สัปดาห์ประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM)
สร้างโดย บ้านดงเจริญ (จังหวัดอุดรธานี)
ผู้จัดทำ อำพร บุตรอุดม
ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
การเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM) ปัจจุบัน คนไทยตื่นตัวในเรื่องส่งเสริมพัฒนาการเด็กมากเพราะกระทรวงสาธารณสุขสำรวจทีไรได้ผลออกมาว่าเด็กไทยมีพัฒนาการล่าช้าประมาณ 30% ทุกที คู่มือ DSPM เล่มนี้ จึงได้ถูกผลิตขึ้นมา จากการรวมตัวของผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนี้ โดยปรับแนวคิดใหม่ให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง เป็นผู้เฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการของลูกเอง ส่วนเจ้าหน้าที่จะทำการ ประเมินและคัดกรองพัฒนาการ เมื่อเด็กอายุ 9, 18, 30 และ 42 เดือน และใน พ.ศ.2558 กระทรวงสาธารณสุขใช้คู่มือนี้เป็นเครื่องมือสำคัญใน “โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558” ล่าสุดจากการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย (อายุ 0-5 ปี) เมื่อ พ.ศ.2557 พบว่า เด็กอายุ 0-2 ปี มีพัฒนาการล่าช้า 22% และเด็กอายุ 3-5 ปี มีพัฒนาการล่าช้า 34% ปัจจัย สำคัญคือความล่าช้าทางด้านภาษา ส่งผลให้การเรียนไม่มีประสิทธิภาพ เด็กไทย ป.4-ป.6 ประมาณ 10-15% จึงอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และคิดไม่เป็น และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ได้ ผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพด้อยกว่าที่ควร เด็กอายุ 3-5 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในศูนย์เด็กเล็กที่พ่อแม่เอาไปฝากเลี้ยง ผู้ดูแลเด็กได้รับค่าตอบแทนต่ำ และภาษาที่ 2 ไม่ได้รับการเอาใจใส่ ที่น่าเป็นห่วง ยิ่งกว่าคือยังมีเด็กอีกหลายคนไม่มีโอกาสได้เข้าไปอยู่ในศูนย์เด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กที่ถูกพ่อแม่ทิ้งให้ปู่ ย่า ตา ยาย เลี้ยงดูอย่างขาดความรู้ สอดคล้องกับหลักฐานที่ระบุว่าพัฒนาการ ล่าช้าส่วนใหญ่เป็นผลกระทบจากความเครียดรุนแรง (Toxic Stress) ที่เกิดจากการที่เด็กถูกทอดทิ้งหรือทำร้ายร่างกาย การลงทุนของท้องถิ่นและรัฐบาลเพื่อป้องกันแก้ไขสาเหตุ และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยอย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีผลดีต่อการสร้างคนที่มีประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติอย่างมาก การฝึกสอนให้เด็กมีความรู้ (what you know) อย่างเดียวไม่พอ เด็กต้องมีความเฉลียวฉลาด (Executive Function) ด้วย EF = The ability to use what you know และคู่มือ DSPM นี้ มีการฝึกทักษะ EF เพื่อให้เด็กรู้จักรอและให้เกียรติผู้อื่น มีและใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสม และปรับการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้ การใช้ภาษาที่ 2 ทั้งที่บ้านและศูนย์เด็กเล็กเป็นการกระตุ้นการทำงานของสมองอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียน เป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพ ทำงานเพื่อส่วนรวมร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างดี มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเจริญให้ประเทศชาติ คณะผู้จัดทำคู่มือ DSPM ประกอบด้วย พญ.ศิริพร กัญชนะ รศ.พญ.นิตยา คชภักดี ศ.เกียรติคุณ พญ.ศิริกุล อิสรานุรักษ์ นพ.สมัย ศิริทองถาวร และคณะ ขอขอบพระคุณทุกท่านที่จะใช้คู่มือนี้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาคนไทยรุ่นต่อๆ ไปให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้มีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัยทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดงเจริญจึงจัดสัปดาห์ประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM)ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดสระสรุปผลการประเมินและรายงานผลการประเมินให้ผู้ปกครองรับทราบเพื่อนำผลการประเมินไปส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาที่ดียิ่งๆขึ้นไป
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=9354 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 9354