- สร้างโดย ศูนย์อบรมเด็ก่อนเกณฑ์ในวัดปัจฉิมบ้านตบหู
- สังกัด อปท. จังหวัด อุบลราชธานี
- ผู้จัดทำ นางสาวนุสรีย์ วงษ์ศรี วันที่สร้าง 12 พฤศจิกายน 2558, 10:32 น.
- ประเภทตัวชี้วัด ผู้เรียนมีทักษะการคิด,ภาษา,การสังเกต,การจำแนก,การเปรียบเทียบและแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
กระบอกไม้ไผ่หรรษา ขั้นตอนในการดำเนินการ 1. ศึกษาวัสดุธรรมชาติที่มีหลากหลายในบริบทท้องถิ่นและหาได้ง่าย (ไม้ไผ่) 2. จัดเตรียมไม้ไผ่ตามที่ต้องการและวัดขนาดความสั้น- ยาวของไม้ไผ่ตามลำดับ 3.ใช้มีดเหลาเปลือกไม้ไผ่ออกให้เหลือแต่สีขาว 4. ระบายสีกระบอกไม้ไผ่ด้วยสีน้ำและนำผึ่งแดดให้แห้ง 5. นำกระบอกไม้ไผ่ใส่ในกล่องโดยคละขนาดความสั้น - ยาว 6. นำกระบอกไม้ไผ่หรรษาจัดกิจกรรมให้เด็กฝึกเปรียบเทียบ สังเกต ความแตกต่าง สั้น - ยาวของไม้ไผ่ และเรียนรู้เกี่ยวกับสี วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกัน 2. เพื่อให้เด็กทำกิจกรรมอย่างมีความสุข 3. เพื่อฝึกการสังเกต เปรียบเทียบขนาดของกระบอกไม้ไผ่ 4. เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับสี 5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กเห็นคุณค่าของวัสดุธรรมชาติที่มีในท้องถิ่น 6. เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้ ประโยชน์ที่ได้รับ 1. เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกัน 2. เด็กเกิดความสนุกสนานและเพลิดเพลิน 3. เด็กสามารถเปรียบเทียบ สังเกตขนาดของไม้ไผ่และเรียงลำดับความต่ำ - สูง ของกระบอกไม้ไผ่ตามลำดับได้ 4. เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับสีต่างๆ 5. เด็กรู้จักคุณค่าของวัสดุธรรมชาติที่มีในท้องถิ่น 6. เด็กที่มีความต้องการพิเศษสามารถเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนได้ โดยความแตกต่างของสีไม้ไผ่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ การจัดกิจกรรม การสอนแบบเล่นปนเรียน (เฟรอเบล) เป็นวิธีการสอนที่นำมาใช้กับการจัดกิจกรรม สื่อกระบอกไม้ไผ่หรรษา เหมาะสำหรับเด็กเล็กๆ อนุบาล มุ่งที่จะเอาอาการไม่อยู่นิ่งของเด็กมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่พัฒนาการของเด็ก มักใช้กับบทเรียนที่ไม่เพ่งเล็งด้านปริมาณของเนื้อหา เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเล่นอย่างสนุกสนาน มีจุดมุ่งหมายให้เด็กเล่นในสิ่งที่เป็นคุณค่าทางการศึกษา ภายใต้การดูแลของครู บทบาทครู 1. ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ในการเล่นของเด็ก 2. ครูเป็นผู้กระตุ้นส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก 3. เข้าสู่บทเรียนด้วยเนื้อหาตามแบบแผนการสอนโดยใช้กิจกรรมการเล่นในลักษณะที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ในแผนการสอน 4. สังเกตพฤติกรรมผู้เรียนว่ามีโอกาสได้ทำกิจกรรมครบทุกคน 5. ตรวจสอบผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นขณะทำกิจกรรมการเล่นที่กำหนดไว้ 6. ขณะทำกิจกรรมครูให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างอิสระ สอดคล้องกับเนื้อหาวัดความสำเร็จ ครูมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเอง รู้จักแสวงหาความรู้และเทคนิควิธีการสอนใหม่ๆ โดยกิจกรรมกระบอกไม้ไผ่หรรษานี้จะเน้นให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น และจัดกิจกรรมให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษสามารถเรียนร่วมกับเพื่อนได้ ซึ่งการทาสีกระบอกไม้ไผ่ให้มีความแตกต่างกันจะช่วยในการเรียนรู้ของเด็กพิเศษได้ เด็กจะมีอิสระในการเล่นและเปิดโอกาสให้เด็กทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น อีกทั้งครูหรือผู้ดูแลเด็กยังมีความสามารถในการผลิตสื่อสร้างสรรค์ต่างๆ โดยเน้นวัสดุที่มีในท้องถิ่นและหาได้ง่าย เช่น ไม้ไผ่ เป็นต้น และใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองและผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาการของเด็กที่เหมาะสมตามวัยได้มากที่สุด
แชร์ข่าวนี้