- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่
- สังกัด อปท. จังหวัด มหาสารคาม
- ผู้จัดทำ นางสาวภัทราลักษณ์ นามวัน วันที่สร้าง 21 กรกฎาคม 2559, 13:06 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษามีทรัพยากรและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทความทำไมจึงต้องร่วมกันคิด ร่วมกันพัฒนาเด็ก กิจกรรม "เล่นแบบไทย สุขใจกับธรรมชาติ" ผู้เขียน นางสาวภัทราลักษณ์ นามวัน การเล่นกับเด็กเป็นสิ่งที่คู่กัน มีผู้ให้คำจำกัดความของการเล่นว่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เป็นสัญชาติญาณของมนุษย์ เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจ อีกทั้งเป็นกิจกรรมที่ให้ความสนุกสนานแก่เด็ก และยังทำให้เด็กได้เรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์และความรู้ให้แก่เด็ก โดยประสบการณ์ที่เด็กได้จากการเล่นจะนำไปสู่การรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และช่วยให้เด็กสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมและผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ดังนั้นการเล่นจึงเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการพัฒนาความสามารถด้านต่าง ๆ ของเด็ก เพื่อให้เด็กสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมเมื่อเด็กเติบโตขึ้น “การเล่น” ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับเด็ก ไม่ว่าเด็กในช่วงวัยใดต่างก็ต้องการการเล่น การเล่นสำหรับเด็กนั้นมีความหมายสำคัญเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะคาดถึง เพราะมันคือหัวใจ ที่ช่วยให้สมองของเด็กเติบโต แต่ต้องเป็นการเล่นที่เหมาะสมกับพัฒนาการ ความเพลิดเพลิน ที่เด็กได้รับจากการเล่น เป็นการเปิดประตูการเรียนรู้ต่างๆ ทุกครั้งที่ ได้ยิน ได้เห็น จับต้อง ลิ้มรส หรือได้กลิ่น จะมีการส่งสัญญาณไปยังสมอง ยิ่งการเล่นมีความหลากหลายมากเท่าใด การเชื่อมโยงของเซลล์สมองก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น เมื่อมีการเชื่อมโยงมาก สติปัญญาของเด็กในด้านต่างๆ ก็จะพัฒนาตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ความคิดรวบยอด การแก้ปัญหา รู้จักลองผิดลองถูก “อย่ามองการเล่นของเด็กว่า เล่นอะไร เพราะคำตอบคือเล่นของเล่น แต่ถ้าคิดต่อว่า เล่นอย่างไร ก็จะเห็นสิ่งที่นำมาเล่น ซึ่งอาจไม่ใช่ของเล่นทั่วไป ...ของใช้ ...ท่อนไม้...ใบไม้...ก้อนหิน...กะลา สารพัดสิ่งของที่นำมาเล่นต้องผ่าน กระบวนการคิด ว่าจะเล่นอย่างไร ถ้าเล่นหลายคนก็ช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ปัญหา” (ชีวิน วิสาสะ. 2546. หน้า 58) เล่นแล้วเกิดคุณค่า ในแง่ของพัฒนาการ ได้รับการพัฒนาทางด้านกล้ามเนื้อ ร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และสติปัญญา ได้พัฒนาความคิด สิ่งสำคัญคือ เกิดความภาคภูมิใจ ในตนเอง ความเชื่อมั่นในตนเอง เป็นการเล่นที่ต่อยอดทางความคิดไปเรื่อยๆ เหนือสิ่งอื่นใดคือความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว และชุมชน การที่ผู้ใหญ่ได้เล่นกับเด็ก นอกจากจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กแล้ว ยังเป็นการสร้างความรัก ความผูกพัน ระหว่างกันด้วย ดร.วรนาท รักสกุลไทย บอกว่า การให้เด็กได้ลงมือเล่นเองจะทำให้เด็กเกิดความคิดออกแบบ เมื่อทำสำเร็จเด็กจะเกิดความภาคภูมิใจ ของเล่นก็ควรเป็นของเล่นที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เป็นของเล่นปลายเปิดที่ไม่มีคำตอบถูกผิด ทำให้เด็กได้ลองผิดลองถูกซึ่งเด็กจะเกิดการเรียนรู้ และมีความสุขผู้ใหญ่เคารพการตัดสินใจของเขา “ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ” มีเสน่ห์อยู่ตรงที่ทำด้วยมือ ทำด้วยความรัก ด้วยจิตใจ จึงเป็นของที่มีคุณค่า และสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของท้องถิ่นนั้นๆ ของเล่นพวกนี้มีความอ่อนโยนสามารถเชื่อมโยงเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องสังคม ส่งเสริมให้เด็กมีสายใยร่วมกัน ในขณะที่เด็กเล่นเป็นกลุ่ม ผู้ใหญ่สามารถสอดแทรกเรื่องความเมตตา ความมีน้ำใจ คุณธรรมจริยธรรม ซึ่งถ้าจะกล่าวไปแล้วมีมากมายนับไม่ถ้วน อาทิ เช่น ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ มีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายและอุดมสมบูรณ์ มีการส่งเสริมวัฒนธรรมไทย มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดยมีการพาเด็กนักเรียนออกสำรวจธรรมชาติรอบๆศูนย์เด็ก จึงทำให้เกิดการจัดกิจกรรม เล่นแบบไทยสุขใจกับธรรมชาติ ขึ้น ทั้งนี้มีการสร้างความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาบ้านและชุมชนชน ในการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน ทางคุณครูจึงให้เด็กนักเรียนบอกว่าอยากเล่นอะไร น้องมีนจึงพูดขึ้นมาว่า " ม้าก้านกล้วย" จึงทำให้เพื่อนๆในห้องอยากเล่นทั้งหมด จึงได้ประสานขอความร่วมมือจากชุมชน ในการมาเป็นวิทยากร มาให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน วิทยากรท่านเป็นปราชญ์ชาวบ้าน คือ คุณตาอ่อนสา มูลตรีภักดี การเล่นม้าก้านกล้วยโดยเด็กจะใช้ก้านกล้วยมาทำเป็นหัวหูและห่าง แล้วสมมติตัวเองว่าชเป็นคนขี่ม้าพาวิ่ง ซึ่งการเล่นม้าก้านกล้วยทำให้เด็กสนุนสนานมีจินตนาการ และกล้าแสดงออก และยังเป็นการรักษาประเพณีพื้นบ้านของไทย เล่นอะไรได้บ้างในธรรมชาติที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลแดงใหญ่ อาทิ เล่นกับทรายการตักทราย ก่อทราย เป็นการช่วยส่งเสริมจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์เรียน้เรื่องปริมาณปริมาตร การประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมือกับตา เล่นกับใบไม้ดอกไม้ เด็กได้สัมผัสกับธรรมชาติโดยตรง ดมกลิ่น ลิ้มรสชาด เด็กได้เรียนรู้รูปร่าง และลวดลายของใบไม้ดอกไม้และสีของดอกไม้ที่แตกต่างกัน นากจากนี้ใบไม้เป่าทำให้เกิดเสียงอีกด้วย บริเวณสนามหญ้ายังสามารถพาเด็กนักเรียนเล่นมอญซ่อนผ้าและรีรีข้าวสารได้อีกด้วย ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน จิตใจร่าเริง แจ่มใสและยังเป็นการออกกำลังกาย เด็กได้ฝึกไหวพริบ ปฏิภาณ. การเอาตัวรอด การทำงานเป็นกลุ่ม เด็กเกิดมาพร้อมศักยภาพในการเรียนรู้ การส่งเสริมพัฒนาการและทักษะด้านต่างๆเพื่อเปิดโอกาสให้เขาได้เรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาตัวตนของเขาในอนาคต ควรส่งเสริมให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระตามธรรมชาติเพื่อให้เติบโตแข็งแรง มีพัฒนาการที่ดี อารมณ์ดีพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากการจัดกิจกรรม เล่นแบบไทยสุขใจกับธรรมชาติ สะท้อนให้เห็นดังนี้ ทักษะชีวิต เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงจากการออกสำรวจธรรมชาติ เด็กได้เรียนรู้การนำวัสดุธรรมชาติมาทำเป็นของเล่น เรียนรู้การเล่น การคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการการสื่อสารการสัมผัสธรรมชาติ การกล้าแสดงออกในทางที่ดี ทักษะทางสังคม เด็กปรับตัวเข้ากับสิ่งต่างๆได้เร็ว การทำงานเป็นกลุ่ม การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การเอาตัวรอด การปฏิบัติตามกฎกติกา ข้อตกลง มารยาทการอยู่ร่วมกัน การสร้างสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษาบ้านและชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการเรียนรู้ ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน มีการประสานความร่วมมือไปยังชุมชน ในการเป็นวิทยากรให้ความรู้ คือ คุณตาอ่อนสา มูลตรีภักดี ท่านเป็นปราชญ์ชาวบ้านเพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถานศึกษาบ้านและชุมชน อ้างอิงการเล่น.http://www.gotoknow.org/posts/466794(10กรกฎาคม2559) เล่นสนุกได้ประโยชน์กับธรรมชาติ.http://www.dgsmartmom.com/th/smart-mom-secret/goat-mail-knowledge/454(10กรกฎาคม2559)สร้างพัฒนาการลูกด้วยการเล่นและเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ.http://th.theasianparent.com(10กรกฎาคม2559)
แชร์ข่าวนี้