- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลป่าติ้ว1 นางกฤษณาสารินทร์ ผู้ดูแลเด็ก
- สังกัด อปท. จังหวัด ยโสธร
- ผู้จัดทำ นางกฤษณา สารินทร์ วันที่สร้าง 12 พฤศจิกายน 2558, 03:49 น.
- ประเภทตัวชี้วัด ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย/แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลป่าติ้ว 1ได้จัดกิจกรรม"หนูน้อยรักผักสวนครัว" เพื่อให้เด็กเรียนรู้ การปลูกผักสวนครัวไว้กินเองโดยใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกในการบำรุงดินเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผู้ปกครองมีส่วนร่วมโดยนำต้นกล้าผักมามอบให้ครูเพื่อพาเด็กๆปลูก การทำกิจกรรมนี้เป็นการเสริมสร้างพัฒนาการด้านสังคม รู้จักการทำงานร่วมกันเรียนรู้การรับผิดชอบร่วมกัน เรียนรู้ทักษะชีวิต และการปรับตัวให้เข้าร่วมกับชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ ในการทำกิจกรรมล้วนเป็นการเรียนรู้จากการประสบการณ์จริง และเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ชื่อกิจกรรม "หนูน้อยรักผักสวนครัว" ระยะเวลาในการทำกิจกรรม 1 เดือน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการปลูกผักสวนครัวและสามารถปฏิบัติได้ 2. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการสังเกตุการเจริญเติบโตของผักและการบำรุงรักษา 3. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักรักษาสิ่งแวดล้อมโดยการใช้ปุ๋ยคอก 4. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การปลูกผักสวนครัวและส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน วิธีการ ขั้นนำ ครูและเด็กสนทนาเรื่องผักสวนครัว ประโยชน์ของผัก ผักที่เด็กเด็กรู้จัก สามารถปลูกไว้รับประทานเองได้ เด็กๆอยากปลูกผักสวนครัว ขั้นสอน - วิธีการปลูกผักตามลำดับขั้น - อุปกรณ์ในการปลูก พันธ์ผัก ดิน ปุ๋ยคอก นำ้ - ครูสาธิตการปลูกผักให้เด็กดู ขั้นสรุป - เด็กช่วยกันปลูกผัก ตามขั้นตอนที่ครูสอน - เด็กรับผิดชอบดูแลผักร่วมกันเป็นระยะเวลา 1 เดือน ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ 1. เด็กรู้จักวิธีปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง 2. เด็กรู้จักการสังเกตการเจริญเติบโตของผักและการบำรุงรักษาเด็กดูแลรดนำ้ผักของตนเองได้ รู้จักหน้าที่ของตนเอง 3. เด็กรู้จักการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยการใช้ปุ๋ยคอก ประเมินกิจกรรม - โดยการให้เด็กเลือกหน้า ยิ้มและหน้าร้องให้ - หน้ายิ้ม แสดงว่าชอบกิจกรรมที่ทำ - หน้าร้องให้แสดงว่าไม่ชอบกิจกรรมที่ทำ ผลการประเมิน เด็กทั้งหมด 35 คนเลือกหน้ายิ้ม รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1.การสอนแบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการจัดกิจกรรมลักษณะกลุ่มหรือศึกษาด้วยตนเอง หรือการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 2.การสอนแบบบูรณาการ (Integrate curriculum) สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับการดำเนินชีวิตมนุษย์ทั้งในด้านจุดมุ่งหมายเนื้อหาการจัดกิจกรรมตลอดจนการวัดผลประเมินผล เนื้อหาที่ต้องจัดให้สัมพันธ์กับประสบการณ์และวิถีชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้ความรู้นั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในสถานการณ์จริงได้ ซึ่งสอดคล้องกับ ทฤษฏีของ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) "การเรียนรู้จากการกระทำ "(Learning by doing) เป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการหรือ การเชื่อมโยงเนื้อหาต่างๆเข้าด้วยกัน ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะเพิ่มเติมและหลากหลาย ทำให้ผู้เรียนสามารถพึ่งตนเองได้ในอนาคตตามบริบทของท้องถิ่นนั้นๆ ทฤษฎีของจีน เพียเจต์ (Piaget)เน้นการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้ใหญ่มีโอกาสในการเล่น สำรวจ ทดลอง ตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆด้วยตัวเอง การมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งแวดล้อม 2 ลักษณะคือเด็กพยายามปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมโดยซึมซับประสบการณ์(Assimilation) และการปรับโครงสร้างสติปัญญา(Accommodation) ตามสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความสมดุลย์ในโครงสร้างความคิดความเข้าใจ(Equilibration) ทฎษฎีของรุสโซที่เปรียบเด็กเหมือนกับผ้วขาว ที่เราสามารถเติมแต่งสีสันได้ โดยจะฝึกให้เด็กซึมซับการรักสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ธรรมชาติ สรุปการทำกิจกรรม จากการจัดกิจกรรม "หนูน้อยรักผักสวนครัว"ให้กับเด็ก ในระยะเวลา 1 เดือน เด็กรู้ว่าการปลูกผักไม่ใช่เรื่องยาก เด็กมีความรับผิดชอบดูแลผักร่วมกัน สามารถปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้ มีความขยัน มีนำ้ใจ รดนำ้ ถอนหญ้า เด็กตระหนักถึงคุณค่าสิ่งแวดล้อม และสามารถแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย ตัวบ่งชี้ความสำเร็จที่ 11.1,11.2, 14.1,14.2 และ17.1
แชร์ข่าวนี้