- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกบัวค้อ
- สังกัด อปท. จังหวัด มหาสารคาม
- ผู้จัดทำ นางสาวณิชกมล นนตะสี วันที่สร้าง 24 กรกฎาคม 2559, 13:01 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษาสามารถจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
เมื่อสังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลง กระบวนทัศน์ในการพัฒนาเด็กในมิติของสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมแบบเดิม และการพัฒนาทักษะชีวิตอาจต้องถูกทับซ้อนด้วยแนวคิด รูปแบบวิธีการ ความเชื่อ และเทคโนโลยีที่ผุดเกิดขึ้นใหม่ๆตามยุคสมัย เด็กและครอบครัวจำเป็นต้องข้ามผ่านวันเวลาที่ผันเปลี่ยน และยืนหยัดอยู่ให้ได้ในสังคมสมัยใหม่ บ่มฟักคุณลักษณะที่พึงมีอย่างเหมาะสม ให้กับทรัพยากรมนุษย์ของวันนี้และอนาคตข้างหน้า ให้สมบูรณ์แบบอย่างเต็มกำลัง เมื่อห้วงเวลาของศตวรรษที่ 21 คืบคลานเข้ามานับกว่าทศวรรษแล้ว สังคมโลกเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง การปรับตัว และการบริหารจัดการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น สำหรับผู้ใหญ่ โดยทั่วไปได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านของบริบททางสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้นเช่นเดียวกับเด็ก ที่เป็นทั้งผลพวงและเป็นโจทย์สำคัญของสังคมว่า จะพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กในยุคปัจจุบันไปในทิศทางอย่างไร ตั้งแต่วัยเริ่มต้น ให้มีพื้นฐานที่ดีมั่นคง สามารถเติบโตและอยู่รอดและพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพในอนาคตพร้อมกับอยู่ร่วมกันในสังคมได้ เด็กปฐมวัยในยุคปัจจุบันยุคของศตวรรษที่ 21 (ค.ศ.2001-ปัจจุบัน) อาจถูกวาดออกมาให้ดูน่าสะพรึงกลัว และหลุดแยกออกไปจากศตวรรษที่ 20 เป็นอย่างมาก ฉะนั้นการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย จึงต้องเป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและครอบครัวของเด็กโดยการพัฒนาทักษะชีวิตและพัฒนาทักษะทางสังคมต้องเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบูรณาการงานหรือกิจกรรมต่างๆ ซึ่งทำให้สามารถเชื่อมโยงกันได้ มีการส่งข้อมูลข่าวสารรวมถึงวิทยาการสมัยใหม่ ซึ่งนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่การเมือง การศึกษา สังคม วัฒนธรรม ในยุคปัจจุบันเป็นไปแบบก้าวกระโดด ทำให้การเริ่มต้นเด็กปฐมวัยยุคปัจจุบันกลายเป็นฐานทรัพยากรหลักของโลก เพราะพวกเขามีความรู้และสามารถเรียนรู้ได้ สามารถใช้ทักษะชีวิต อยู่ร่วมกับสังคม ร่วมกับเทคโนโลยีได้ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ รวมไปถึงมีความคิดสร้างสรรค์ และทักษะอื่นๆบนพื้นฐานของจริยธรรมที่ดี ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เด็กปฐมวัยได้สร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและครอบครัวและสังคมอยู่รอดอีกด้วย การพัฒนาเด็กปฐมวัย อายุ 5ปีแรกของชีวิตนั้น เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครอง ครูหรือผู้ดูแลเด็กมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานร่วมกับผู้ปกครอง ให้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็ก และกระตุ้นให้มีการร่วมมือร่วมใจกันในการสนับสนุนและพัฒนาเด็กของชุมชนไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งจุดมุ่หมายของการศึกษาในวัยนี้ ระบุไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 ว่า "เป็นการพัฒนาเด็กบนพื้นฐาน การอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก ภายใต้บริบทสังคม วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทรและความเข้าใจของทุกคน ซึ่งจะเป็นการทำงานในลักษณะของการร่วมมือกันรับผิดชอบ หรือถือเป็นหุ้นส่วนที่จะต้องช่วยพัฒนาเด็กให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการร่วมกัน
แชร์ข่าวนี้