- สร้างโดย ศูนย์พัฒฬนาเด็กเล็กบ้านโป่งสลอด
- สังกัด อปท. จังหวัด เพชรบุรี
- ผู้จัดทำ นางจิดาภา นวมนิ่ม วันที่สร้าง 23 กุมภาพันธ์ 2556, 19:05 น.
- ประเภทตัวชี้วัด ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
ธรรมชาติของเด็กวัยนี้จะไม่สามารถทำกิจกรรมที่ต้องอยู่นิ่ง ๆ หรือทำงานอย่างใด อย่างหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ ได้การที่เด็กได้ออกมาสู่โลกภายนอกซึ่งมีสิ่งต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมที่น่าสนใจ น่าสำรวจ และเรียนรู้อย่างหลากหลาย การเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน เป็นความรู้สึกเบิกบาน เพราะหลุดพ้นจากความไม่รู้ นำไปสู่ความใฝ่รู้ อยากรู้อีก เพราะเป็นเรื่องน่าสนุก ครูจึงได้พูดคุยว่าวันนี้ครูจะพาไปทัศนะศึกษาที่ไหนดีเด็กบอกว่าไปเที่ยวเตาตาลป้าเอียดกันดีกว่าเสียงไชโยของเด็ก ๆ ก็ดังขึ้นครูเริ่มเห็นรอยยิ้ม การเป็นมังคุเทศตัวน้อยก็เริ่มขึ้นเด็ก ๆ บอกกับครูว่าเดี๋ยวหนูจะพาครูไปดูเอง...ครูเริ่มสังเกตการเป็นผู้นำของเด็กชายเน็กเก้ บอกเพื่อนว่าเราต้องเดินเป็นแถวตามรอยเส้นขาวนะ....แล้วการเดินทางก็เริ่มขึ้นเมื่อมาถึงเตาตาล...เด็ก ๆ เรียกเจ้าของเตาออกมาเห็นถึงการมีสัมมาคาราวะต่อผู้ใหญ่เด็ก ๆ สวัสดีป้าเอียด...แล้วขออนุญาตมาดูการเขี่ยวน้ำตาลป้าเอียดได้เล่าให้ครูและเด็กฟังว่า............ ขั้นตอนการทำน้ำตาลโตนด ๑) การพาดตาล คือการนำไม้พะองไปมัดติดกับต้นตาล ๒) การนวดตาล ต้นตาลตัวผู้ ได้น้ำตาลจากงวงตาล ใช้ไม้คาบนวดที่งวงตาล โดยนวดจากโคนไปหาปลาย หรือจากปลายไปหาโคน ตัดงวงตาลทิ้งให้เพลือเพียงต้นละ ๒ งวง ต้นตาลตัวเมีย ได้น้ำตาลจากผลตาลอ่อน ใช้ไม้คาบนวดไปตามช่องของผลตาลอ่อน โดยนวดจากโคนไปหาปลาย หรือจากปลายไปหาโคนเช่นเดียวกับตาลตัวผู้ วันแรกให้นวดเพียงเบา ๆ และนวดให้แรงขึ้นตามลำดับจนกว่าจะได้ที่ ตาลตัวเมีย ตาลตัวผู้ ๓) การปาดตาลจะต้องนวดให้ได้ที่แล้ว ประมาณ ๓ – ๗ วัน ให้นำกระบอกใส่น้ำแช่งวงตาลที่นวดแล้วให้มิดงวงเป็นเวลา ๒ วัน ๑ คืน คนทำตาลจะต้องขึ้นไปปาดตาลทุกวัน วันละ ๑ แว่น ความหนาของแว่นเท่ากับ ๑ คมมีดเมื่อเห็นว่าน้ำตาลเริ่มไหลดีจึงนำกระบอกมารองน้ำตาล ๔) การรองตาลกระบอกรองน้ำตาลต้องผ่านการรมควันให้เรียบร้อย ใส่ไม้พะยอมไว้ก้นกระบอก เพื่อไม่ให้น้ำตาล มีรสเปรี้ยว นำไปผูกติดกับงวงตาล ในช่วงเวลาบ่าย หรือเย็น ทิ้งไว้จนถึงรุ่งเช้า(เช้ามืด) คนทำตาลจึงไปเก็บ กระบอกน้ำตาลลงมา ๕) การเคี่ยวตาล ๕.๑ นำน้ำตาลในข้อ ๔ เทลงในกระทะใบบัว ใช้กระชอนและผ้าขาวบางกรองเอาสิ่งปนเปื้อน และไม้พะยอมออก เคี่ยวน้ำตาลประมาณ ๑ ชั่วโมงใช้ไฟอ่อน ปานกลาง หรือไฟแรง ตามความเหมาะสม ขณะเคี่ยวตาลต้องหมั่นคนน้ำตาลอย่าง สม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้น้ำตาลติดก้นกระทะ ไหม้ หรือล้นออกมา เคี่ยวจนได้ที่ เรียกว่า “ปุด”จึงยกลงจากเตา ๕.๒ ใช้เหล็กกระแทก กระแทกน้ำตาล จนกว่า น้ำตาลจะมีความข้น หนืด ๕.๓ ใช้ไม้ขนวนกวนน้ำตาลอีก เพื่อช่วยให้น้ำตาล มีสีเหลืองนวล และแห้ง ๕.๔ ใช้ภาชนะตักน้ำตาลนำไปหยอดบนเบ้าตาล ครูได้เห็นภาพที่เด็ก ๆ ได้ฉิมมวกตาลกันอย่างเอร็ดอร่อยเป็นภาพที่น่าจดจำสำหรับความเป็นครูที่ครั้งหนึ่งได้พาเจ้าตัวน้อย ๆ ออกมาทัศน์ศึกษานอกสถานที่ทั้งเหนื่อย และยุ่งยากแต่ก็คุ้มค่าสำหรับการได้เห็นการเรียนรู้ที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของเด็ก ครู มองดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากแต่ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิดประสบการณ์จะทำให้เด็กได้รัก ห่วงแหนวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่ให้สูญหายยังเป็นประสบการณ์ที่เด็ก และครูไม่อาจลืมเลย
แชร์ข่าวนี้