การจัดการเรียนรู้แบบเล่นปนเรียน Play &Learn

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคลองภาษีเจริญ (จังหวัดสมุทรสาคร)

ผู้จัดทำ นางสุมารี ศรีรมภ์

ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว



            การจัดการเรียนรู้แบบเล่นปนเรียน Play &Learn การเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของผู้เรียนในด้านต่างๆ ส่งผลต่อการเรียนรู้ เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา การจัดการเรียนรู้แบบ Play &Learn เป็นการเรียนรู้เพื่อค้นหาเทคนิคในการจัดการเรียนการสอน หนังสือนิทานเพียงเล่มเดียวก็สามารถเล่าด้วยการเติมสีสันด้วยบท เพลงที่สอดคล้องไ้ด้หลากหลาย One Song Hit เทคนิคการเล่านิทานที่เน้นกระบวนการคิดแบบเชื่อมโยง โดยบูรณาการเชื่อมโยงเพลงกับนิทานเล่มเก่า เรียนรู้เทคนิคการเล่านิทานเล่มเก่าเล่าอย่างไรให้ไฉไลกว่าเดิม การสอนเด็กร้องเพลงในท่อนที่ฮิตสั้นๆ เพื่อที่เด็กสามารถจำได้ดี การสร้างกติกาว่า เมื่อได้ยินคำสำคัญนี้ (ส่งเสียงร้องออกมาว่า…) จะต้องร้องเพลงปรบมือไปด้วยกัน (ตัวอย่างในการจัดกิจกรรม นิทานกุ๋งกิ๋งท้องผูก เป็นการเล่าเรื่องเด็กไม่ยอมกินผัก เมื่อครูเล่ามาถึงคำสำคัญมีการตกลงกติกาว่า “แม่ขา...หนูอึไม่ออก” เด็กพร้อมกันร้องเพลงที่ครูสอน กินผักผลไม้ร่างกายแข็งแรง แก้มก็แดงน่ารักนักหนา พร้อมทำท่าประกอบเพลง) การจัดการเรียนรู้แบบเล่นปนเรียนเป็นกลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อค้นหาเทคนิคในการจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนปฐมวัย โดยยึดหลักจิตวิทยาและธรรมชาติของเด็กที่ชอบเล่นอยู่แล้ว ด้วยการใช้เทคนิควิธีการ บูรณาการสาระความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ที่ต้องการให้เกิดกับเด็ก ภายใต้การดูแลช่วยเหลือของครู ซึ่งสอดคล้องกับ เฟรดริค วิสเฮม เฟรอเบล ผู้นำการศึกษาอนุบาลที่ได้รับขนานนามว่า “บิดาการศึกษาปฐมวัย” เฟรอเบล เชื่อว่าเด็กมีความสามารถในสิ่งดีงามมาตั้งแต่เกิด เด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นเรียนและในชั้นเรียนโดยเฉพาะประสบการณ์ที่ได้มาจากการเล่น ดังนั้นวิธีการนำเอาธรรมชาติของเด็กที่ชอบเล่นอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนการสอน การเล่นเป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนานเป็นกิจกรรมที่ทำโดยไม่ต้องถูกบังคับ การเล่นเป็นกระบวนการพัฒนาเด็กทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้เป็นเด็กที่มีศักยภาพพร้อมที่จะเรียนรู้และเติบโตในช่วงวัยต่อไป

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=9115 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 9115