การเล่านิทานพื้นบ้าน

สร้างโดย เชิงเขา (จังหวัดนราธิวาส)

ผู้จัดทำ นางสาวมัยเฮรัน การียา

ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีทักษะการคิด,ภาษา,การสังเกต,การจำแนก,การเปรียบเทียบและแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย



            นิทานพื้นบ้านมาสอดแทรกในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นรูปแบบหนึ่งที่จะสามารถ ถ่ายทอดความรู้ความคิดให้กับเด็กได้ เนื้อหาสาระในนิทานที่มีลักษณะของตัวละคร เหตุการณ์ หรือพฤติกรรมเด่น แปลก สะดุดตาจะกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจ ตั้งใจฟัง ขณะเดียวกันเด็ก จะได้เรียนรู้ภาษา วัฒนธรรมและจริยธรรมจากการฟังนิทาน เกิดความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับ ความหมายของสิ่งต่างๆ เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ และพัฒนาสู่การเรียนรู้ภาษาต่อไป จากเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูด ของเด็กปฐมวัย (อายุ 3-4 ปี) โดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้านเป็นว่ามีผลต่อความ สามารถในการใช้ทักษะการสื่อสารในด้านการฟัง การพูด ของเด็กหรือไม่เพียงใด ผลที่ได้รับจาก การวิจัยจะเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาและทักษะการสื่อสาร ของเด็กปฐมวัย อันเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเด็กให้เกิดความพร้อม ตลอดจนเป็นการปู พื้นฐานทางภาษาเพื่อการเรียนรู้ในชั้นสูงต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ การประเมินความสามารถทาง ภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียน

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=9144 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 9144