- สร้างโดย บ้านห้วยแก้ว
- สังกัด อปท. จังหวัด อุบลราชธานี
- ผู้จัดทำ นางจารุวรรณ กาสุรงค์ วันที่สร้าง 13 พฤศจิกายน 2558, 11:23 น.
- ประเภทตัวชี้วัด ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
ลักษณะสำคัญหรือรูปแบบ การละเล่นพื้นบ้าน “เดินกะลา” เป็นของเล่นที่ประดิษฐ์ขึ้นมาจากกะลามะพร้าวโดยต้องเอากะลามะพร้าวตัวผู้มาประดิษฐ์ เพราะกะลามะพร้าวตัวผู้จะมีรูตรงกลาง แล้วร้อยเชือกมัดปมไว้ตรงกลางกะลามะพร้าว 2 อัน เมื่อจะเล่นให้ผู้เล่นใช้นิ้วเท้า (หัวแม่เท้า) หนีบเท้าแล้วเดินสลับเท้าไปมา แนวคิด แนวคิดหลักการ ทฤษฎีที่ใช้ การเล่นถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญในชีวิตของเด็ก เด็กจะรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน ได้สังเกต มีโอกาสทำการทดลองสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหาและค้นพบด้วยตนเอง การเล่นจะมีอิทธิพลและมีผลดีต่อการเจริญเติบโต ช่วยพัฒนาร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาจากการเล่น เด็กมีโอกาสเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้ใช้ประสาทสัมผัสและการรับรู้ผ่อนคลายอารมณ์ และแสดงออกถึงตนเอง เรียนรู้ตามความรู้สึกของคนอื่น สร้างความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น รู้จักแบ่งปัน ร่วมมือช่วยเหลือกัน มีความเชื่อมั่นในตนเองและกล้าที่จะแสดงออก วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักเรียนรู้จักการละเล่นพื้นไทย 2. เพื่อให้นักเรียนรู้จักอุปกรณ์การละเล่นพื้นบ้าน เดินกะลา 3. เพื่อให้นักเรียนรู้จักวิธีการ การละเล่นพื้น บ้าน เดินกะลา 4. เพื่อปลูกสำนึกที่ดีต่อการอนุรักษ์การละเล่นพื้นบ้านของไทย ลำดับขั้นตอนกิจกรรมการพัฒนา ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1. ครูนำนักเรียนไปดูต้นมะพร้าวในบริเวณโรงเรียน 2. นักเรียนช่วยกันสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็น ขั้นสอน 1. นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์ของมะพร้าว 2. ครูสนทนากับนักเรียนเพิ่มเติมว่า นอกจากเอาไว้รับประทานแล้วกะลาของมะพร้าวเราสามารถนำมาประดิษฐ์ทำเป็นของเล่นได้ เช่น การเดินกะลา 3.ครูนำกะลามะพร้าว เชือกไนล่อน แล้วให้นักเรียนประดิษฐ์อุปกรณ์การเล่นเดินกะลา โดยครูบอกขั้นตอนการประดิษฐ์ ในขณะที่นักเรียนปฏิบัติครูคอยชี้แนะ 4. เมื่อนักเรียนปฏิบัติเสร็จแล้ว ให้นักเรียนเก็บกวาดอุปกรณ์เรียบร้อย 5. นักเรียนและครูร่วมสนทนาเกี่ยวกับวิธีการเล่น “เดินกะลา “ 6. นักเรียนทดลองเล่น “การเดินกะลา” โดยมีครูคอยดูอยู่ตลอดเวลา 7. นักเรียนแต่ละคนร่วมกัน การเล่น การเดินกะลา 8. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ให้แข่งขันการเดินกะลา โดยกลุ่มไหนเดินได้ครบทุกคนก่อน กลุ่มนั้นเป็นผู้ชนะ ขั้นสรุป 1. ครูสังเกตพฤติกรรมและบันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน 2. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการเล่น เดินกะลา ผลการดำเนินงาน 1. นักเรียนร้อยละ 80 มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ได้ดี 2. นักเรียนร้อยละ 85 มีการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับเท้าได้ดี
แชร์ข่าวนี้