- สร้างโดย บ้านร้อยรู
- สังกัด อปท. จังหวัด จันทบุรี
- ผู้จัดทำ นางสาวสุวรรณี รัตนประไพ วันที่สร้าง 13 มีนาคม 2556, 09:54 น.
- ประเภทตัวชี้วัด ประสบการณ์ : จากเรื่องเล่า ใต้ร่มพระบารมี
จุดเริ่มต้นโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มาจากการที่ได้ทอดพระเนตรสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร ในโอกาสที่โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถไปทรงเยี่ยมราษฎรในทุกภาคของประเทศไทย สิ่งที่ทรงสังเกตเห็นก็คือ ความยากจน เด็ก ๆ เจ็บป่วย ขาดอาหาร ไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ ฯ ปัญหา คือ การขาดแคลนอาหาร แนวทางการแก้ปัญหา คือให้มีการผลิตอาหารเพิ่มขึ้นในพื้นที่ โดยให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ แล้วนำผลผลิตทางการเกษตรที่ได้มาทำเป็นอาหารกลางวันรับประทานกัน ผลระยะสั้น คือ การมีวัตถุดิบ เช่น ผัก เนื้อสัตว์ ไข่ ผลไม้สำหรับนำไปประกอบอาหารกลางวัน แก้ปัญหาการขาดสารอาหารได้ทันที ผลระยะยาว คือ เด็กจะได้รับการพัฒนาพฤติกรรมการกินและภาวะสุขภาพที่เหมาะสม และยังมีความรู้ทางการเกษตรที่สามารถนำไปขยายผลต่อที่บ้านของตนเอง หรือนำไปประกอบอาชีพการเกษตรสำหรับดำรงชีวิตต่อไป ส่งผลให้เกิดความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่นั้น ๆ จะเห็นได้ว่า ทรงหาแนวทางและวิธีการในการพัฒนาทั้งที่เป็นระยะสั้นและระยะยาวตามสภาพปัญหาที่แท้จริงของคนเหล่านั้น จากโครงการของพระองค์ ข้าพเจ้าซึ่งเป็นครูผู้ดูแลเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านร้อยรู ข้าพเจ้าได้ทำโครงการเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเรา เด็กของเรามี 30 คนเป็นศูนย์พัฒนาเล็ก ๆ การทำโครงการปลูกผักเอาไว้ทาน ตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียง การนำผักที่ปลูกไว้มาใช้ทำการประกอบอาหารชนิดต่าง ๆ เพื่อเป็นอาหารกลางวันให้กับเด็กๆในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเรา เด็กๆได้พันธุ์ผักจากคนในชุมชนที่ได้เพาะเม็ดพันธุ์ตรียมไว้เพื่อนำไปปลูก เด็ก ๆได้มองเห็นความสำคัญของการปลูกผักไว้ทาน ครูให้เด็ก ๆ นำไปปลูกที่บ้านและไปปลูกที่เคยเป็นแหล่งเสื่อมโทรม ใกล้ ๆ กับเรียนของเด็ก ๆ เป็นที่รกร้าง ฟื้นที่ดินเป็นของหลวง ไม่มีใครไปปลูกอะไรมานาน และคนในชุมชนมาช่วยกันถากถางและเตรียมดินให้กับเด็ก ๆ ร่วมกับครู ผู้ปกครองเด็ก คนในชุมชน ช่วยกันตามปลูกผักไว้ทาน ตั่งแต่เป็นต้นอ่อนๆและอยู่ในหลุมเพาะก่อนที่จะเอาลงไปปลูกในแปลงผักที่เตรียมไว้ เด็ก ๆได้เห็นถึงความเหนื่อยยาก ความยากลำบาก และความเห็นอกเห็นใจกัน ความร่วมแรงร่วมใจของหลาย ๆ ฝ่ายที่มาช่วยกันในครั้งนี้ และที่สำคัญเด็ก ๆได้ทานผักที่ตนปลูกและดูแลรักษามาอย่างดี จนถึงวันที่เก็บ นำไปให้ผู้ปกครองประกอบอาหารที่บ้าน โครงการนี้ทำให้เด็กๆได้เข้าใจถึงการปลูกพืชผักไว้ทานเอง ไม่ต้องซื้อที่ตลาดแต่เราสามารถปลูกไว้ทานเองที่ศูนย์ของเรา โครงการนี้ทำมาได้ระยะเวลาหนึ่ง มีผู้ปกครองและเด็กมาช่วยกันรดน้ำผัก มีสระน้ำอยู่ใกล้ๆกับที่ปลูก เด็กสลับสับเปลี่ยนกันไปวันละ 2 คนร่วมกับผู้ปกครองเด็กมาช่วยกันดูแล รดน้ำผักกันทุกวัน เมื่อผลผลิตออกมา ครูให้เด็ก ๆ เก็บและนำไปประกอบอาชีพที่บ้านได้ และบางส่วนเรานำมาประกอบอาหารกลางวันให้กับเด็ก ๆ ทานที่ศูนย์ของเราได้ เช่น ถั่วฝักยาว ใบกระเพรา ฯลฯ เรามีการแบ่งฟื้นที่ให้กับเด็กและผู้ปกครองบางส่วนเผื่อที่ใครอยากปลูกอะไรก็ได้ปลูก ใครอยากได้อะไรทานก็ปลูกเพิ่มเองเป็นของใครตนเองก็ได้ ดีกว่าที่เราจะปล่อยให้ฟื้นดินทิ้งร้างเอาไว้ จากการที่ทำโครงการนี้ได้ อาศัยความร่วมมือทั้งจากครูผู้สอน ผู้ปกครองเด็กและตัวเด็กเองที่มีส่วนร่วมและส่วนช่วยให้การสร้างนิสัยพึ่งพาตนเอง โครงการ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมุ่งเน้นให้คนไทยพึ่งพาตนเอง ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าที่สุด ซึ่งเป็นรากฐานอันนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นแนวคิดหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ตั่งแต่ระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน จนถึงระดับประเทศ อยู่อย่างพอเพียง พอดี พอกิน ชีวิตก็มีสุขได้ สุขจากการให้และสุขจากการรับ เด็กได้รับการปลูกฝังร่วมกับผู้ปกครอง ทำให้เกิดความรัก ความอบอุ่นกันในครอบครัว เวลาที่เด็ก ๆ มีปัญหาอะไร เด็กสามารถพูดและเล่าออกมาให้เราเข้าใจได้ ปลูกฝังการทำการเกษตรแบบพึ่งตนเองตามแนวทางและวิธีการในการพัฒนาทั้งที่เป็นระยะสั้นและในระยะยาวต่อไป เด็กเป็นรากฐานของอนาคตการที่เราปลูกฝังเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้กับเด็กๆ เด็กก็จะเป็นคนที่มีอนาคตที่ดีต่อไป เพราะเป็นสิ่งที่ทำได้จริงเห็นผลจริง ทั้งอิ่มและประหยัดเงิน สร้างนิสัยพอเพียงต่อไป
แชร์ข่าวนี้