- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดงเจริญ อบต.กุดสระ จ.อุดรธานี
- สังกัด อปท. จังหวัด อุดรธานี
- ผู้จัดทำ นางเสาวณีย์ ผุยม่วง วันที่สร้าง 5 เมษายน 2556, 21:56 น.
- ประเภทตัวชี้วัด ด้านการพัฒนานวัตกรรมและงานวิจัย
รายงานการวิจัยในชั้นเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดงเจริญ องค์การบริหารส่วนตำบลกุดสระ ปีการศึกษา 2555 1.ชื่อผู้วิจัย นางเสาวณีย์ ผุยม่วง 2.ชื่อเรื่อง การจัดกิจกรรมการทำอาหาร เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา 3.ความเป็นมา คนเราสามารถสื่อสารกับบุคคลรอบข้างได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารด้วยภาพ สื่อสารด้วยท่าทาง สื่อสารด้วยตัวอักษร สื่อสารด้วยดนตรีหรือการสื่อสารด้วยภาษา การสื่อสารแต่ละประเภทก็มีความสำคัญ และจำเป็นแตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับการสื่อสารด้วยภาษาพูด การพูดจา การแลกเปลี่ยนถ้อยคำ แลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ ทัศนะและประสบการณ์กับเด็กเป็นระยะเวลาสั้นๆ นั้น มีส่วนช่วยเพิ่มพูนสติปัญญาเด็กได้เป็นอันมากทีเดียว (นักทฤษฏีทางจิตวิทยาสาย Zajong) หลักที่เป็นหัวใจของนักปราชญ์ไทยที่ว่า สุ = การได้ยินได้ฟัง, จิ = คิดไตร่ตรอง , ปุ = หมั่นซักถาม , ลิ = จดบันทึก เช่นเดียวกับนักเรียนในระดับชั้นเตรียมอนุบาล 1/3 มีจำนวน 4 คน ที่ผู้วิจัยได้สังเกตว่าเด็กทั้ง 4 คนเวลาพูดคุยสื่อสารกับคุณครูและเพื่อนๆ มักจะพูดหรือออกเสียงไม่ชัดเจน คำบางคำไม่สามารถออกเลียงได้ถูกต้องและเหมาะสมตามวัย ดังนั้นถ้าปล่อยไว้จะทำให้เด็กทั้ง 4 คน มีพัฒนาการในการพูดช้ากว่าเพื่อนๆ คนอื่นๆ และจะทำให้ขาดความมั่นใจในการพูดและการสื่อสารกับผู้อื่น ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาค้นคว้าและทำการวิจัยว่าทำอย่างไรจึงจะช่วยเด็กทั้ง 4 คนให้ออกเสียงได้ชัดเจนและมีทักษะการใช้ภาษาที่ถูกต้องต่อไป 4.ปัญหา เด็กชั้นเตรียมอนุบาล 1/3 จำนวน 4 คน มีพฤติกรรมในการใช้ภาษาไม่ถูกต้อง 5.สาเหตุ ใช้ภาษาในการพูดไม่ชัดเจน ออกเสียงบางคำไม่ถูกต้อง ไม่กล้าพูดแสดงความรู้สึก และความคิดเห็น 6.คำถามในการวิจัย การจัดกิจกรรมทำอาหาร โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติได้พูดคุยสนทนาได้เล่าเรื่อง เล่ากิจกรรมที่เขาทำให้ฟัง เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกในการพูดจา ได้ฝึกทักษะและความสามารถในการติดต่อสื่อสาร ในการถ่ายทอดเรื่องราวทำให้เขารู้สึกว่า เขาประสบความสำเร็จในการเล่าและกล้าที่จะสื่อสารกับคนอื่นๆ ได้ดีขึ้น 7.วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้าการวิจัย เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการใช้ภาษาของเด็กเตรียมอนุบาล 1/3 8.สมมติฐานการวิจัย หลังจากการจัดกิจกรรมทำอาหาร ให้กับเด็กแล้วเด็กมีพฤติกรรมในการใช้ภาษาได้ดีขึ้น 9.ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้าการวิจัย 9.1 ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นเตรียมอนุบาล 1/3 จำนวน 4 คนคือ 1. ด.ช. พงศกร เชืองเครือ (น้องเฟรน) 2. ด.ช. สุรชัช สินทิพลา (น้องบาส) 3. ด.ช .ปภังกร สิงห์สูง (น้องปังปอนด์) 4. ด.ช. โกมล พลทหาร (น้องโกมล) 10.เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า - การจัดกิจกรรมทำอาหาร (ข้าวโพดคลุกอนุบาล) 11.วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า 11.1 ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กวัย 3 – 4 ขวบ 11.2 ซักถามผู้ปกครอง 11.3 สังเกตพฤติกรรมการใช้ภาษา การศึกษาพฤติกรรมการพูดคุยของเด็ก 11.4 นำกิจกรรมทำอาหาร (ข้าวโพดคลุกอนุบาล) มาใช้กับเด็กกลุ่มนี้ 11.5 แบบสังเกตพฤติกรรม 12.สรุปผลการวิจัยค้นคว้า 13.การวางแผนงานการวิจัย เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2555 วิธีดำเนินการ 1.การสังเกตซักถามเด็ก การพูดคุยกับผู้ปกครองทำให้ทราบสาเหตุของการใช้ภาษาที่ไม่ชัดเจน การออกเสียงไม่ถูกต้อง 2.การจัดประสบการณ์โดยมีกิจกรรมดังนี้ 2.1 การเล่านิทานและร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับนิทาน 2.2 เด็กและครูร่วมกันร้องเพลง 2.3 เด็กและครูร่วมกันทำอาหาร (ข้าวโพดคลุกอนุบาล) ง่ายๆ 3.สังเกตพฤติกรรมการร่วมกิจกรรมของเด็ก 4.นำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุปผล ขั้นตอนการดำเนินงาน สัปดาห์ที่ 1 1.เด็กๆ ทั้ง 4 คน ได้ร่วมกันทำข้าวโพดคลุกกับเพื่อนๆ ในห้องเรียน 2.ครูอธิบายขั้นตอนและวิธีการในการทำข้าวโพดคลุกให้เด็กๆ ฟัง 3.เด็กๆ ร่วมทำอาหารอย่างสนุกสนาน 4.ให้เด็กๆ ทั้ง 4 คนมาช่วยกันอธิบายขั้นตอนในการทำและให้ลงมือทำให้เพื่อนๆ ดู น้องเฟรน : คุณครูบอกว่าล้างมือให้สะอาดก่อน น้องบาส : ลองแตะดูก่อนว่าข้าวโพดเย็นหรือยัง น้องปังปอนด์ : ช่วยกันแกะข้าวโพดเร็ว ๆ จะได้ทำ น้องโกมล : หอมจัง ใส่น้ำตาลด้วยนะ (คุณครูดูแลอยู่ใกล้ๆ) ให้เด็กๆ ได้ช่วยกันทำ ระหว่างที่ทำกิจกรรมเด็กๆ ได้พูดคุยสนทนากับเพื่อนๆ ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ทำให้เกิดความรู้สึกสนุกสนานและมั่นใจในตัวเองมากขึ้น สัปดาห์ที่ 2 1.เด็กๆ และคุณครูพูดคุยกันถึงการทำข้าวโพดคลุก ในสัปดาห์ที่แล้ว น้องโกมลบอกว่า : หนูอยากทานขนมปังทาเนย น้องเฟรน : หนูเคยทานขนมปังปิ้ง น้องบาส : บาสก็อยากทานขนมปังทาแยม น้องปังปอนด์ : ปอนด์ก็อยากทานขนมปิ้งเหมือนกัน คุณครูเลยให้เด็กยกมือว่าใครอยากทานขนมปังทาแยมเฉยๆ ใครอยากทานขนมปังปิ้ง ผลการยกมือปรากฏว่า เด็กจำนวน 5 คน อยากทานขนมปังทาเนย เด็กจำนวน 7 คน อยากทานขนมปังปิ้ง เด็กจำนวน 3 คน อยากทานขนมปังทาแยม สรุปผล นักเรียนและคุณครูตกลงว่าจะทำขนมปังปิ้ง ขั้นตอนที่ 1 เตรียมอุปกรณ์ ให้เด็กๆทั้ง 4 คนออกมาแนะนำอุปกรณ์ที่ตนเองรู้จักให้เพื่อนฟัง น้องปังปอนด์ : ขนมปังปอนด์ น้องบาส : แยมสตอร์เบอรี่ น้องโชค : แยมสับปะรด ที่ปิ้งขนมปัง น้องปอย : เนย คุณครู : ที่ปิ้งขนมปัง ปลั๊กไฟ ช้อน ขั้นตอนที่ 2 เชิญคุณครูอำพร บุตรอุดม ครูประจำชั้นเตรียมอนุบาล 1/1 และคุณครูบัวเงิน กุลาดี ครูประจำชั้นเตรียมอนุบาล 1/2 มาให้ความรู้และสาธิตวิธีการปิ้งขนมปังที่ถูกต้องให้เด็กๆ ดู ขั้นตอนที่ 3 เด็กๆ ลงมือปฏิบัติกิจกรรม ขั้นตอนที่ 4 รอคอยให้ขนมปังสุก เสร็จแล้วรับประทาน หลังจากทานขนมปังปิ้งแล้ว คุณครูให้เด็กๆ ออกมาช่วยกันพูดถึงขั้นตอนการทำ น้องบาส : เตรียมขนมปังมา น้องปอนด์ : ทาแยมที่ชอบลงไปที่ขนมปัง น้องเฟรน : ให้คุณครูเสียบปลั๊กไฟ น้องโกมล : รอให้สุกหอม แล้วทานได้เลย จากการทำอาหารในสัปดาห์ที่ 2 คุณครูให้เพื่อนๆ ออกมาช่วยกันทำ โดยให้น้องโกมล น้องเฟรน น้องปังปอน์ น้องบาส เป็นผู้สังเกตการและจดจำในสิ่งที่เห็นและออกมาเล่าให้เพื่อนฟัง น้องโกมล น้องเฟรน น้องปังปอน์ น้องบาส มีความมั่นใจในการพูดมากขึ้น สนใจและตั้งใจในการร่วมกิจกรรม ไม่เขินอายเวลาที่คุณครูให้ออกมาพูดให้เพื่อนๆ ฟัง เวลาเพื่อน ๆ ปรบมือให้ก็จะยิ้มและมีท่าทางที่มั่นใจมากขึ้น สัปดาห์ที่ 3 คุณครูให้เด็กๆ แสดงบทบาทสมมติจากนิทานเรื่อง ลูกหมูสามตัว โดยให้น้องโกมลออกมาเป็นลูกหมูตัวที่ 1 น้องเฟรน บอกว่า ลูกหมูต้องร้องอู๊ด ๆ น้องปลั๊ก : ใช่ครับอู๊ด อู๊ด อู๊ด ! (ทำท่าทางร้องเหมือนหมู โดยมีเพื่อนๆ คอยหัวเราะอย่างสนุกสนาน) จากกิจกรรมทำอาหาร และเล่านิทาน แสดงบทบาทสมมติ โดยให้เด็กๆทั้ง 4 คน มีส่วนร่วม ทำให้เด็กๆ มีความสุขกับการพูดคุย การใช้ภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจน การทำท่าทาง การร่วมกิจกรรมต่างๆอย่างสนุกสนานโดยไม่เขินอาย มีความมั่นใจในการพูด การออกเสียง การใช้ภาษาต่างๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น สรุปผลการวิจัย จากการจัดกิจกรรม ทำอาหาร เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทักษะทางภาษาของเด็กๆ ทั้ง 4 คน ปรากฏว่า เด็กๆ มีพฤติกรรมการใช้ภาษาอย่างสร้างสรรค์ กล้าพูดกล้าแสดงออก มีความมั่นใจในตัวเอง ในการพูดสื่อสารกับเพื่อนๆ คุณครูและคนรอบข้างมากขึ้น อีกทั้งยังสนุกสนานกับการร่วมกิจกรรมต่างๆกับเพื่อนๆ สามารถบอก อธิบาย สื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น บทสะท้อนจากการทำวิจัย จากการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็กๆ ในครั้งนี้ ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานวิจัยฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่ต้องการแก้ปัญหาและพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กคนอื่นๆต่อไป ผู้วิจัย นางเสาวณีย์ ผุยม่วง คุณครูประจำชั้นเตรียมอนุบาล 1/3
แชร์ข่าวนี้