- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโป่งสลอด
- สังกัด อปท. จังหวัด เพชรบุรี
- ผู้จัดทำ นางจิดาภา นวมนิ่ม วันที่สร้าง 3 มีนาคม 2556, 19:52 น.
- ประเภทตัวชี้วัด ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ หมายถึง กิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างมีจุดหมาย ฝึกให้เด็กคิด แก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล ฝึกการเข้าสังคม และฝึกการใช้ภาษา ผ่านการปฏิบัติด้วยตนเอง โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ด้วยวิธีการจัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย เช่น การสนทนา อภิปราย การเล่านิทาน การสาธิต ทดลอง การปฏิบัติการ การศึกษานอกสถานที่ การเล่นบทบาทสมมุติ ร้องเพลง ท่องคำคล้องจอง เล่นเกม การประกอบอาหาร กิจกรรมเสริมประสบการณ์มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาการคิดของเด็กปฐมวัย เพราะลักษณะการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์อยู่บนพื้นฐานตามแนวคิดว่า เด็กทุกคนมีศักยภาพในการสร้างองค์ความรู้ โดยอาศัยสภาพจริงที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมและวัฒนธรรมของคน โดยจัดอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ผ่านการสัมผัส การซึมซับ การเลียนแบบ การกระทำ การเล่นอย่างมีความสุข เพราะการที่เด็กได้ทดลองด้วยตนเองนั้นจะส่งผลต่อการพัฒนาความสามารถในการสรุปข้อค้นพบหรือเรียกว่า องค์ความรู้ ได้จากประสบการณ์ตรง เด็กได้มีโอกาสปฏิบัติโดยวิธีการที่หลากหลาย อีกทั้งยังเป็นการฝึกเด็กให้ได้คิดแก้ ปัญหา ใช้เหตุผลและฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ การสนทนา การอภิปราย การเล่านิทาน การสาธิต การใช้คำถาม การทดลอง ปฏิบัติการ ศึกษานอกสถานที่ การเล่านิทาน บทบาทสมมติ การร้องเพลง เล่นเกม ท่องคำคล้องจอง ฯลฯ เนื่องจากวิธีการดังกล่าว เด็กได้มีโอกาสคิด ได้ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมซึ่งส่งเสริมให้เด็กได้มีโอกาสอยู่ในสังคมและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เด็กได้ทดลองปฏิบัติ ให้เด็กได้สังเกตได้ค้นพบด้วยตนเองผ่านกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ช่วยส่งเสริมการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับที่ดี ทั้งนี้เพราะรูปแบบการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง เด็กได้สำรวจวัสดุ บอกความเหมือนความแตกต่างของวัสดุอุปกรณ์ตามลักษณะและคุณสมบัติ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่งเพราะกิจกรรมวิทยาศาสตร์เป็นการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโป่งสลอดได้เล็งเห็นความสำคัญในกิจกรรมเสริมประสบการณ์จึงให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นร่วมกันว่าจะทำกิจกรรมกล้วยบวชชีเด็กได้มีโอกาสลงมือทำ ร่วมพูดคุย แก้ไขปัญหา ที่สำคัญที่สุด....เด็กมีความสุขในการทำกิจกรรม”กล้วยบวชชี” ครูดูแลอย่างใกล้ขณะเด็กประกอบอาหาร เกร็ดความรู้เพื่อครู การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ครูควรจัดกิจกรรมที่หลากหลาย โดยเน้นให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง และมีโอกาสค้นพบด้วยตนเองให้มากที่สุด ยืดหยุ่นในเรื่องระยะเวลาตามความสนใจของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกคิดด้วยการใช้คำถามปลายเปิด และยอมรับความคิดเห็นที่หลากหลายของเด็ก
แชร์ข่าวนี้