- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคำอุดม
- สังกัด อปท. จังหวัด อุบลราชธานี
- ผู้จัดทำ นางสาวจันทร์เพ็ญ สร้อยมาลุน วันที่สร้าง 15 พฤศจิกายน 2558, 15:15 น.
- ประเภทตัวชี้วัด ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน
1. ชื่อกิจกรรม " ถังขยะ เพื่อนรัก " 2. ขั้นตอนการทำ 2.1เตรียมวัสดุที่จะมาทำถังขยะ ถังพลาสติกสีดำ 3 ใบ ฟิวเจอร์บอร์ด 3 สี แดง เขียว เหลือง มีดคัตเตอร์ เทปกาวใส หรือ กาว ไม้บรรทัด ดินสอ 2.2 วิธีการทำ นำถังพลาสติกสีดำทั้ง 3ใบ มาวัดขนาดของตัวถัง จากนั้นนำฟิวเจอร์บอร์ทั้ง 3สี มาวัดกับถังพลาสติกสีดำให้ฟิวเจอร์บอร์ดสามารถคอบกับถังพลาสติกดำ โดยไม่แน่นจนเกินไปเพื่อให้สามารถเอาขยะที่อยู่ข้างในถังออกมาทิ้งได้เมื่อขยะเต็ม ในถังจะต้องใช้ถุงดำคอบถัง ภายนอกถังพลาสติกดำจะคอบด้วยฟิวเจอร์บอร์ด แล้วตกแต่งภายนอกให้สวยงาม แปลกตา น่าใช้ 3. ประโยชน์ของกิจกรรม 1.ปลูกฝังให้เด็กรักความสะอาด 2.ปลูกฝังวินัยให้เด็กมีความเป็นระเบียบ 3.เด็กสามารถแยกประเภทของขยะได้ 4.เด็กได้ความรู้ในเรื่องขยะ 4. รูปแบบการสอนแบบ การปฏิบัติ หรือ การลงมือกระทำ” เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ เด็กได้รับอิสระริเริ่มความคิดและลงมือทำตามความคิด ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์และใช้กระบวนการแก้ปัญหาด้วยตนเองคือ การให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญที่จะสืบค้นหาความรู้ นักการศึกษาที่มีชื่อเสียงที่มีความเชื่อปรัชญาการศึกษานี้คือ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) เป็นผู้นำนักปราชญ์ซึ่งเชื่อว่ามนุษย์จะต้องปรับตัวเพื่อให้ชีวิตอยู่รอด จึงมีวลีที่แพร่หลายและนำมาใช้ในการจัดการศึกษาคือ “Learning by doing” “หรือการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง” แนวคิดของจอห์น ดิวอี้ คือแนวคิดเรื่องการปรับตัว จอห์น ดิวอี้ ตระหนักเรื่อง “การปรับตัว” ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญและจะ ต้องนำไปใช้เป็นแนวคิดของการจัดการศึกษา หรือเป็นแก่นแห่งการศึกษา มนุษย์ต้องเผชิญกับปัญหา จึงต้องฝึกให้มนุษย์แก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ ฝึกปฏิบัติ ฝึกคิด ฝึกลงมือทำ ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ ประสบการณ์ที่มนุษย์พบหรือเผชิญ มีอยู่ 2 ประเภทคือ ขั้นปฐมภูมิ เป็นประสบการณ์ที่ไม่เป็นความรู้ หรือยังไม่ได้คิดแบบไตร่ตรอง และขั้นทุติยภูมิคือที่เป็นความรู้ ได้ผ่านการคิดไตร่ตรอง ประสบการณ์ขั้นแรกจะเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิต
แชร์ข่าวนี้