- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสุรศักดิ์
- สังกัด อปท. จังหวัด กรุงเทพมหานคร
- ผู้จัดทำ น.ส.รวิวรรณ เรืองครุฑ 571761321081 วันที่สร้าง 27 กรกฎาคม 2559, 16:00 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษามีความร่วมมือระหว่างบ้าน,ศาสนา,การศึกษา,ภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในชุมชน
โครงการสายใยรักศิษย์ ลูก (กิจกรรมแห่เทียนจำนำพรรษา) เป็นกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการเหมาะสมกับวัยทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา นั้นต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ให้กับเด็ก เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจ โดยการบูรณาการกิจกรรมที่จัดขึ้นให้สอดคล้องกับการดำรงชีวิตของเด็ก เพราะเด็กสามารถนำทักษะชีวิตไปประยุกต์ใช้กับกิจวัตรประจำวันได้ การส่งเสริมให้เด็กมีทักษะชีวิตด้านสังคม เพื่อให้เด็กมีพฤติกรรมสังคมทางบวก มีการแสดงความเคารพ เช่น การไหว้ การกราบ ที่ถูกต้อง และมีทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่ดี การที่เด็กจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ต้องได้รับการส่งเสริมทักษะทางด้านสังคม เพราะเด็กแต่ละคนมีพื้นฐานทางครอบครัวที่แตกต่างกันทำให้ทักษะทางสังคมต่างกัน กิจกรรมที่จัดให้เด็กเพื่อพัฒนาทักษะสังคม ควรเป็นกิจกรรมที่เน้นเรื่องการมีส่วนร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกให้เด็กรู้จักการแบ่งปัน มีการร่วมมือกันทำงานและช่วยเหลือกัน ยอมรับข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน รูปแบบของกิจกรรมที่จัดควรได้รับความร่วมมือจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง และเป็นกิจกรรมที่หลากหลายเป็นการกระตุ้นให้เด็กสนใจในการทำกิจกรรม กิจกรรมที่จัดขึ้นนอกจากจะได้รับความร่วมมือจากพ่อแม่ ผู้ปกครองแล้ว ชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชนเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ เช่น บุคลากร เงินทุน ในการทำกิจกรรมต่างๆของโครงการให้สำเร็จลุล่วง ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๒๔ คือ การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ (๖) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ ดังนั้นทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสุรศักดิ์ จึงจัดทำโครงการสายใยรักศิษย์ - ลูก เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะชีวิต ในการดำรงชีวิต และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ในสังคมได้อย่างมีความสุขผ่านกิจกรรมที่จัดขึ้นตามโครงการสายใยรักศิษย์ - ลูก เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษา บ้าน วัด ชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนจาก องค์การบริหารส่วนตำบลวัดละมุด ชมรมผู้ใหญ่บ้านกำนัน และบริษัทวงค์บัณฑิต ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมในครั้งนี้ โดยมีวัตุประสงค์เพื่อให้เด็กสามารถแสดงเคารพ เช่น การไหว้ การกราบ ได้ถูกต้อง มีพฤติกรรมสังคมทางบวก (ทักษะชีวิต ด้านสังคม) เพื่อให้เด็กทำงานเป็นกลุ่ม การช่วยเหลือแบ่งปัน และอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างมีความสุข (ทักษะทางสังคม) เพื่อสร้างความสามัคคีและสานสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน บ้าน ชุมชนและภาคเอกชน เด็กได้ปฏิบัติตนตามแบบอย่างที่ดีจากผู้ปกครอง และคนในชุมชนในเรื่องการร่วมมือร่วมใจ ความสามัคคี และการเสียสละ(การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษา บ้านและชุมชน) เป้าหมายเชิงปริมาณ เด็ก ครู ผู้ปกครอง ประชาชน พระสงฆ์ วัด หน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 50 คน เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 เป้าหมายเชิงคุณภาพ 1.เด็กแสดงการไหว้และการกราบได้ถูกต้อง 2.เด็กทำงานเป็นกลุ่ม มีการช่วยเหลือแบ่งปัน 3.เด็กได้ปฏิบัติตนตามแบบอย่างที่ดีจากผู้ปกครอง คนในชุมชนในเรื่องการร่วมมือร่วมใจ ความสามัคคี และการเสียสละ ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.เด็กแสดงการไหว้และการกราบได้ถูกต้อง 2.เด็กทำงานเป็นกลุ่ม ช่วยเหลือแบ่งปันได้ 3.เด็กปฏิบัติตนตามแบบอย่างที่ดีจากผู้ปกครอง คนในชุมชนในเรื่องการร่วมมือร่วมใจ ความสามัคคี และการเสียสละ กิจกรรมที่ได้ทำร่วมกัน 1.การตกแต่งต้นเทียน 2.การระบายสีตนเทียน 3.การทำบุญใส่บาตรร่วมกัน 4.การร่วมแห่เทียนจำนำพรรษา จากแบบสัมภาษณ์เด็ก ผลที่ได้รับจากการแบบสัมภาษณ์เด็กจากกิจกรรมในครั้งนี้ สรุปได้ว่า จากการสัมภาษณ์เด็ก จำนวน 30 คน อันดับที่ 1 หนูจะช่วยเพื่อนร้อยดอกไม้ตกแต่งต้นเทียน ร้อยละ 56.67% อันดับที่ 2 ต้องการให้พ่อแม่มาร่วมกิจกรรม ร้อยละ 50% หนูจะไหว้พระเหมือนที่ครูสอน ร้อยละ 50% อันดับที่ 3 หนูจะเอาดอกไม้ไปให้เพื่อน ร้อยละ 43.33% หนูจะบอกเพื่อนให้ไหว้พระ ร้อยละ 43.33% อันดับที่ 4 ชอบกิจกรรมแห่เทียนมากที่สุด ร้อยละ 40% จากแบบสังเกตจากเด็ก สังเกตจากเด็ก 30 คน อันดับที่ 1 เมื่อเจอพระเด็กสามารถไหว้พระได้ถูกต้อง ร้อยละ 86.66% ขณะตกแต่งต้นเทียนเด็กแบ่งปันดอกไม้ให้กับเพื่อน ร้อยละ 86.66% อันดับที่ 2 เมื่อทำกิจกรรมในวัดเด็กสามารถกราบพระได้ถูกต้อง ร้อยละ 83.33% เด็กสามารถช่วยกันตกแต่งต้นเทียนได้สำเร็จ ร้อยละ 83.33% อันดับที่ 3 ขณะทำกิจกรรมในวัดเด็กมีมารยาทโดยไม่ส่งเสียงดัง ร้อยละ 80% อันดับที่ 4 เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองในการร้อยดอกไม้ ร้อยละ 76.67% กิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้สามารถสร้างความร่วมกันระหว่างผู้ปกครองครูและเด็กรวมถึงคนในชุมชน ตัวกิจกรรมยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาแก่เด็ก ตลอดจนการสร้างและปลูกฝังให้เด็กมีทักษะชีวิตและทักษะทางสังคม เด็กช่วยเหลือตนเองได้มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น เห็นอกเห็นใจผู้อื่น และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้จากประสบการณ์ที่เด็กได้รับ ก่อให้เกิดเป็นภูมิคุ้มกันให้กับเด็กในการใช้ชีวิตในอนาคตอีกด้วย
แชร์ข่าวนี้