• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับโครงการ
  • ติดต่อ
  • ลงทะเบียน
  • เข้าสู่ระบบ
  • หน้าแรก
  • ข่าวของฉัน
    • ข่าวของฉัน
    • ข้อมูลส่วนตัว
  • อ่านข่าว
    • ข่าวทั้งหมด
    • ข่าวแยกตามจังหวัด
    • ข่าวผลงานใต้ร่มพระบารมี
    • ข่าวผลงานที่ได้รับรางวัล
  • เขียนข่าว
  • คู่มือเขียนข่าว
สุ่มข่าว
  • *Play & Learn เพลินๆ กับประกันคุณภาพการศึกษา
  • *กิจกรรมมหกรรมทันตสุขภาพอำเภอเมืองปัตตานี
  • *คณิตวิทย์คิดส์สร้างสรรค์
  • *บรรยากาศน่าเรียนรู้ สู่พัฒนาการที่สมวัย
  • *คณิต วิทย์ คิดส์ สร้างสรรค์ (เสียงจากหลอด)
  • *ประเพณีประจำปีของตำบลหนองกะปุ
  • *เรื่อง กิจกรรมการเล่นปนเรียน Play&Learn
  • *คณิตวิทย์คิดส์สร้างสรรค์(เสียงจากหลอด)
  • *โครงการยกระดับสมรรถนะวิชาชีพครูปฐมวัยมุ่งสู่การพัฒนาความเป็นเลิศ Super Teacher สัปดาห์ “Healithy Yummy for Kids” ณ ศูนย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  1. เรื่อง : กิจกรรมประเพณีและวันสำคัญ 6กิจกรรมหลัก
  • สร้างโดย  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งส่อหงษา
  • สังกัด  อปท.    จังหวัด  ฉะเชิงเทรา
  • ผู้จัดทำ  นางปิ่น กะโก   วันที่สร้าง  12 มีนาคม 2559, 09:53 น.
  • ประเภทตัวชี้วัด  สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย

       ประเพณีเข้าพรรษา วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรให้แก่ปัญจวัคคีย์ โดยมีอัญญา-โกณฑัญญะ เป็นประมุข ณ ป่าอิสิปตมฤคทายวัน ในวันนี้จึงเป็นวันครบองค์ ๓ คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ วันเข้าพรรษา คือการที่พระสงฆ์อยู่ประจำที่ใดที่หนึ่งในช่วงฤดูฝน พระสงฆ์จะต้องหยุดการเดินทางไปที่ต่างๆ และพักอยู่ที่ใดที่หนึ่งโดยไม่ไปแรมคืนที่อื่นภายในกำหนด ๓ เดือนเรียกว่าเข้า วัสสา ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ เหนือไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนเกี๋ยง (เดือน 11ภาคกลาง)ชาวบ้านถือว่าเป็นวันสำคัญยิ่งวันหนึ่ง เพราะเป็นโอกาสที่จะได้ร่วมทำบุญเป็นพิเศษ เมื่อถึงวันนี้ ชาวพุทธทั้งหลายจะพากันไปใส่บาตร รับศีล ตอนกลางคืนมีการถวายเทียนเข้าพรรษา ก่อนจะถึงวันหรือเวลาถวายเทียน มักจะมีการแห่เทียนพรรษา ไปตามหมู่บ้านต่างๆ เป็นที่สนุกสนาน ในช่วงเข้าพรรษาชาวบ้านส่วนใหญ่จะไปทำบุญที่กันทุกวันพระ มีการฟังเทศน์ ฟังธรร มักจะมีทานขันข้าวหาคนตาย รวมทั้งการทานแด่พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วย คนเฒ่าคนแก่จะมีการไปนอนวัดจำศีล สำหรับคนทั่วไปบางคนก็ตั้งใจในการงดเว้นบาปและถือศีล เช่น รักษาอุโบสถศีลตลอดพรรษา งดเว้นดื่มสุรา งดเว้นเนื้อสัตว์ตลอดพรรษา เป็นต้น ทางราชการยังได้ถือเอาวัน เข้าพรรษาทุกปีเป็นวันต้นไม้แห่งชาติอีกด้วย ประเพณีออกพรรษา วันออกพรรษา หรือออกวัสสา คือวันสิ้นเทศกาลเข้าพรรษาระยะไตรมาส (๓ เดือน) ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนเกี๋ยงเหนือ (เดือน ๑๑ ภาคกลาง) ในวันนี้ทางสงฆ์จะจัดพิธีเรียกว่า"วันมหาปวารณา" คำว่า"ปวารณา"หมายถึงอนุญาตหรือยินยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนถึงข้อผิดพลาดที่ล่วงเกินระหว่างที่จำพรรษาอยู่ด้วยกัน โดยไม่ถือ โทษโกรธกัน หลังจากวันแรม ๑ ค่ำพระสงฆ์จะไปค้างคืนที่อื่นก็ได้ในวันออกพรรษาชาวบ้านจะจัดอาหารคาวหวานไปทำบุญที่วัด และจะมีการทำบุญตักบาตรเทโวโรหน คำว่า"เทโวโรหน" หมายถึง วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อครั้งพระองค์เสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ วันพระเจ้าเปิดโลก ประเพณีลอยกระทง (ยี่เป็ง) เป็นประเพณีที่มีขึ้นของทุกปี จะตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๒ เหนือหรือเดือนยี่ เดือนพฤศจิกายน ของภาคกลางการลอยกระทง เพื่อเป็นการขอขมาต่อแม่น้ำคงคา ที่เราได้นำน้ำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ตามความเชื่อกันมาแต่โบราณการณ์ก่อนวันลอยกระทง ประมาณ ๑ หรือ ๒ วัน ตามวัดวาอารามและบ้านเรือน จะมีการประดับประดาโคมไฟที่มีสีสรรค์สวยงาม ในตอนกลางคืนจะจุดโคมไฟ สว่างไสวตามประตูหน้าบ้านจะจัดทำชุ้มประตูป่าหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าประตูโขงเพื่อเป็นการระลึกถึงครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าทรงเสด็จ ออกจากป่าเข้ามาสู่ในเมืองในบางวัดจะจัดให้มีการเข้าเขาวงกตเป็นการจำลองมาจากเขาวงกตมีเส้นทางที่สลับซับซ้อนหากผู้ใดเข้าไปใน เขาแห่งนี้แล้วที่มีจิตใจไม่บริสุทธิ์อาจจะหาทางออกไม่ได้ อุปกรณ์ในการจัดทำชุ้มประตูป่าหรือโขง ต้นกล้วย/ต้นอ้อย/ต้นกุ๊ก/ก้านพร้อมใบมะพร้าว/ดอกดาวเรือง/โคมไฟกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัย กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัยมีดังนี้ 1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ 2. กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐุ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง 3. กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก 4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้ 5. กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก 6. กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน

  • ดูแบบเต็ม
แชร์ข่าวนี้
แชร์

ข่าวล่าสุด

  • กิจกรรมเสริมประสบการณ์
  • การประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒน...
  • การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของศ...
  • การสอน ทำหน้ากากผ้า
  • มาตรการเฝ้าระวังในเด็กปฐมวัยโ...

Tag

  • #เมนูข่าว
  • #ข่าวล่าสุด
  • #สถานศึกษาที่ส่งข่าวมากที่สุด
  • #จังหวัดที่ส่งข่าวเยอะสุด

ติดต่อ

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (สำนักงานประสานงานกลางโครงการความร่วมมือฯ รมป.)

เลขที่ 295 ถนนนครราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร. 022445982-83
แฟกซ์ 022445927
อีเมล์ dusitcenter@gmail.com

แผนที่

Copyright © 2018-present All rights reserved , powered by www.dusitcenter.org

Developed By Polpipat S.

ขอเครดิตฟรีหน่อยครับสมัครปุ๊บรับปั๊บไม่ต้องฝาก สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938 สล็อต สล็อตออนไลน์ thaicasinobin แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41 สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55 kubet ไทยคาสิโนออนไลน์ แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์ เว็บรวมข้อมูล พนันออนไลน์เว็บไหนดี ได้เงินจริง พร้อมฟรีเครดิต