- สร้างโดย เทศบาลตำบลธาตุ
- สังกัด อปท. จังหวัด อุบลราชธานี
- ผู้จัดทำ นางสาวอรชุมา บุญสิงห์ วันที่สร้าง 11 พฤศจิกายน 2558, 12:23 น.
- ประเภทตัวชี้วัด สถานศึกษามีทรัพยากรและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
กิจกรรม: กิจกรรมเรียนรู้ภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้าน ระยะเวลาการดำเนินงาน: เดือนพฤศจิกายน 2558 หลักการและเหตุผลการจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการโดยใช้แหล่งเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เด็กปฐมวัยเกิดการเรียนรู้ที่แปลกใหม่ช่วยส่งเสริมทักษะให้เด็กครบทั้ง 4 ด้าน ครูจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการและปลูกฝังค่านิยมภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้แหล่งเรียนในชุมชน ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน: 1. เชิญประชุมผู้ปกครองเพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นและขอความร่วมมือในการมีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเด็กเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น. 2.คณะครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจัดทำโครงการ กิจกรรมเรียนรู้ภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้าน และพาเด็กไปทัศนศึกษายังแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อศึกษาเรียนรู้และลงมือปฎิบัติจริง 3. ประสานงานขอความร่วมมือกับปราชญ์ชาวบ้านที่จะไปศึกษา(สานพัด) 4. ดำเนินงานตามขั้นตอน 5. ติดตามประเมินผล 6. สรุปและรายงานผลโครงการ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ: 1. ปลูกฝังค่านิยมภูมิปัญญาท้องถิ่น 2. เด็กปฐมวัยได้เรียนจากประสบการณ์ตรง3. ครู เด็กและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น 4. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนรวมในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ รูปแบบการจัดกิจกรรม 1.วิธีสอนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning : PL) โดยเปิดโอกาสให้เด็ก มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็และร่วมกันจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกขั้นตอนและได้ลงมือปฎิบัติจริง2.วิธีการสอนแบบสาธิตภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้านให้ความรู้และสาธิตการทำผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นได้แก่การสานเสื่อ การสานพัดจากไม้ไผ่ 3.ใช้วิธีศึกนอกสถานที่ครูพาเด็กไปศึกษาเรียนรู้ที่ชุมชนในท้องถิ่นกลุ่มสตรี 4.การเรียนการสอนแบบบูรณาการ (Integrated Learning) หมายถึง แนวคิดและแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการศึกษากับ การดำเนินชีวิตของมนุษย์ ทั้งในด้านจุดมุ่งหมาย เนื้อหาการจัดกิจกรรม ตลอดจนการวัดผล ประเมินผลโดยมีเป้าหมายสำคัญสูงสุด เพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต เนื้อหาวิชาที่จัดต้องให้สัมพันธ์กับประสบการณ์และวิถีชีวิตจริงของผู้เรียนเพื่อให้ ความรู้นั้น ๆ ไปใช้ประโยชน์ในสถานการณ์จริงได้ การเรียนรู้แบบบูรณาการ เน้นการส่งเสริมให้ ผู้เรียนทำกิจกรรมร่วมกัน มีการใช้ประสบการณ์ตรงมาแก้ปัญหาการเรียนรู้ มีการสร้าง สถานการณ์ที่เร้าความสนใจ และผู้เรียนจะหาทางสนองความสนใจของตนเองจากความคิดลง มือปฏิบัติเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ โดยการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ 5. การเรียนรู้จากสภาพจริง (AuthenticLearning) การเรียนการสอนจะเน้นที่การปฏิบัติจริง การร่วมมือกันทางาน การคิดอย่างวิจารณญาณ การแก้ปัญหา การฝึกทักษะต่าง ๆ ที่เป็นการ สร้างทักษะชีวิตให้กับตนเอง
แชร์ข่าวนี้