- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคำบง
- สังกัด อปท. จังหวัด อุบลราชธานี
- ผู้จัดทำ นางสาวปิยนาฎ วงชมภู รหัส571111321228 วันที่สร้าง 11 พฤศจิกายน 2558, 13:36 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษามีการจัดทำหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
กิจกรรมสื่อพื้นบ้านหรรษา การจัดทำสื่อประกอบการเรียนการสอน ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม1.คณะครูร่วมกันประชุมวางแผนในการดำเนินกิจกรรม 2.จัดหาวิทยากรผู้รู้เรื่องสื่อพื้นบ้านมาให้ความรู้แก่เด็กที่ ศพด.3.ครูจัดเตรียมอุปกรณ์การทำสื่อของเล่นพื้นบ้าน4.วิทยากรสาธิตการผลิตสื่อของเล่นพื้นบ้าน5.แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับวิทยากรผู้มาให้ความรู้6.ครูสรุปเรื่องสื่อของเล่นพื้นบ้านให้เด็กฟัง7.จัดทำของเล่นพื้นบ้านมาใช้เป็นสื่อจัดการเรียนการสอน8.จัดมุมเสริมประสบการณ์ เรื่องสื่อพื้นบ้าน ประโยชน์ที่ได้รับ - เด็กเกิดการเรียนรู้ที่แปลกใหม่เกี่ยวกับสื่อพื้นบ้าน - ครูและชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน รูปแบบการจัดการเรียนการสอน วิธีการสอนแบบสาธิต คือ ครูมีหน้าที่วางแผนการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ โดยมีการแสดงหรือการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากการสังเกต การกระทำ หรือการแสดง และอาจเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมตรงกับแนวคิดของทิศนา แขมมณี, 2554 : 318-381 กล่าวว่า วิธีการสอนโดยกระบวนการการสาธิต คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการแสดงหรือทำสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ให้ผู้เรียนสังเกตดู แล้วให้ผู้เรียนซักถาม อภิปราย และสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการสังเกตการสาธิต และดิวอี้ (Dewey) เชื่อว่า เด็กเรียนรู้โดยการกระทำจัดกิจกรรมให้เด็กลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เช่น กิจกรรมการสํารวจ การทดลอง การทัศนศึกษา จากประสบการณ์จริง การประกอบอาหาร สื่อ วัสดุ และ ไฮสโคป หลักสูตรแบบเปิดกว้างการเรียนรู้แบบลงมือกระทํา (Active Learning)การใช้คําถามปลายเปิด กิจกรรมสื่อพื้นบ้านหรรษาสอดคล้องกับเนื้อหาวัดความสำเร็จ คือมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเด็กเกิดความสนใจในการปฏิบัติกิจกรรม เด็กเกิดจินตนาการความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถบอกความเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆที่เกิดจากการเรียนรู้ได้
แชร์ข่าวนี้