- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกำพี้
- สังกัด อปท. จังหวัด มหาสารคาม
- ผู้จัดทำ นางสาวประมาศรี ทิพแสง รหัส 571461321215 ห้อง5 วันที่สร้าง 26 มีนาคม 2559, 10:50 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษาสามารถจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
การจัดกิจกรรมในห้องเรียนโดยการเล่านิทานเรื่องที่เด็กๆชอบและสอดแทรกภาษาที่2เพื่อส่งเสริมภาษาให้กับเด็กๆ วัตถุประสงค์ 1.เพื่อการส่งเสริมการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย 2.เพื่อเป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอน 3.เพื่อนำวัสดุท้องถิ่นมาผลิตสื่อตัวละครประกอบนิทาน 4.เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาให้แก่เด็ก นิทานอมตะเรื่อง หนูน้อยหมวกแดง ที่ ชาร์ล เปโรต์ ( Charles Perrault ) นักเล่านิทานชาวฝรั่งเศส รวบรวมไว้เมื่อปีพ.ศ. ๒๒๔๐ และต่อมา พี่น้องตระกูลกริมม์ ได้แต่งเติมเรื่องราวขึ้นใหม่ เล่าเผยแพร่สืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนานนับร้อยปี จึงมีบางส่วนบางตอนที่ผิดเพี้ยนไปจากความเดิมบ้าง เนื่องจากความเดิมนั้น อาจจะมิใช่เรื่องเล่าสำหรับเด็กโดยตรง แต่เป็นเรื่องเล่าเพื่อสั่งสอนตักเตือนหญิงสาวว่า จงอย่าได้ไว้วางใจคนแปลกหน้า เพราะอาจมีอันตรายได้ หนูน้อยหมวกแดง ได้ชื่อมาจากหมวกสีแดงที่เธอชอบใส่เสมอยามอยู่นอกบ้าน วันหนึ่งคุณแม่ให้หนูน้อยหมวกแดงนำผลไม้ กับน้ำองุ่นไปฝากคุณยายซึ่งไม่สบาย อยู่ในบ้านห่างไกลออกไป พร้อมกำชับว่า ให้หนูน้อยรีบไปรีบกลับอย่าแวะเถลไถลที่ไหน หนูน้อยรับคำแล้วออกเดินทางทันที ระหว่างทาง หนูน้อยหมวกแดงแวะเก็บดอกไม้สวยๆ แล้วเวลานั้น หมาป่าเจ้าเล่ห์ก็โผล่ออกมา ชักชวนให้หนูน้อยหลงเชื่อ เก็บดอกไม้สวยๆเพื่อนำไปฝากคุณยายที่กำลังนอนป่วย หนุน้อยหลงเชื่อคำหมาป่า จึงเก็บดอกไม้อย่างเพลิดเพลินจนลืมเวลา ส่วนหมาป่าเจ้าเล่ห์ สบโอกาสจึงรีบตรงไปยังบ้านของคุณยาย จัดการเขมือบคุณยายลงท้อง แล้วนอนรอเพื่อเตรียมตัวจัดการกินหนูน้อยหมวกแดงเสียอีกคน เมื่อหนูน้อยมาถึงบ้านของคุณยาย ก็เริ่มรู้ว่ามีบางสิ่งบางอย่างผิดปกติ แต่ก็ไม่ทันการณ์เสียแล้ว หมาป่าเจ้าเล่ห์กระโจนเข้าใส่หนูน้อยหมวกแดง และกลืนลงท้องทันที ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากการจัดกิจกรรมเล่านิทาน 1.เด็กมได้คิดจินตนาตามความคิดของเด็ก 2.เด็กมีความสนุกสนาน 3.เด็กๆมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดของตัวละครในนิทาน 4.เด็กๆได้เรียนรู้เกี่ยวภาษา
แชร์ข่าวนี้