- สร้างโดย โรงเรียนบ้านทุ่งกะโตน
- สังกัด อปท. จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์
- ผู้จัดทำ นางสาวสุภัค บุญเกษม วันที่สร้าง 22 มีนาคม 2556, 14:47 น.
- ประเภทตัวชี้วัด ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ผู้ริเริ่มคิดและจัดตั้งวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่ จากความเชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้นว่า จุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาในระยะแรกนั้น ไม่ใช่การเอาความรู้ไปบอกให้เด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขา การที่จะช่วยให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามขั้นตอนของความสามารถนั้น ควรจะต้องพัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการของเด็ก ที่ต้องการจะเป็นอิสระในขอบเขตที่กำหนดไว้ให้ ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์ และพิถีพิถัน การสอนแบบมอนเตสซอรี่ ได้มาจากการที่มอนเตสซอรี่ได้สังเกตเด็กในสภาพที่เป็นจริงของเด็ก ไม่ใช่สภาพที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเป็น จากการสังเกตเด็กจึงได้พัฒนาวิธีการสอน การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อม และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ขึ้นมาใช้ โดยเริ่มต้นจากการทดลองที่โรงเรียนที่มอนเตสซอรี่เข้าไปรับผิดชอบ ที่เรียกว่า Casa Dei Bambini หรือ Children's House แล้ววิธีการสอนนี้จึงได้แพร่หลายต่อไปจนทั่วโลกเช่นในปัจจุบัน การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ โรงเรียนที่ใช้การสอนแบบมอนเตสซอรี่นั้น กิจกรรมถือเป็นส่วนสำคัญของสิ่งต่างๆ ที่ดำเดินไปในโรงเรียน มอนเตสซอรี่เชื่อว่า เด็กเล็กควรจะเรียนด้วยร่างกายทั้งหมดโดยเน้นทางด้านการฝึกฝนทางประสาทสัมผัส กิจกรรม หรืองานที่เด็กทำจะต้องมีความหมาย อุปกรณ์การเรียนได้วางรูปแบบเอาไว้ให้เด็กได้ทำงานต่างๆ เป็นไปตามขั้นตอนงานจะกระตุ้นทำให้เด็กทำงานต่อไป การเขียนก็เป็นจุดรวมของทั้งการเห็น การได้ยินและการสัมผัส การแสดงออกทางการเขียนจะผ่านขั้นตอนต่างๆ จากการสัมผัสรูปทรงเลขาคณิตสัมผัสรูปพยัญชนะ สระ จากบัตรตัวอักษรกระดาษทราย ใช้ดินสอสีลากไปตามกรอบแผ่นภาพโลหะ และเติมลายเส้นไปในกรอบแผ่นภาพโลหะที่ว่างเอาไว้ ประสมคำโดยใช้ตัวอักษรต่างๆ และเขียนคำลำดับจากรูปธรรมไปสู่นามธรรมนี้ เป็นแนวคิดแฝงอยู่ในการจัดอุปกรณ์การเรียนหมวดคณิตศาสตร์ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ในด้านคณิตศาสตร์ด้วยสื่ออุปกรณ์ที่เป็นรูปธรรมสู่นามธรรม เรียนรู้ปริมาณเชื่อมโยงสู่สัญลักษณ์ การฝึกปฏิบัติซ้ำ เกี่ยวกับการนับ การรู้ค่าจำนวน การบวก การลบ ซึ่งเด็ก 5 ขวบ สามารถบวก ลบเลขหลักพันได้อย่างมีความสุข จะพัฒนาสู่จิตคณิตศาสตร์และรักการเรียนคณิตศาสตร์ กิจกรรมหมวดคณิตศาสตร์มี 6 กลุ่มงาน ดังนี้ 4.1 จำนวน 1 –10 และ 0 เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาให้เด็กรู้ค่าปริมาณและสัญลักษณ์ของจำนวน 1 –10 และ 0 กิจกรรม เช่น ไม้จำนวน ตัวเลขกระดาษทราย กล่องกระสวย บัตรเลขและเบี้ย เกมจดจำ 4.2 ระบบเลขฐานสิบ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง หลักเลขต่าง ๆ คือ หลักหน่วย สิบ ร้อย พัน กิจกรรม เช่น การเสนอหลักเลขด้วยลูกปัด และบัตรเลข การบวก ลบด้วยลูกปัดและบัตรเลข การบวก ลบ ด้วยเบี้ยอากร 4.3 การนับ 1 –1000 เป็นกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ กลไกการนับต่อเนื่อง การนับข้าม เพื่อให้รู้และเข้าใจค่าจำนวน ระบบหลักเลข และเตรียมการสู่การคูณและการหาร มีกิจกรรม เช่น ลูกปัด 11 –19 กระดาน 11 –19 และบัตรเลข กระดาน 10 –90 การนับต่อเนื่อง การนับข้าม 4.4 ตารางช่วยจำ เป็นกิจกรรมฝึกปฏิบัติให้เกิดการเรียนรู้ รู้วิธีการสร้างจำนวน 10 ด้วยวิธีต่าง ๆ การจดจำองค์ประกอบ การบวก การลบ การคูณ การหารเลข 4 หลักได้ จนสามารถจดจำผลบวก ผลลบ และอื่น ๆ ได้อย่างขึ้นใจ มีกิจกรรม เช่น งูบวก งูลบ กระดานบวก กระดานลบ ตารางฝึกทักษะการบวก การลบ กระดานคูณ กระดานหาร 4.5 หนทางสู่นามธรรม เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาให้สามารถเรียนรู้ค่าจำนวน หลักเลข การบวก การลบ การคูณ การหาร ในระดับนามธรรม มีกิจกรรม เช่น ลูกคิดเล็ก การบวก ลบ คูณ หาร ลูกคิดใหญ่ การบวก ลบ คูณ หาร การหารด้วยหลอดแก้ว 4.6 เศษส่วน เป็นกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาเด็กให้มีประสบการณ์เกี่ยวกับชื่อของเศษส่วน การหาค่าที่เท่ากัน การเขียนสัญลักษณ์ เศษส่วน ที่มีเศษเดียวกัน งานฝีมือ (สร้างรูปจากเศษส่วน ระบายสี)
แชร์ข่าวนี้