- สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเสว
- สังกัด อปท. จังหวัด นครราชสีมา
- ผู้จัดทำ นางลัดดา กล้าหาญ วันที่สร้าง 30 มกราคม 2556, 20:42 น.
- ประเภทตัวชี้วัด ด้านการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเสว ตำบลโนนประดู่ อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา จัดประสบการณ์ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง จากแหล่งเรียนรู้จริง แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้สังคมปัจจุบันเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ดังนั้นแหล่งเรียนรู้จึงมีหลากหลาย การจำแนกประเภทมีหลากหลาย แนวคิดและยากจะแยกกันโดยเด็ดขาด เพราะแหล่งเรียนรู้ในชุมชนมีลักษณะผสมผสานและมีอยู่มากมายรอบตัวเรา ในที่นี้จะแบ่งประเภทแหล่งเรียนรู้เป็น 4 ประเภท ซึ่งการศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนกรณีศึกษาอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญจะขอศึกษามาเพียงประเภทละหนึ่งตัวอย่างเท่านั้นแหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึงบ่อเกิดหรือศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่เป็นบุคคลที่อยู่ในชุมชน คือ บุคคลที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ที่ตนเองมีอยู่ให้ผู้สนใจหรือผู้ต้องการเรียนรู้ในชุมชนได้ เช่น บุคคลที่มีทักษะความสามารถในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคลมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะวิทยาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตและเกิดขึ้นใหม่และที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคตย่อมมาจากบุคคลทั้งสิ้น อาจจำแนกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้ แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นทางการ แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคลที่เป็นไปตามสภาพและบทบาทในสังคม แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคลที่เป็นไปโดยสายงานในการประกอบอาชีพต่าง ๆ แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคลที่เป็นความสามารถเฉพาะตัว เช่น ศิลปิน ช่างฝีมือ ผู้รู้ ผู้ปฏิบัติต่าง ๆ แหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคลที่ถือว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น วิธีการทอเสื่อ 1.การนำกกที่ตากแห้งแล้วไปแช่น้ำ เพื่อให้ง่ายต่อการทอ 2.ตั้งโครงกี่ให้เรียบร้อย โดยการนำฟืมไปห้อยที่โครงกี่แล้วใช้เส้นเอ็นร้อยเข้าไปในฟืม 3.นำกกสอดเข้าไปในกระสวย 4.วิ่งกระสวยเข้าไปในรางเส้นเอ็น 5.จัดกกโดยให้ไว้กกข้างที่จะไพให้ยาวกว่าด้านที่ไม่ได้ไพ 6.การไพคือการทำให้กกมัดติดกับเส้นเอ็น โดยจะไพสลับข้างกัน 7.การนำฟืมเข้ามาตีให้แน่น 8.ทำเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆจนสุดผืน 9.เมื่อเสร็จแล้ว ก็ให้นำออกมาจากกี่ 10.เย็บเส้นเอ็นเข้าที่บริเวณด้านหัว-ท้ายผืนเสื่อ 11.เรียบร้อยแล้วก็ให้นำไปผึ่งแดดไว้สักครู่ 12.สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เลย หรือจะพับเก็บไว้ได้ตามใจชอบ
แชร์ข่าวนี้