การจัดการเรียนรู้เล่นปนเรียน

สร้างโดย ศพด.บ้านเหล่าหนาด (จังหวัดอำนาจเจริญ)

ผู้จัดทำ เกสร บุญจริง

ประเภทตัวชี้วัด : สถานศึกษามีการจัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย



            การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน การจัดการเรียนรู้แบบเล่นปนเรียนPlay and Learn เป็นการใช้กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้ ค้นหาเทคนิคการจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยโดยยึดหลักจิตวิทยาและธรรมชาติของเด็กที่ชอบเล่นอยู่แล้ว ด้วยการใช้เทคนิควิธีการ บูรณาการสาระความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ที่ต้องการให้เกิดกับเด็กและการเล่นให้เข้าด้วยกัน ทำให้เด็กได้เล่น แสดงออก ได้ร้องเพลง ทำให้เด็กรู้สึกสนุกสนานอยากเรียนรู้มากขึ้น ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ ด้วยการแสดงออก โดยการเล่นภายใต้การดูแลช่วยเหลือของครู การใช้นิทานเป็นอีกวิธีหนึ่งท่ีนิยมนำมาเป็นสื่อในการพัฒนาความรับผิดชอบ เพราะนิทานอยู่ในความสนใจของเด็กและอยู่คู่กับเด็กตลอดมา นิทานจึงเป็นเสมือน การเปิดหน้าต่างการเรียนรู้แห่งโลกจินตนาการของเด็ก นิทานเป็นพื้นฐานการศึกษา การเรียนรู้และเป็นการสื่อสารสัมพันธ์ที่แท้จริงระหว่างมนุษย์กับ มนุษย์ นิทานจะสะท้อนให้เห็นคุณและโทษของการกระทำนิทานเป็นกิจกรรมที่ครูอนุบาลใช้เป็นสื่อในการสอนเด็กอย่างสม่ำเสมอ เป็นการเปิดโลกในจินตนาการของเด็ก ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เด็กจะเกิดสมาธิในการฟัง และรู้จักอิริยาบถของตนเองดีขึ้น นิทานจึงมีความสำคัญต่อการจัดกิจกรรมประจำวันให้บรรลุและส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็ก การให้เล่นบทบาทสมมติตามเนื้อเรื่องในนิทาน นอกจากจะทำให้เด็กได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ยังช่วยทำให้เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งเด็กที่มีความเชื่อมั่นในตนเองจะเป็นเด็กที่มีความกล้าที่จะติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นก่อน กล้าจะแสดงความคิดเห็น และกล้าที่จะตัดสินใจกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ด้วยตนเอง จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าการกล้าแสดงออกนั้นมีความสำคัญสำหรับเด็กปฐมวัย เด็กที่มีปัญหาไม่กล้าแสดงออกความจะส่งผลให้มีปัญหาในการสื่อสารความคิด ความต้องการในผู้อื่นรับรู้ และทำให้ปรับตัวสังคมได้ยากยิ่งขึ้น 1. เทคนิคการเล่านิทาน สิ่งที่สำคัญ คือ 1.1 น้ำเสียงของผู้เล่า ควรจะเป็นที่ 2 ไม่ใช่น้ำเสียงปกติที่ใช้พูดอยู่เป็นประจำ ซึ่งเสียงที่ใช้จะมีอยู่ 2 เสียง คือ เสียงผู้เล่า และเสียงของตัวละคร 1.2 การใช้อุปกรณ์ เช่น หุ่นมือ หมวกรูปสัตว์ต่างๆในนิทาน 1.3 อ่านนิทาน และศึกษาเนื้อหาของนิทานก่อนเล่า เพื่อให้การเล่านิทาน จะได้ลื่นไหลไม่สะดุด 1.4 การใช้เพลง One song hit(นิทานสนุก ท่อนฮุกร้องเพลิน) 3 step ในการเล่านิทานให้น่าฟัง น่าติดตาม Step 1 เลือกนิทาน อ่านให้จบ Step 2 เลือกท่อนฮุกที่สนุกเข้ากับเพลง Step 3 กำหนดคำสำคัญ ในเรื่องนิทาน ทำข้อตกลงกับเด็ก หากครูพูดคำว่า............ให้เด็กเด็กร้องเพลงนี้ “...................................” เด็กจะได้มีส่วนร่วมในการเล่านิทาน ผลที่ได้จากการนำไปปรับใช้ในศูนย์พัฒนาเด็ก ในครั้งแรกๆเด็กยังไม่ค่อยเข้าใจและปฏิบัติตาม เด็กก็จะนั่งฟังนิทานอย่างเดียว โดยไม่ร้องเพลง ครูต้องทำบ่อยๆจนเด็กเกิดความเข้าใจและปฏิบัติตามคำสั่งได้ หลังจากที่เด็กเข้าใจในคำสั่งแล้ว เด็กเกิดความตื่นเต้นสนุกสนานในการทำกิจกรรมเล่านิทาน เด็กมีความตั้งใจเพิ่มมากขึ้นในการร่วมกิจกรรม

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=8728 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 8728