แสงเทียน ส่องสว่าง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชิงชุม

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชิงชุม (จังหวัดสกลนคร)

ผู้จัดทำ นางสาวนฤมล พรมหากุล

ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน



             ประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นประเพณีปฏิบัติของชาวพุทธ ที่ได้กระทำมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลเหตุที่ทำให้เกิดประเพณีเพราะสมัยก่อน มีภิกษุได้เดินไปเหยียบย่ำข้าวกล้าในนาของชาวบ้านทำให้ได้รับความเดือดร้อน ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้อนุญาตให้ภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาที่วัดเป็นเวลา ๓ เดือน คือในช่วงวันแรมหนึ่งค่ำเดือนแปดถึงวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือน ๑๑ ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดการเก็บเกี่ยวของชาวบ้านพอดีในช่วงเข้าพรรษานี้ ประชาชนจะนำเทียนไปถวายพระภิกษุเพราะเชื่อว่าจะทำให้ตนเฉลียวฉลาดมีไหวพริบปฏิภาณประดุจขี้ผึ้งที่ใช้ทำเทียนที่ได้จากรังผึ้งประเพณีการถวายเทียนจำพรรษาของชาวไทย ปรากฏมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในหนังสือ นางนพมาศ ซึ่งมีทั้งพระราชพิธีและพิธีของราษฎรว่า พอถึงเดือน ๘ นักขัตฤกษ์บูชาใหญ่ “พระราช พิธีอาษาฒมาส” สมเด็จพระร่วมเจ้าทรงโปรดให้จัดตกแต่งพระอารามหลวงทุกแห่ง และถวายเครื่องบริขารสมณะแด่พระสงฆ์ พร้อมทั้งเทียนประจำพรรษาบูชาพระบรมธาตุ โปรดให้ชาวพนักงานเชิญเทียนเข้า ไว้ในพระวิหาร หอพระ และให้จุดตามในที่นั้น ๆ ทุกพระอาราม ทรงอุทิศสักการบูชาพระรัตนตรัยสิ้น ไตรมาส ตลอด ๓ เดือน ส่วนพิธีแห่เทียนจำนำพรรษาของราษฎรมีกล่าวไว้ในหนังสือนางนพมาศเช่นเดียวกันว่า ฝ่ายมหาชน ประชาชนชายหญิงในตระกูลต่าง ๆ ทั่วไป ทั้งพระราชอาณาเขตขัณฑสีมา ประชุมกันเป็นพวก เป็นเหล่า ตามวงศ์คณาญาติ ต่างตกแต่งร่างกายประกวดกัน แห่เทียนจำนำพรรษาของตนไปทางบกบ้าง ทางเรือบ้าง เสียงพิณพาทย์ ฆ้องกลองสนั่นไปทุกแห่งตำบลเอกเกริกด้วยประชาชนคนแห่ คนดู ทั้งทางบก ทางน้ำ เป็นมหานักขัตฤกษ์ แล้วเชิญประทีปจำนำพรรษาเข้าตั้งในอุโบสถวิหาร จุดตามบูชาพระรัตนตรัยสิ้นไตรมาสสามเดือน สำหรับการแห่เทียนพรรษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชิงชุม นั้น ถือว่าเป็นประเพณีทางศาสนา ซึ่งมีความเจริญในพุทธศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีมาเป็นเวลายาวนาน เป็นการแสดงออกถึงการยึดมั่นสืบสานงานบุญทางพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ท้องถิ่น ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน แสดงถึงวิถีชีวิตของชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชน แสดงให้เห็นถึงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความสามัคคีของคนในชุมชน งานแห่เทียนพรรษา เป็นงานที่ทำให้คนวัยรุ่น หนุ่มสาว ได้มีโอกาสได้ใกล้ชิดและสัมผัสกับศิลปวัฒนธรรม อย่างใกล้ชิด จะมีทั้งผู้สูงอายุและคนหนุ่มสาวซึ่งคาดหวังได้ว่า ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น จะสืบทอดต่อไปอีก ยาวนาน

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=9331 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 9331