแก้ไขปัญหา ตลอดจนการควบคุม กำกับ ติดตามและประเมินผล เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งทางตรง คือ ร่วมเป็นคณะทำงานและทางอ้อมร่วมวางแนวทาง นโยบาย การจัดการศึกษาให้เกิดผลดี มีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะผู้ปกครอง ต้องอาศัยกระบวนการนำกระบวนการมีส่วนร่วมมาใช้ ซึ่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กล่าวถึงการมีส่วนร่วมไว้ในมาตรา 8 (2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 58 ได้บัญญัติเรื่องการมีส่วนร่วมไว้ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการปฏิบัติราชการทางปกครองอันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาทุกระดับจึงต้องปฏิบัติตามโดยการเปิดโอกาสให้ประชาชน ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชน และชุมชนในการจัดการศึกษา นับเป็นกระบวนการที่สำคัญ ที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาให้ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดเล็ก หากชุมชนมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากรการศึกษา รวมถึงการเชิญผู้ปกครองที่มีความรู้และมีเวลาว่างมาเป็นครูพ่อครูแม่ให้ความรู้ด้านวิชาการ ด้านภูมิปัญญากับบุตรหลาน ย่อมเกิดผลดีทั้งต่อโรงเรียนที่ได้บุคลากรเพิ่ม ส่วนผู้ปกครองย่อมภาคภูมิใจที่ได้สอนบุตรหลานในโรงเรียน รวมถึงนักเรียนที่จะมีความเคารพและนับถือในตัวผู้ปกครองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุนชน การมีส่วนร่วมของฝ่ายต่างๆบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นหน้าที่ของ บิดา มารดา ผู้ปกครอง เป็นการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน วัตถุประสงค์ในการร่วมมือการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์กับผู้เรียนและการพัฒนาประเทศชาติต่อไป ที่มา. : ธีระ รุญเจริญ. (2545). สภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย กิจกรรมที่ผู้ปกครองและชุมชนและองค์การต่างๆมีส่วนร่วม 1.กิจกรรมปลูกผักสวนครัว 2.กิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ ไข่จมไข่ลอย 3.กิจกรรมทำโครงงาน ที่ผู้ปกครองเจ้ามามีส่วนร่วมในการตัดกิจรรม 4.กิจกรรมปลูกป่ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล 5.กิจกรรมมอบเกียรติบัตรแก่เด็กโดยผู้นำชุมชน สมาชิกกลุ่ม 1.นางสาว วรณัน. สมพงษ์อุทัย. 112
แชร์ข่าวนี้