โรงอาหารในฝัน สร้างสรรค์ด้วยหัวใจครูปฐมวัย
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเทพมงคล (จังหวัดอำนาจเจริญ)
ผู้จัดทำ ธัญณิชา สกุลคู
ประเภทตัวชี้วัด : ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
ข้อกำหนดด้านสุขลักษณะที่ดีของสถานที่ผลิตอาหาร สถานที่ประกอบการผลิตหรือการเตรียมสถานที่บริการ ทำเลที่ตั้ง เส้นทางลำเลียงอาหาร ตัวอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์เครื่องมือ ข้อกำหนดทางด้านสุขอนามัย การบำรุงรักษา การทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อ-การล้าง โปรแกรมการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อ การจัดเก็บและการกำจัดของเสีย การป้องกันและควบคุมสัตว์ยานพาหนะ การเก็บรักษาวัตถุดิบ ของใช้ส่วนตัว การสุขาภิบาล(ความสะอาดของการผลิตอาหาร) -จัดให้มีอ่างล้างมือโดยมีน้ำสะอาด อ่างล้างอาหารสด หรือวัตถุดิบมีขนาดใหญ่เพียงพอ ทำความสะอาดได้ง่ายสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 60 cm น้ำที่ใช้ผลิตอาหารต้องสะอาด หากใช้น้ำบาดาลต้องมีวิธีปรับคุณภาพน้ำให้ได้มาตรฐานน้ำบริโภค จัดให้มีระบบควบคุมแมลง ใช้มุ้งลวดหรือม่านอากาศ ม่านพลาสติก ผู้สัมผัสหรือจับต้องอาหาร ผู้สัมผัสหรือจับต้องอาหาร หมายถึง คนที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับอาหารในทุกขั้นตอนของการผลิต เช่นผู้ล้างวัตถุดิบ ผู้ปรุงอาหาร ผู้ใส่อาหารลงใน_าชนะบรรจุต้องมีความรู้และประสบการณ์ เกี่ยวกับการปรุง ประกอบอาหาร มีสุขภาพดี ต้องระวังไม่เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคในทุกขั้นตอนของการผลิตอาหาร ห้ามผู้ที่มีอาการโรคบางอย่างหรือมีบาดแผลทำงานเกี่ยวข้องกับอาหารโดยตรง เพราะเชื้อโรคจะปะปนลงในอาหารได้ใช้ผ้าปิดปากเวลาไอหรือจาม ขณะทำงานรักษาความสะอาดของร่าวกายอยู่เสมอห้ามใช้เสื้อผ้าที่สวมใส่ขณะทำงานไปใช้อย่างอื่น เช่นเช็ดถูทำความสะอาด ใช้จับสิ่งของ ที่ร้อน ใช้เช็ดมือ ควรสวมหมวกหรือตาข่ายคลุมผมถอดเครื่องประดับต่างๆก่อนทำงาน เพราะเครื่องประดับต่างๆอาจหล่นใส่อาหารระหว่างปฏิบัติงานได้ การกำจัดแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร แหล่งขยายพันธุ์ การใช้กับดักหนู เครื่องดักแมลง การใช้สารเคมีที่เหมาะสม และไม่มากไป จัดให้มีถังใส่ขยะมูลฝอยอย่างเพียงพอ มีฝาิด ไม่รั่วซึม เป็นถังขยะแบบไม่ต้องใช้มือปิดฝาถัง เช่น ใช้เท้าเหยียบให้ฝาเปิด นำขยะไปกำจัดภายใน 24 ชั่วโมง ควรทำความสะอาดถังขยะหลังเลิกงานทุกวัน จัดให้มีทางระบายน้ำทิ้งและสิ่งโสโครก อย่างน้อยควรมีบ่อดักไขมันและขยะ ก่อนปล่อยน้ำเสียลงสู่สาธารณะ ทำความสะอาดเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละครั้ง จัดให้มีห้องส้วมสะอาด และอ่างล้างมือหน้าห้องส้วม เนื่องจากภาวะโภชนาการ เป็นรากฐานที่สำคัญของการมีสุขภาพที่ดีของเด็กปฐมวัย ในฐานะที่เป็นครูปฐมวัยจึงตระหนักถึงความสำคัญของอาหารและโภชนาการการที่มีผลต่อสุขภาพสติปัญญาของเด็กปฐมวัย จึงได้นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน นำความรู้ที่ได้ไปส่งต่อให้กับผู้ประกอบการเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพไม่ให้เกิดอันตรายกับผู้บริโภค โดยให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=8779 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 8779