- สร้างโดย บ้านสิงห์โคก
- สังกัด อปท. จังหวัด มหาสารคาม
- ผู้จัดทำ นางขวัญจิตร. แสนสีจันทร์ วันที่สร้าง 26 มีนาคม 2559, 12:16 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย
ประวัติความเป็นมา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสิงห์โคก หมู่ที่ ๑ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ ๒๕๔๖ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสิงห์โคกตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ บ้านสิงห์โคก ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด รหัสไปรษณีย์ ๔๕๑๕๐ โทรศัพท์ ๐๔๓-๖๗๐-๐๐๐ มีเนื่อที่ประมาณ ๒๒๘.๖๒ ตารางเมตร. อยู่ในชุมชนขนาดกลาง มีประชากรจำนวน ๑,๐๘๕ คน มีบ้านเรือนจำนวน ๓๔๕ ครัวเรือน ข้อมูลนักเรียน ในปีการศึการศึกษา ๒๕๕๗ มีจำนวนนักเรียนเข้ารับบริการ จำนวน ๔๕ คน เปิดสอนระดับปฐมวัยตั้งแต่อายุ ๒-๕ ปี มีเขตพื้นที่บริการ ๒ หมู่บ้าน ได้แก่ ๑. บ้านสิงห์โคก หมู่ที่ ๑, ๑๐ ๒. บ้านเหล่างาม หมู่ที่ ๒ ข้อมูลครูผู้ดูแลเด็ก มีครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน ๓ คน ดังนี้ ๑. นางสาวมณี วรรณคำ. จบปริญญาตรี สาขาการศึกษาปฐมวัย ๒. นางสาววาสนา เวียงคำ. จบปริญญาตรี สาขาการศึกษาปฐมวัย ๓. นางขวัญจิตร. แสนสีจันทร์ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปัจจุบันกำลังศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ปรัชญาทางการศึกษาปฐมวัย การศึกษาปฐมวัย เป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่ ๒ ปี ถึง ๔ ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมขบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติ และพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามศักยภาพ. ภายใต้บริบทสังคมวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน ได้จัดกิจกรรมโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. โดยได้จัดกิจกรรมที่มีบ้านและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กโดยการอ่านหนังสือหรือเล่านิทานให้เด็กฟังและยังให้ผู้ปกครองสามารถยืมหนังสือกับบ้านเพื่อไปอ่านให้ลูกฟังที่บ้านได้อีกด้วย สิ่งที่เด็กจะได้รับจากกิจกรรมนี้. ให้ลูกวัยขวบปีแรกฟัง จะช่วยการกระตุ้นพัฒนาการถึง 3 ด้านของลูก พัฒนาการด้านภาษา - ลูกจะได้ฝึกการได้ยิน ได้รู้จักภาษาและเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ จากหนังสือ พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก - เด็กๆ จะได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กด้วยการใช้นิ้วมือ หยิบ จับ สัมผัส และขีดเขียน เป็นการทำงานประสานกันระหว่างสายตาและมือ (Eye-Hand coordination) ซึ่งกระตุ้นการทำงานของสมองโดยตรง เป็นการช่วยพัฒนาสติปัญญาให้กับเด็ก ดังนั้นขณะที่อ่านหนังสือให้ลูกฟัง ควรจับมือลูกชี้ไปตามรูปภาพ ตัวอักษร เพื่อเชื่อมโยงเสียงและภาพเข้าด้วยกัน ทำให้ลูกเรียนรู้และเข้าใจภาษาได้ดีขึ้น หรือการเลือกหนังสือที่ทำมาจากวัสดุที่หลากหลายให้ลูกได้ใช้มือหรือนิ้วมือสัมผัส ก็เป็นการช่วยกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสให้กับลูกได้โดยตรง พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม ขณะอ่านหนังสือหรือเล่านิทานให้ลูกฟัง การได้โอบกอดลูก ได้นั่งตัก การใกล้ชิด สัมผัสและเกิดการปฏิสัมพันธ์กัน จะทำให้พ่อแม่ลูกเกิดความผูกพันและไว้ใจกันและกัน ลูกก็จะมีอารมณ์ที่มั่นคง และยิ่งถ้าเล่านิทานอย่างสนุกสนาน เด็กๆ ก็จะยิ่งมีความสุข อารมณ์ดี การเรียนรู้และการจดจำก็จะพัฒนาดีตามไปด้วย อ่านหนังสืออย่างไร ลูกได้ประโยชน์มากสุด * ควรเปล่งเสียงพูดให้ชัดถ้อย ชัดคำ * เมื่อลูกอายุ 5 เดือนขึ้นไป ควรใช้ภาษาให้ถูกต้อง ลูกจะได้ฝึกฟังและฝึกพูด หากลูกพูดผิดก็ควรแก้ไขให้ถูกต้อง * น้ำเสียงเร้าใจ อ่านในจังหวะที่สนุกสนาน ใช้เรียกความสนใจลูก อาจทำเสียงประกอบเรื่องเพื่อเพิ่มความสนุก เช่น เสียงสัตว์ เสียงสมพัด ฯลฯ * ทำท่าทางประกอบการเล่าเรื่อง เพิ่มความสนุก และยังช่วยให้ลูกได้ขยับร่างกายตามไปด้วย * มีอุปกรณ์เสริม ช่วยเพิ่มความน่าสนใจ เช่น ตุ๊กตาหุ่นนิ้ว ตุ๊กตาผ้า หรือสิ่งของต่างๆ ที่ตรงกับเนื้อเรื่อง และช่วยให้ลูกได้สัมผัสพื้นผิววัสดุที่หลากหลายด้วย * เล่าประกอบดนตรี อาจเปิดเพลงในจังหวะช้าๆ คลอเบาๆ ไปด้วย ช่วยให้ลูกมีอารมณ์ดี * ได้ใกล้ชิด ผูกพัน การได้สบตา พูดคุย โอบกอดลูกตอนเล่านิทาน จะเป็นสื่อกลางของความรัก มีปฏิสัมพันธ์กันเกิดขึ้น เมื่ออารมณ์มั่นคง การเรียนรู้ก็จะพัฒนาดีตามไปด้วย
แชร์ข่าวนี้